xs
xsm
sm
md
lg

โบรกเกอร์เตือนหุ้นไทยเริ่มแพง มองข้ามช็อตลุ้นเป้าปีหน้า 1,366 จุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บล.เอเซีย พลัสมอง SET Index ปีนี้เริ่มตึง ชี้ระดับ 1,287 P/E ที่ 19.27 เท่า แพงเกินไป ขณะที่เม็ดเงินต่างชาติหด ล่าสุดขายแล้วกว่า 1.7 แสนล้านบาท กองทุน SSF ก็ยังไม่ช่วยหนุน แนะมองข้ามช็อตไปลุ้นเป้าหมายปีหน้าที่ 1,366 จุด บน P/E 16.4 เท่า ให้ BCP-BCH เป็นหุ้นเด่น

บล.เอเซีย พลัส (ASPS) เปิดเผยในบทวิเคราะห์รายวันว่า ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ถูกคาดหมายว่า EPS Growth จะหดตัวลง 17% YoY ในปี 2563 มาอยู่ที่ 72.6 บาท/หุ้น แต่จากการติดตามการประกาศผลประกอบการ Q1/63 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีบริษัทฯ ที่ประกาศออกมาแล้ว 44% ของ Market Cap มีกำไรสุทธิลดลง 59% YoY และ 46% QoQ ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ลงอีกครั้งหนึ่ง หลังการประกาศตัวเลข Q1/63 ครบ ซึ่งก็เท่ากับว่าที่ระดับ SET Index ปัจจุบันมีค่า PER อยู่ที่บริเวณ 18 เท่า และหากมองข้ามไปในปี 2564 ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเห็นการฟื้นตัวกลับของการทำกำไรบริษัทจดทะเบียน เบื้องต้นคาดฐานกำไรสุทธิรวม 8.45 แสนล้านบาท คิดเป็น 78.6 บาท/หุ้น ก็จะทำให้ค่า PER ปี 2564 ลดลงมาอยู่ที่ราว 16.4 เท่า

ดังนั้น ในมุมมองนี้หากคิดว่า SET Index จะปรับตัวขึ้นไปได้ต่อ ก็ต้องมองข้ามผลประกอบการที่คาดว่าจะหดตัวแรงในปี 2563 ไป แล้วไปคาดหวังบนคาดการณ์ EPS ปี 2564

SET Index ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดกลางเดือน มี.ค. 2563 มาแล้วกว่า 318 จุด หรือ 32.8% มาอยู่ที่ 1,287.30 จุด (มากกว่าเป้าหมายปี 2563 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้) แสดงให้เห็นถึงตลาดมองข้ามช็อต และคาดหวังไปถึงแนวโน้มการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีหน้าบ้างแล้ว ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงทำการอัปเดตสถานะ รวมถึงประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนล่าสุดว่า SET Index ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่

มองกำไร บจ.โค้งแรกลดลง 58.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน


เริ่มจากอัปเดตกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด Q1/63 มีการรายงานงบออกมาแล้วทั้งสิ้น 111 บริษัท (คิดเป็น 44% ของมูลค่าตลาด) มีกำไรสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 6.3 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 46.5%QoQ และ 58.9%YoY (ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ลดลง 17%) เพราะฉะนั้น การที่กำไรงวด Q1/63 ลดลงแรง บวกกับมีแนวโน้มลดลงอีกในงวด Q2/63 ทำให้โอกาสในการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ของแต่ละโบรกเกอร์ลงอีก ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของตลาด

และหากประเมินสถานะของประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนล่าสุด พบว่ามีการทยอยปรับลดประมาณการลง จนล่าสุดกำไรปี 2563 ลดลง 6.2 หมื่นล้านบาท เหลือ 7.19 แสนล้านบาท (ลดลงจาก 7.81 แสนล้านบาท) และกำไรปี 2564 ลดลงเหลือ 8.45 แสนล้านบาท ส่งผลให้ EPS63F ลดลงจาก 72.62 บาท/หุ้น เหลือ 66.82 บาท/หุ้น และ EPS63F เหลือ 78.56 บาท/หุ้น

ประเมิน Index ปีหน้า 1,366 จุด ที่ P/E 17.4 เท่า


แสดงให้เห็นว่า SET Index ณ ปัจจุบันที่ 1,287.30 จุด ถูกซื้อขายกันบน Expected PER63 และเท่ากับ 19.27 เท่า ถือเป็นระดับที่แพง แต่หากประเมินจาก Expected PER64 เท่ากับ 16.4 เท่า ถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงมากนัก และเป็นแรงที่ช่วยสร้างความหวังให้ตลาดยืนอยู่ได้ และหากประเมินเป้าหมาย SET Index จากข้อมูลที่มี ณ ปัจจุบัน ภายใต้ระดับ PER 17.4 เท่า (ประเมินจาก Market Earning Yield Cap ที่ระดับ 5%) จะได้เป้าหมายดัชนีปี 2564 อยู่ที่ 1,366 จุด

นอกจากนี้ หากพิจาณา Fund Flow ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) สังเกตได้ว่าต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยแล้วกว่า 4.3 แสนล้านบาท (ขายสุทธิ 4 ใน 5 ปี) อย่างไรก็ตามสถาบันในประเทศซื้อสุทธิกว่า 4.1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ขนาดใกล้เคียงกันของ 2 นักลงทุนหลัก ช่วยพยุงให้ SET Index ปรับตัวขึ้นกว่า 22.66%

ต่างชาติขายสุทธิแล้ว 1.7 แสนล้านบาท


หากพิจารณา Fund Flow ในปี 2563 นี้ พบว่าต่างชาติยังคงขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเช่นเคย โดยขายสุทธิไปแล้วกว่า 1.7 แสนล้านบาท(ytd) ขณะที่สถาบันกลับซื้อสุทธิเพียง 5.1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เหลือไม่ถึง 1 ใน 3 ของแรงขายจากต่างชาติ และมีโอกาสชะลอการไหลเข้าต่อ ด้วยเหตุผล 2 อย่างหลักๆ ได้แก่

1. สภาพคล่องส่วนเกินอาจถูกดึงออกไปช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) มากยิ่งขึ้น ภายหลัง พ.รก.กระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาทมีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะ พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 1 ล้านล้านบาท (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน) และ พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่ง พ.ร.ก. ข้างต้นจะเป็นการจัดสรรเม็ดเงินเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการเงิน (Financial Sector) มีน้อยลง

2. เม็ดเงินกองทุน LTF ที่หายไปกว่า 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี แม้มีกองทุน SSFX มาช่วยพยุงแต่ยังไม่มากพอ สังเกตได้จากกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวเงื่อนไขพิเศษ (SSFX) ทั้งหมด 17 กองทุน ที่มีการอัปเดตข้อมูลกับทางตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 11 พ.ค. 2563 พบว่ายังไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเท่าที่ควร เนื่องจากมียอดซื้อสะสมเพียง 1.36 พันล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัด คือ ต้องมีระยะเวลาการถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ นานกว่าเงื่อนไขกองทุน LTF พอสมควร และยังสามารถซื้อได้เฉพาะช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2563 เท่านั้น (ระยะเวลา 3 เดือน) NAV ของแต่ละกองทุน SSFX

โดยสรุป หากพิจารณาทางด้าน Fund Flow จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงขับเคลื่อนสำคัญ ทั้งจากนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันฯ ที่แผ่วลง ส่งผลให้ SET Index มีโอกาสขึ้นได้ค่อนข้างจำกัดต่อจากนี้

ดังนั้น ยามที่ Valuation ตลาดเริ่มตึง และมีความเสี่ยงที่กำไรจะถูกปรับลดลงอีก และยังขาด Fund Flow หนุน กลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้องพิถีพิถันในการลงทุน และแนะลงทุนในหุ้นที่ Laggard มีโอกาสเป็นเป้าหมายของ Fund Flow ในการ Rotation มาถึงในระยะถัดไป คือ BCP และ BCH มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

BCP เป็นหุ้น Laggard กลุ่มและหุ้นลูก คือราคาหุ้น Laggard กลุ่มโรงกลั่นอยู่มาก โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 3.2% ขณะที่หุ้นในกลุ่มโรงกลั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง เช่น SPRC เพิ่มขึ้น 33.3%, TOP 24.4% เป็นต้น ด้านที่สาม ราคาหุ้น BCP ยัง Laggard ราคาหุ้นลูกอยู่มาก ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BCPG ปรับตัวขึ้นถึง 12.6% ซึ่ง BCP ถือครอง BCPG อยู่ถึง 70.04%


BCH เป็นหุ้นที่ Laggard ตลาดอยู่มาก เนื่องจากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา SET Index ปรับตัวขึ้นกว่า 4.8% และปรับตัวขึ้นมาเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้น ธ.พ. และโรงพยาบาล ที่ลดลง -4.08% 0.43% ตามลำดับ ขณะที่ต่อจากนี้น่าจะได้แรงหนุนจากการเริ่มกลับมาเปิดเมือง ทำให้ผู้ป่วยเริ่มไปโรงพยาบาลมากขึ้น รวมถึงฤดูกาลที่เริ่มเปลี่ยนมาเป็นหน้าฝน ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มฯ ส่วนแนวโน้มผลประกอบการคาดงวด Q1/63 ยังเติบโตได้ 4.1%yoy โดยได้แรงหนุนจากรายได้ประกันสังคมเติบโตสูงขึ้นถึง 11.3%yoy มาชดเชยผลกระทบจาก COVID-19 ต่อผู้ป่วยเงินสด


กำลังโหลดความคิดเห็น