xs
xsm
sm
md
lg

CRC เผย Q2/63 ขาดทุนยับ 243 เปอร์เซ็นต์ จากผลกระทบ COVID-19

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"เซ็นทรัล รีเทล" เผยผลประกอบการไตรมาส 2/63 ขาดทุนสุทธิกว่า 2,519 ล้านบาท หรือลดลง 243 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เหตุจากผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อีกทั้งมาตรการล็อกดาวน์และการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงไตรมาสที่ 2 กดดันรายได้ร่วง

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เปิดเผยว่า ผลประกอบการบริษัทฯ ครึ่งแรกของปี 63 ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทางรัฐบาลได้ออกมาตรการล็อกดาวน์และการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงไตรมาสที่ 2 ตลอดจนปัจจัยลบต่างๆ ที่เข้ามากระทบ และการหดตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัวลง ส่งผลให้ รายได้รวมช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 95,661 ล้านบาท ลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ และขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 1,629 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 41,376 ล้านบาท ลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ และขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 2,519 ล้านบาท ลดลง 243 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

"จากวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจในเครือต้องปิดตัวลงกว่า 80% ของพื้นที่ขายทั้งหมด เป็นระยะเวลามากกว่าครึ่งของไตรมาส 2 หรือประมาณ 46 วัน จากทั้งหมด 91 วัน หากเทียบแล้วในช่วงเวลาแห่งความท้าทายดังกล่าว ขณะที่ยอดขายของบริษัทลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์"

อย่างไรก็ตาม CRC ยังมองเห็นโอกาสฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จากสัญญาณบวกต่างๆ ทั้งนโยบายภาครัฐและศักยภาพของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่

ขณะที่ บล.กรุงศรีฯ ให้มุมมองต่อหุ้น CRC ว่าเราปรับประมาณการกำไรลงราว 91%-28% ในช่วงปี FY2020-22F จากการที่เรารวมผลประกอบการที่อ่อนแอใน 2Q20 คาดการณ์จากฝ่ายบริหารและการฟื้นตัวของรายได้ในระยะกลางของแต่ละธุรกิจเข้าไปในประมาณการ เราเชื่อว่าผลประกอบการได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดไปแล้ว และมองต่อไปยังแนวโน้มการฟื้นตัวของยอดขายและกำไรใน 2H20-2021F สำหรับ CRC ดังนั้น เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็น ซื้อ และปรับราคาเป้าหมายไปเป็นสิ้นปี 2021F ที่ราคาเป้าหมาย Bt36/shr เราคาดว่า CRC จะรายงานผลประกอบการเป็นกำไรใน 4Q20

ฝ่ายบริหารคาดว่าจะมีการฟื้นตัวใน 2H20 ในทุกธุรกิจ

ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ส่วนใหญ่มาจากความคาดหวังในการฟื้นตัวของยอดขายจากฝ่ายบริหาร ยอดขายใน BUs ส่วนใหญ่ในเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มการฟื้นตัวในเชิงบวกที่จะไปถึงระดับก่อน COVID ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 โดย CRC คงงบการลงทุนแบบอนุรักษนิยมที่ Bt12-15b โดยจะลงทุนขยายสาขาเป็นหลัก (เช่น 2 (1) RBS, 4 (2) TWD 6 (3) GO!) ในปี 2020F) และผลของการประหยัดต้นทุนอย่างยั่งยืนจะคงต่อไปใน 2H20 โดยปรับประมาณการกำไรลง 91%, 36%, และ 28% สำหรับ 2020-2022F จากผลกระทบของการ lockdown ยอดขายแฟชั่นที่อ่อนแอกระทบอัตรากำไรขั้นต้น

จากการประชุมนักวิเคราะห์และผลประกอบการ 2Q20 เราปรับลดกำไรของ CRC ลง 28% -91% สำหรับปี FY20-22F กำไรที่ลดลงในปี 2020 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขาดทุนอย่างมากใน 2Q20 และการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน 2H20 เนื่องจากยอดขายสินค้าแฟชั่นฟื้นตัวอย่างจำกัดจากไม่มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแต่มีปัจจัยหนุนกำไรจากธุรกิจอาหารและ hardline ส่วนใน 2021-2022 เราคาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตของยอดขายจากทุกธุรกิจที่จะหนุนกำไรสุทธิของ CRC ให้กลับมาที่ใกล้ระดับ Bt5-6b ในปี 2021-22F

ปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2021 ที่ Bt36/shr

เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมองต่อไปยังการฟื้นตัวของแนวโน้มยอดขายและกำไรใน 2H20 สำหรับ CRC ดังนั้น เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ และโรลโอเวอร์ราคาเป้าหมายไปสู่สิ้นปี 2021F ที่ราคาเป้าหมาย Bt36/shr จากแนวโน้มการฟื้นตัวในปัจจุบัน เราอาจจะเห็น CRC กลับไปใกล้ระดับคุ้มทุนใน 3Q20 และมีกำไรใน 4Q20 แต่มาตรการ travel bubble จะเป็นความเสี่ยงหลักในมุมมองนี้

ขณะที่ บล.เคทีบี มองอาจใช้เวลาในการฟื้นตัว แนะ "ซื้อ"

เราปรับคำแนะนำลงเป็น “ถือ” จากเดิม “ซื้อ” และปรับราคาเป้าหมายปี 2021E ลงมาที่ 30.50 บาท (อิง 2021E PER ที่ 24x, average PER ตั้งแต่เข้าซื้อขายในตลาดฯ) จากเดิมที่ 46.50 บาทอิง PEG 2.7x เรามีมุมมองเป็นลบเล็กน้อยจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ โดย CRC คาดว่ากำไรจะกลับไปอยู่ในระดับก่อน COVID-19 ใน 2H20E ทั้งนี้ เรายังคงมีมุมมองที่ระมัดระวัง เนื่องจากหลังการผ่อนคลายมักจะมี pent-up demand โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม fashion ที่ค่อนข้างผันผวนสูงเพราะยังไม่ใช่สินค้าจำเป็น ถึงแม้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะดีขึ้นในไทยแต่การบริโภคยังคงอ่อนแอ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ตลอดจนยุโรปโดยเฉพาะในอิตาลีซึ่ง CRC มีห้างสรรพสินค้าอยู่ ยังคงประสบปัญหาการระบาด COVID-19 อยู่มาก

ดังนั้น เราจึงปรับกำไร 2020E ลงจากเดิม -69% อยู่ที่ 1.26 พันล้านบาท (-88% YoY) และปรับกำไร 2021E ลงจากเดิม -9% อยู่ที่ 7.63 พันล้านบาท (+502% YoY) จากการปรับลดการเติบโตของกลุ่ม fashion และ hardline

ราคาหุ้นทรงตัวใน 1 เดือนที่ผ่านมา เพราะกังวลผลประกอบการที่อ่อนตัวลง ปัจจุบัน CRC เทรดที่ 2021E PER 23x ใกล้ค่าเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่เข้าซื้อขายในตลาดฯ สะท้อนการฟื้นตัวที่ต้องรอคอยในปีหน้า 2021 เราจึงแนะนำเพียง “ถือ”

มองเป็นลบเล็กน้อยจากการประชุมนักวิเคราะห์ เรามีมุมมองเป็นลบเล็กน้อยจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ โดย CRC คาดว่ากำไรใน 2H20E จะกลับไปอยู่ในระดับก่อน COVID-19 จากการเริ่มเห็นฟื้นตัวในเดือนมิ.ย.-ก.ค. ทั้งนี้ เรายังคงมีมุมมองที่ระมัดระวัง เนื่องจากหลังการผ่อนคลายมักจะมี pent-up demand โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม fashion ที่ค่อนข้างผันผวนสูงเพราะยังไม่ใช่สินค้าจำเป็น ถึงแม้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะดีขึ้นในไทยแต่การบริโภคยังคงอ่อนแอ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ตลอดจนยุโรปโดยเฉพาะในอิตาลีซึ่ง CRC มีห้างสรรพสินค้าอยู่ ยังคงประสบปัญหาการระบาด COVID-19 อยู่มาก

ปรับกำไร 2020E/21E ลงจากเดิม -69%/-9% เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2020E ลง -69% เพื่อสะท้อนผลกระทบของ COVID-19 ที่มากกว่าคาด โดยเฉพาะกำไร 2Q20 ออกมาต่ำกว่าคาดมาก โดยเราประเมินกำไรปี 2020E อยู่ที่ 1.26 พันล้านบาท (-88% YoY) จากการปรับ 1) การเติบโตของรายได้ธุรกิจแฟชั่นในปีนี้มาเป็นลดลง -25% YoY จากที่เดิมคาดว่าลดลง -17% YoY และเราปรับการเติบโตของรายได้กลุ่ม hardline มาเป็น -7% จากเดิม -2%, 2) GPM มาอยู่ที่ 24.5% ปรับลดลงจากเดิมที่ 26.0% เนื่องจากรายได้จากสินค้า fashion ที่มี GPM สูงปรับตัวลดลง เรามองว่า 2Q20E จะเป็นไตรมาสที่ได้รับผลกระทบมากสุด แต่จะเริ่มทยอยดีขึ้นใน 2H20E จากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown

เราปรับประมาณการกำไรปี 2021E ลง -9% เพื่อสะท้อนการฟื้นตัวของกำลังซื้อที่อาจจะใช้เวลาฟื้นตัวช้ากว่าคาด โดยเราประเมินกำไรปี 2021E อยู่ที่ 7.6 พันล้านบาท (+502% YoY จากฐานที่ต่ำผิดปกติในปีนี้) จากการปรับ 1) การเติบโตของรายได้ธุรกิจแฟชั่นโต 10% จากที่เดิมคาดว่าจะโต 15% และปรับ hardline โต 9% มาเป็น 7%

ราคาเป้าหมายปี 2021E ที่ 30.50 บาท อิง 2021E PER ที่ 24x (5-Yr. average PER) ปรับจากเดิมที่ 46.50 บาทอิง PEG 2.7x เนื่องจาก growth rate มีความผันผวนสูงท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ปกติ โดยมี key catalyst คือ การกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า ขณะที่ Key risk คือ การควบคุม second wave ของ COVID-19


กำลังโหลดความคิดเห็น