xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นนิคมฯ-โรงไฟฟ้า-ยานยนต์ เด่นรับรัฐดันไทยเป็นฐานผลิตรถ EV

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บล.เอเซียพลัส เปิดโผหุ้นรับอานิสงส์ รัฐบาลเร่งหนุนไทยเป็นฐานผลิตรถ EV ชู 3 กลุ่มเด่น ทั้งนิคมฯ อย่าง AMATA-WHA กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ทำแบตเตอรี่ EA-GPSC-BPP และหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์อย่าง STANLY-AH-SAT
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (ASPS) เปิดเผยว่า กระแสยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้ายังมีเข้ามาต่อเนื่อง เห็นได้จากราคาหุ้นหลายตัวปรับขึ้นโดดเด่นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด ยังมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลกำลังเร่งหาทางดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีรถไฟฟ้า เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เป้าหมายในการผลิตรถ EV ให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทยภายในปี 73

ล่าสุด ได้เจรจากับบริษัทผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถ EV จำนวน 8 บริษัท และมั่นใจว่าจะสามารถดึงเข้ามาตั้งโรงงานในไทยได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 บริษัท ซึ่ง ASPS เชื่อว่ากระแสข่าวจะเป็นปัจจัยบวก และน่าจะเกิดกระแสเก็งกำไรหุ้น 3 กลุ่มคือ

นิคมฯ เชียร์ AMATA-WHA โรงไฟฟ้า ชู EA-GPSC

1.กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม : ดีต่อ AMATA, WHA

2.กลุ่มโรงไฟฟ้า : บริษัทของไทยที่ผลิตแบตเตอรี่ในปัจจุบัน เช่น

EA : กำลังผลิตติดตั้งแบตฯ 1,400 MW (โรงงานเฟส 1 + Amita ไต้หวัน) กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 980 MW กำหนด COD Q3/64

PTT + GPSC : กำลังผลิตติดตั้งแบตฯ 1,030 MW กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 141 MW กำหนด COD (โรงงาน Enegy Storlage Q2/64 ส่วนใน AXXIVA ปี 65)

BANPU + BPP : กำลังผลิตติดตั้งแบตฯ 1,000 MW (ผลิตจริง ณ ปัจจุบัน 380 MW) กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 235 MW โดยแนะนำซื้อ GPSC (ราคาเป้าหมาย 82 บาท)

คงน้ำหนักหุ้นยานยนต์ เชียร์ SAT-AH

3.กลุ่มผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : มองว่าเป็นไปตามคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตในไทย (สัดส่วนผลิตเพื่อส่งออก 50% และผลิตเพื่อขายในประเทศ 50%) โดยปัจจุบันการผลิตรถยนต์กว่า 80% ในไทยเป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ซึ่งยังคงเน้นการผลิตรถยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปในไทย อาจมีเพิ่มในส่วนของรถ EV แต่ยังอยู่ในรูปแบบของ plug in hybrid (PHEV : ใช้ทั้งน้ำมันและสามารถชาร์จไฟได้) เช่น Mitsubishi Outander ที่ยังใช้ขึ้นส่วนรถยนต์ใกล้เคียงเดิม ภาพรวมยังประเมินไม่กระทบผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทยช่วง 3-5 ปีต่อจากนี้

ขณะที่บริษัทในกลุ่มฯ ที่มีข่าวเกี่ยวกับ EV Car อย่าง CWT (Noncoverage) ที่ประกาศจะทำรถเมล์ เรือไฟฟ้า ราคาตั้งแต่ต้นปีปรับตัวขึ้นราว 65% เชื่อว่าตอบรับประเด็นดังกล่าวบ้างส่วนแล้ว การเข้าเก็งกำไรอาจต้องใช้ความระมัดระวัง นอกจากนี้ ชิ้นส่วน ประเภทเบาะรถยนต์ (IHL : Non coverage) และชิ้นส่วนไฟรถยนต์ (STANLY ราคาเป้าหมาย 220 บาท) ที่ยังคงมีอยู่ในรถยนต์ไฟฟ้า น่าสนใจภายใต้เทรนด์ EV

ทั้งนี้ ยังคงน้ำหนักหุ้นกลุ่มยานยนต์เท่ากับตลาด แนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ไทยปี 64 ผ่านจุดต่ำสุด เติบโต 12% yoy ที่ 1.6 ล้านคัน (ระดับปี 62 ที่ 2 ล้านคัน) แรงหนุนจากตลาดส่งออก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า 

เลือก SAT (ราคาเป้าหมาย 24 บาท) มีออเดอร์ใหม่ในปี 65 จากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไทยราว 330 ล้านบาทต่อปี (สัดส่วนราว 4% ของคาดการณ์ยอดขายปี 65) อีกทั้งมีจุดเด่นที่สถานะการเงินเป็น Net cash ราว 2.5 พันล้านบาท จึงคาดหวังเงินปันผลสูงสุดในกลุ่มราว 5%

AH (ราคาเป้าหมาย 30 บาท) ที่มีออเดอร์ใหม่จากผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ ตั้งแต่ ก.พ.2565 คิดเป็นราว 1.5 พันล้านบาทต่อปี (สัดส่วนราว 7% ของคาดการณ์ยอดขายปี 65)


กำลังโหลดความคิดเห็น