นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) (ประจำประเทศไทย) กล่าวว่า เวิลด์แบงก์ได้ปรับลดปรับประมาณเศรษฐกิจไทยปี 2563 เป็น -8.3% และหากเป็นกรณีเลวร้ายจะอยู่ที่ -10.4% และค่อยๆ ฟื้นตัวในปี 2564 ที่เติบโต 4.9% และปี 2465 ที่ระดับ 3.5% ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบหนักจากสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่เข้ามาในช่วงต้นปึ ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบที่หลากหลาย ขณะที่ทางรัฐบาลก็มีมาตรการออกมาเยียวยาในวงเงินที่ค่อนข้างสูงประเทศหนึ่งในภูมิภาค และคาดว่าในกรณีพื้นฐานจีดีพีจะเข้ากลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ในอีก 2 ปีกว่า แต่ถ้าเป็นกรณีเลวร้ายก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี
ส่วนกรณีเลวร้ายที่จะทำให้จีดีพีหดตัว หรือ -10.4% นั้น เวิลด์แบงก์มองถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจต่างหยุดชะงักหรือปิดตัวลง และปัญหาภัยธรรมชาติ อย่างน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขณะที่ปัจจัยทางการเมือง การแต่งตั้งทีมเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน การประท้วงต่างๆ ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้น ทางภาครัฐก็ต้องเข้ามามีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะช่วยในเรื่องของการจ้างงาน การบริโภค รวมถึงช่วยพัฒนาประเทศและดึงดูดการลงทุนในระยะยาว โดยที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายงบประมาณได้เพียง 50% เท่านั้น รวมถึงมาตรการรองรับการว่างงานโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
"ที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรับมือได้ดีกับการระบาดของโควิด-19 แต่มาตรการที่เข้มงวดไม่ว่าจะเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือการปิดประเทศก็ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรง เพราะพึ่งพาการท่องเที่ยวและส่งออกสูง ดังนั้น ในระยะต่อไปรัฐบาลต้องหาความสมดุลระหว่างการดูแลโรคระบาดกับผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นจุดที่ยาก เพราะในหลายประเทศเมื่อเปิดก็มีการระบาดรอบสองตามมา และอีกประเด็นคือ ความท้าทายในอนาคตอีก 2 ปีข้างหน้าว่าเราจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างไรเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ซึ่งการลงทุนด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและทุนมนุษย์เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการพัฒนา"
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิก (EAP) มีการคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะเติบโตขึ้นร้อยละ 0.9 ในปี 2563 ซึ่งนับว่าเป็นอตัราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2510 ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าจีนจะเติบโตขึ้นร้อยละ 2.0 ในปี 2563 เพราะว่าจีนสามารถควบคุมการติดเชื้อใหม่ได้ในอัตราที่ต่ำตั้งแต่เดือนมีนาคม และเนื่องจากมีการเพิ่มการลงทุนของภาครฐันับตั้งแต่นั้นมา สำหรับประเทศอื่นๆ ในภมูิภาค EAP มีการคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลง
โดยเฉลี่ยร้อยละ 3.5
อย่างไรก็ตาม โอกาสสำหรับภูมิภาคนี้จะสดใสมากขึ้นในปี 2564 ด้วยการคาดการณ์การเติบโตของจีนอยู่ที่ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 5.1 ในประเทศอื่นๆ ของภูมิภาคนี้ โดยอ้างอิงจากสมมติฐานของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติในประเทศที่สำคัญของภูมิภาคนี้ซึ่งเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ในการมีวัคซีน อย่างไรก็ตาม ในอีก 2 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ผลผลิตไว้ว่าจะยังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด
"ในระยะต่อไปเศรษฐกิจประเทศต่างๆ จะหันมาพึ่งพาในประเทศมากขึ้น อย่างประเด็นที่น่าเป็นห่วงกรณีของประเทศจีนคือ การตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ ขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้มีการค้าขายกันเองในประเทศของจีน อาจกระทบการค้าในภูมิภาค ซึ่งหากจะช่วยให้การค้าในภูมิภาคนี้กระเตื้องขึ้น จีนก็จะต้องกลับมาเปิดกว้างทางการค้าและธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆ ก็ควรที่จะถือโอกาสในช่วงนี้พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะดิจิทัล และทักษะแรงงานต่างไปเพื่อรองรับการฟื้นตัวหลังมีวัคซีนมากกว่าการรอวัคซีนอย่างเดียว"