สงครามการค้า เศรษฐกิจโลก หลังยุติความขัดแย้งด้านสงครามการค้ายังไม่แน่นอน ขณะที่ความไม่แน่นอนของ Brexit ลดลง หลังพรรคอนุรักษนิยม (Conservative) ได้เสียงข้างมาก (outright majority) จากการเลือกตั้งทั่วไป และน่าจะทำให้ข้อตกลง Brexit ของนายบอริส จอห์นสัน มีโอกาสผ่านในรัฐสภามากขึ้น รวมถึงโอกาสสูงขึ้นที่สหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2020 ซึ่งหมายถึงโอกาสการเกิด No-deal Brexit และการลงประชามติรอบ 2 ที่ลดลง
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้ารวมถึงห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ของจีนที่กำลังจะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของจีนในทางปฏิบัติที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จากการที่สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในรอบเดือนธันวาคม และลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่ประกาศขึ้นในช่วงก่อนหน้า สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่าราว 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่อัตรา 15% ในวันที่ 15 ธันวาคม โดยถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คาดว่าสหรัฐฯ และจีนจะสามารถลงนามข้อตกลงระยะแรกได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2020 ภายใต้ข้อตกลงจีนจะต้องซื้อสินค้าสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นให้ได้ตามเป้าหมายซึ่งครอบคลุมสินค้าเกษตร พลังงาน
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากเจรจายุติความขัดแย้งด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในเฟสแรกว่า จากข้อตกลงการค้าระยะแรก (Phase-1 deal) ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก และส่งผลกระทบของสงครามการค้าเริ่มลดลง สะท้อนจากอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่เก็บบนสินค้าจีนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักลดลงเหลือ 19.3% (เทียบกัน 23.8% หากไม่เกิด Phase-1 deal และ 21.0% ที่เก็บอยู่ในปัจจุบัน)
อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามผลกระทบจากการที่จีนกำลังจะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น (ครอบคลุมสินค้าเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม และบริการต่างๆ) ที่จะมีต่อการส่งออกและห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ของประเทศที่เคยเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ ในสินค้ากลุ่มนั้นๆ รวมถึงความไม่แน่นอนจากรายละเอียดและการปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของจีน
ขณะที่ความไม่แน่นอนประเด็น Brexit ลดลงหลังพรรคอนุรักษนิยม (Conservative) ได้เสียงข้างมาก (outright majority) จากการเลือกตั้งทั่วไป และน่าจะทำให้ข้อตกลง Brexit ของนายบอริส จอห์นสันมีโอกาสผ่านในรัฐสภามากขึ้น รวมถึงโอกาสสูงขึ้นที่สหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2020 ซึ่งหมายถึงโอกาสการเกิด No-deal Brexit และการลงประชามติรอบที่ 2 ที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม รูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปในอนาคตยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีเวลาในการเจรจารูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวเพียง 11 เดือน (นับจาก 31 มกราคมถึง 31 ธันวาคม 2020 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน (transition period)) ทำให้มีโอกาสสูงที่นายบอริส จอห์นสันจะเจรจากับสหภาพยุโรปเพื่อขอเลื่อนช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านออกไป
ทั้งนี้ จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ลดลงคาดว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2020 ในกรอบ 1.50-1.75% จากเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงด้านต่ำลดลง ภาวะการเงินสหรัฐฯ ที่ผ่อนคลายขึ้น และการส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยของ Fed ในรอบประชุมที่ผ่านมา นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ลดลงน่าจะช่วยลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคการส่งออกและภาคอุตสาหกรรมของโลกและไทยในปี 2020 ได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ สิ่งที่นักลงทุนต้องติดตาม คือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้ารวมถึงห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ของจีนที่กำลังจะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น (ครอบคลุมสินค้าเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม และบริการต่างๆ) รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของจีนในทางปฏิบัติที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จากการที่สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในรอบเดือนธันวาคม และลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่ประกาศขึ้นในช่วงก่อนหน้า สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่าราว 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่อัตรา 15% ในวันที่ 15 ธันวาคม โดยถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าผู้บริโภค เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และของเล่น ทำให้ภาษีนำเข้ารอบเดือนธันวาคมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากกว่าเศรษฐกิจจีน เนื่องจากสินค้าจีนดังกล่าวเป็นคำสั่งการผลิตจากบริษัทสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯ ได้ลดอัตราภาษีนำเข้ามูลค่า 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่ถูกเก็บภาษีในอัตรา 15% ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2019 ลดลงเหลือ 7.5% ขณะที่สินค้าจีนที่ถูกเก็บภาษีที่เหลืออีก 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐยังคงถูกเก็บภาษีที่อัตรา 25% ทำให้อัตราภาษีเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ ลดลงจาก 21% เหลือ 19.3% (เทียบกัน 23.8% หากไม่เกิด Phase-1 deal)
ขณะเดียวกัน จีนได้ยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ซึ่งมีสินค้าตั้งแต่ข้าวโพดไปจนถึงชิ้นส่วนยานยนต์ในวันที่ 15 ธันวาคม 2562 เช่นเดียวกัน ซึ่งจีนให้คำมั่นสัญญาใน 7 ประเด็น และคาดว่าจะลงนามภายในไตรมาสแรกของปี 2020 จากการเปิดเผยของสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ระบุประเด็นที่มีในข้อตกลงดังกล่าวทั้งหมด 7 ประเด็น ได้แก่ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การถ่ายโอนเทคโนโลยี การเกษตร บริการทางการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ขยายการค้า และการระงับข้อพิพาท
นอกจากนี้ ข้อตกลงได้ระบุคำมั่นสัญญาของจีนในการซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ เพิ่มเติมในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยนายโรเบิร์ต ไลท์ธิเซอร์ ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ได้กล่าวว่าจีนตกลงซื้อสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากยอดขายในปี 2017 ที่ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ยอดส่งออกสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และปี 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระยะแรก โดย คาดว่าสหรัฐฯ และจีนจะสามารถลงนามข้อตกลงระยะแรกได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2020 ภายใต้ข้อตกลงจีนจะต้องซื้อสินค้าสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นให้ได้ตามเป้าหมายซึ่งครอบคลุมสินค้าเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม และบริการต่างๆ ทำให้เส้นทางการค้าของจีนอาจเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง
ทั้งนี้ ประเมินว่าในช่วงปี 2018-2019 จีนพยายามลดการพึ่งพาการค้าจากสหรัฐฯ และนำเข้าสินค้าจากคู่ค้าประเทศอื่นแทน เนื่องจากผู้นำเข้าจีนต้องการลดต้นทุนจากภาษีและไม่ต้องการพึ่งพาสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ เป็นหลัก เพื่อป้องกันการซ้ำรอยผลกระทบสงครามการค้าจากสหรัฐฯ อีกครั้ง อย่างไรก็ดี ในประเด็นที่ 6 ของข้อตกลงการค้าระยะแรกได้กล่าวถึงการขยายการค้า ซึ่งข้อตกลงระบุว่าจีนจะซื้อสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ในอีก 2 ปีข้างหน้าให้มากกว่ามูลค่าการนำเข้าในปี 2017 อย่างน้อย 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งครอบคลุมสินค้าเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม และบริการต่างๆ เพื่อให้จีนลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มูลค่าดังกล่าวสูงพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้าของจีน โดยหันไปนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและลดการนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่แข่งของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากบราซิล และออสเตรเลีย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในระยะข้างหน้า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนระยะที่สอง (Phase-2 deal) ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากเนื้อหาในการเจรจาหลังจากนี้จะเต็มไปด้วยประเด็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของจีนในทางปฏิบัติ ประกอบด้วย นโยบายรัฐวิสาหกิจจีน (SOE) และการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และจีนยังไม่มีทางออกในการประนีประนอมซึ่งกันและกัน
"แม้ว่าสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนจะผ่อนคลายลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่มาตรการกีดกันทางการค้าสหรัฐฯ ต่อสหภาพยุโรปจะยังคงอยู่หรือยกระดับความรุนแรงได้ในระยะต่อไป สำหรับข้อพิพาทสหรัฐฯ-สหภาพยุโรปในประเด็นที่สหรัฐฯ แจ้งว่าสหภาพยุโรปมีการอุดหนุนอุตสาหกรรมการบิน (Airbus) อย่างไม่เป็นธรรม และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของสหรัฐฯ (Boeing) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2019 สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าที่อัตรา 10% ในหมวดเครื่องบินและ 25% ในสินค้าเกษตรและอื่นๆ เช่น นม เนย และโยเกิร์ต ที่จะมาจากประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และสหราชอาณาจักร รวมมูลค่าราว 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อตอบโต้การอุดหนุนอุตสาหกรรมการบิน (Airbus)"
โดยอ้างว่าสหราชอาณาจักรให้เงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาโรงงานผลิต และจัดหาเงินทุนสำหรับการออกแบบและพัฒนาเครื่องบิน ในปี 2018 สหรัฐฯ นำเข้าเครื่องบินจากฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรรวมกันมีสัดส่วน 64.5% ของมูลค่าการนำเข้าเครื่องบินทั้งหมด ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปได้ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ มูลค่าราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร เป็นต้น ในระยะข้างหน้า