ในปี 2562 จะเป็นอีกปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในการปรับตัวรับกับปัจจัยลบต่างๆที่เข้ามากระทบ ทั้งในเรื่องของภาพรวมเศรษฐกิจภายในและภายนอกชะลอตัว กำลังซื้อชาวไทยและต่างชาติชะลอตัว รวมถึงหลังจากมาตรการ LTV มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เม.ย. 2562 ความตึงเครียดทางการค้าและเศรษฐกิจจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ ภาษีที่ดินและส่งปลูกสร้างฉบับใหม่ รวมถึงค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าซึ่งการที่เงินบาทแข็งค่ามากกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของส่งออกไทย ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยลบที่เข้ามากระทบต่อธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ทั้งสิ้น
ปีทองคนซื้อบ้าน
นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีทองของผู้ซื้อที่มีความพร้อมจริงๆ ที่ได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ถูกลงทั้งในส่วนของโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงโครงการเปิดขายใหม่ที่ผู้ประกอบการก็ไม่กล้าที่จะปรับราคามากขึ้น เนื่องจากเกรงว่าหากตั้งราคาขายที่สูงไปจะส่งผลให้โครงการแข่งขันได้ยากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว รวมถึงอาจจะส่งผลให้กำลังซื้อไม่สามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าโครงการจะตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นที่ต้องการก็ตาม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่า บางโครงการมีการประกาศหยุดการพัฒนาโครงการและคืนเงินให้แก่กลุ่มลูกค้าที่ซื้อไป ซึ่งผู้ประกอบการบางรายอาจนำโครงการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการเพื่อเปิดขายใหม่อีกครั้งในภายหลังหรือยุติการพัฒนาโครงการไว้ชั่วคราว
นอกจากนี้ทางภาครัฐเองยังได้ออกนโยบายต่างๆออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อทั้งในส่วนของการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1 % เหลือ 0.01 % สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย และล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการ “บ้านดีมีดาวน์” โดยการสนับสนุนเงินดาวน์ (Cash Back) 50,000 บาท แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนั้น มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ที่มีกำลังซื้อตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.5% เป็น 1.25% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ปัจจัยเหล่านี่ถือว่าเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้กำลังซื้อที่มีความพร้อม สามารถตัดสินใจได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปีทองของผู้ซื้อที่มีความพร้อมจริงๆ สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563
กรุงเทพฯชั้นใน-รถไฟฟ้าใหม่ทำเลน่าจับตา
ในปี 2563 ผู้ประกอบการรายใหญ่จะยังคงหาที่ดินในพื้นที่เมืองชั้นในเพื่อนำมาพัฒนาโครงการใหม่ในอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพื้นที่มีดีมานด์ทั้งจากกลุ่มลูกค้าซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก และยังคงเป็นทำเลที่ยังคงคุ้มค่าแก่การลงทุนทั้งในส่วนของผลตอบแทนจากการเช่าและอัตราการปรับเพิ่มขึ้นราคายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ส่วนทำเลนอกพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอกตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างก็เป็นอีกทำเลที่น่าจับตามองในปีหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการยังสามารถพัฒนาโครงการในระดับราคา 50,000-100,000 บาทต่อตารางเมตร เพื่อรองรับกำลังซื้อที่มองเห็นถึงโอกาสการลงทุนในระยาวเมื่อรถไฟฟ้าก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงพระราม 9 -ลำสาลี จะเป็นทำเลที่น่าจับตาที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในปี 2563
แห่โล๊ะสต๊อกรับมาตรการ
กดราคาคอนโดฯลดฮวบ 8-10%
ทั้งนี้คาดว่า ในปี 2563 ราคาขายเฉลี่ยของโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการเปิดตัวใหม่และโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะปรับลดลงมาที่ประมาณ 8-10% หรือเท่ากับปี 2562 ที่มีราคาเฉลี่ยประมาณ 123,130 บาท/ตร.ม. เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็ไม่กล้าที่จะปรับราคามากขึ้นสำหรับโครงการใหม่ๆ เนื่องจากเกรงว่าหากตั้งราคาขายที่สูงไปจะส่งผลให้โครงการแข่งขันได้ยากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว รวมถึงอาจจะส่งผลให้กำลังซื้อไม่สามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าโครงการจะตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นที่ต้องการก็ตาม
นอกจากนี้โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จอาจนำยูนิตเหลือขายมาปรับลดราคาลง เพื่อเป็นการระบายสต็อคคงค้างออกให้ทันกับช่วงระยะเวลาที่ทางภาครัฐมีการปรับลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองลง รวมถึงปัจจัยบวกอื่นๆ เพราะการลดราคาลงจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญทีกระตุ้นให้กำลังซื้อสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะไม่อยากทำ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความไม่พอใจให้แก่กลุ่มลูกค้าที่ซื้อไปก่อนหน้า และเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าเก่าๆต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์และผู้ประกอบการเองก็ตาม
สำหรับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 123,130 บาทต่อตารางเมตรลดลงประมาณ 7.1% จากในปี 2561 เนื่องจากโครงการที่เปิดขายประมาณ 44% ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอก และพบว่ามากกว่า 45.9% หรือประมาณ 20,493 ยูนิตอยู่ในช่วงระดับราคา 50,000 - 100,000 บาทต่อตารางเมตร โดยตั้งอยู่ในพื้นที่รอบนอกตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงพระราม 9 รามคำแหง แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน และสีชมพู
คาดปี 63 คอนโดฯเปิดใหม่ 4-4.3 หมื่นยูนิต
แผนกวิจัย บริษัท คอลลิเออร์สฯ ยังได้เปิดเผยผลวิจัยตลาดคอนโดมิเนียมในปี 2562 พบว่า มีอุปทานคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 44,662 ยูนิต มูลค่า 219,180 ล้านบาท ลดลง 33.4% จากในปี 2561 ที่มีการเปิดตัวสูงถึง 66,021 ยูนิต อุปทานเปิดขายใหม่กลับไปใกล้เคียงในปี 2560 อยู่ที่ 44,065 ยูนิต ซึ่งแผนกวิจัยคาดการณ์ว่าอุปทานคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 40,000-43,000 ยูนิต ใกล้เคียงหรือปรับลดลงเล็กน้อยจากในช่วงปี 2562
ในช่วงปี 2562 ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยผู้ประกอบการปรับตัวด้วยการลดการเปิดตัวโครงการใหม่ลงกว่า 40% จากแผนการพัฒนาเดิมและมีการปรับเลื่อนแผนการขายบางโครงการออกไปเป็นปีหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ประมาณ 44% หรือราว 19,514 ยูนิตของอุปทานที่เปิดขายใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก และผู้ประกอบการสามารถขายในราคาที่ต่ำกว่าตารางเมตรละ 100,000 บาทได้ โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนโครงการในพื้นที่เมืองชั้นใน (สาทร, สีลม, สุขุมวิทตอนต้น ) พบว่ามีเพียงแค่ 18 โครงการหรือประมาณ 5,753 ยูนิตเท่านั้น
คอนโดแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-เขียวเหนือเสี่ยงล้น
สำหรับแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแผนกวิจัย คอลลิเออร์สฯ มองว่า ตลาดคอนโดมิเนียมแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก็ยังคงมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเปิดตัวโครงการใหม่อีกเป็นจำนวนมากและยังคงเป็นพื้นที่ที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิดเนื่องจากยังคงมีสต๊อกคงค้างในตลาดบนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้สูงถึง 10,482 ยูนิต
รวมถึงแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือถึงแม้ว่าในบางช่วงของแนวเส้นทางจะมีการเปิดทดลองให้บริการแต่เนื่องจากอุปทานที่เปิดขายใหม่ในปี 2561 มากกว่า 7,000 ยูนิต และในปี 2562ในขณะที่ยอดขายชะลอตัวทำให้ยังมีสต๊อกที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดอีกเป็นจำนวนมากและยังคงเป็นที่กังวลของผู้ประกอบการ
รถไฟฟ้าสายสีส้มทำเลดาวเด่นปี 63
นอกจากนี่ยังมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีส้ม ( โดยเฉพาะช่วงพระราม 9 รามคำแหง ลำสาลี ) ซึ่งจะเป็นอีกทำเลดาวเด่นที่น่าจับตามองในปีหน้า และยังมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีชมพู ก็จะเป็นแนวเส้นทางอีก 2 สาย ที่ค่อนข้างน่าสนใจในปีหน้า
สำหรับภาพรวมของกำลังซื้อในประเทศยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวทั้งในส่วนของเรียล ดีมานด์ ที่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัย และในส่วนของนักลงทุน ซึ่งพบว่า กลุ่มนักลงทุนจะจัดสินใจซื้อเฉพาะในโครงการที่ตั้งอยู่บนทำเลที่ดีและระดับราคายังสามารถทำกำไรได้แค่ในบางโครงการเท่านั้น ในช่วงที่ผ่านมาจึงทำให้เห็นภาพของการรอต่อคิวซื้อข้ามวันข้ามคืนในช่วงวันพรีเซลล์ในบางโครงการและส่งผลให้โครงการเหล่านั้น สามารถปิดการขายในช่วงพรีเซลล์ได้กว่า 90% และสามารถปิดการขายได้ในระยะเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็วหลังจากการเปิดการขายอย่างเป็นทางการ ส่วนผู้ซื้อชาวต่างชาติยังคงสนใจตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร แต่จะเลือกตัดสินใจซื้อเฉพาะโครงการที่ยังมองว่าพวกเขายังสามารถกำไรได้เท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีการนำบางโครงการของโครงการขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติก่อนการเปิดขายในประเทศ โดยผ่านเอเจนซี่ต่างๆ และพบว่ามียอดขายที่ดี
สำหรับ อุปทานคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในปี 2562 ที่ผ่านมาที่อยู่ที่ประมาณ 44,662 ยูนิต พบว่า คอนโดมิเนียมประมาณ 44% หรือ 19,514 ยูนิตของอุปทานที่เปิดขายใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก และผู้ประกอบการสามารถขายในราคาที่ต่ำกว่า ตรมละ 100,000 บาทได้ โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งพบว่า มีเพียงแค่ 18 โครงการหรือประมาณ 5,753 ยูนิตเท่านั้นที่เปิดตัวในพื้นที่เมืองชั้นใน (สาทร, สีลม, สุขุมวิทตอนต้น )
สำหรับพื้นที่นอกเมืองด้านทิศตะวันตก (กรุงธนบุรี - กัลปพฤกษ์) ก็เป็นอีกทำเลในช่วงที่ผ่านมาที่อยู่ประกอบการสนใจเข้าไปพัฒนาโครงการใหม่กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณรอบๆ สถานีบีทีเอสตลาดพลู พบว่าทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์และผู้ประกอบการรายใหม่ให้ความสนใจเข้าไปพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และอีกหลายโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนาและเปิดขายในอนาคตอีกกว่า 3,000 ยูนิต
ยูนิตหลุดดาวน์พุ่ง 15-20%
โครงการคอนโดมิเนียมหลายโครงการในช่วงที่ผ่านมาที่เคยปิดการขายตั่งแต่ในช่วงพรีเซลล์ แต่เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดกลับพบว่า มียูนิตหลุดดาวน์ที่ผู้ประกอบการต้องนำยูนิตเหล่านั้นกลับมาขายใหม่อีกกว่า 15-20% ซึ่งยูนิตเหล่านั้นเกิดจากการทิ้งดาวน์หรือแม้กระทั้งมีลูกค้าหลายรายที่ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อส่งผลให้กลุ่มลูกค้าดังกล่าวต้องคืนห้องให้กับทางโครงการเพื่อนำกลับมาขายใหม่อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายรายต่างกังวลใจในขณะนี้
สต๊อกคงค้างในกทม.แตะ 5.5 หมื่นยูนิต
อุปทานที่ยังคงเหลือขายในตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครอีกกว่า 55,000 ยูนิต และกลายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกรายกังวลมากพอสมควร เพราะว่าผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องขยายตัวทุกๆ ไตรมาส พวกเขาไม่สามารถชะลอการเปิดขายโครงการใหม่เละเร่งปิดการขายยูนิตเหลือขายก่อน ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้กับโครงการตัวเองทั้งเรื่องการออกแบบ รูปแบบโครงการ รูปแบบห้อง รวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลางชั้นบนสุด เป็นต้น เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังพยายามหาช่องทางในการขายให้กับผู้ซื้อและนักลงทุนชาวต่างชาติก่อนเปิดขายคนไทย แม้ว่าโครงการคอนโดมิเนียมหลายโครงการที่เปิดขายในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีราคาขายสูงกว่าราคาขายเฉลี่ยของโครงการอื่นๆ ในทำเลนั้น
คอนโดฯเปิดใหม่อัตราขายลดวูบเหลือ 46%
สำหรับคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2562 มีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 46% หรือประมาณ 20,765 หน่วย ปรับลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 12% และพบว่า ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ยังคงเป็นผู้เล่นหลักในตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราการขายของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่อยู่ที่ประมาณ 50% หรือประมาณ 14,693 ยูนิต สูงกว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กประมาณ 10% ที่มีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40% หรือ 6,072 ยูนิต
คอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในช่วงระดับราคาเฉลี่ย 100,000 - 200,000 บาท ต่อตารางเมตรมีอัตราขายเฉลี่ยมากที่สุดประมาณ 48% จากหน่วยที่ขายได้ทั้งหมดของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ใน ปี 2562 ที่ผ่านมา รองลงมาคือคอนโดมิเนียมในช่วงระดับราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 47% และระดับราคา 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไปที่ประมาณ 36%
จากตัวเลขอัตราการขายเฉลี่ย 46% หรือประมาณ 20,765 หน่วย ปรับลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 12% ซึ่งพบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหลังจากมีการประกาศใช้มาตรการ LTV หลักเกณฑ์ใหม่ อัตราการขายได้ของโครงการคอนโดมิเนียมดิ่งลงไปที่ประมาณ 40% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่ก็ยังพบว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์บางโครงการที่สามารถเปิดขายได้กว่า 80-90% ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากการเปิดการขายอย่างเป็นทางการ เนื่องจากราคาขายที่ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาด และเน้นขายความแตกต่างของรูปแบบโครงการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่จึงส่งผลให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นจำนวนมากถึงกับมีการต่อคิวจองกันก่อนโครงการเปิดขายข้ามวันข้ามคืน แต่ก็ยังพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงนำโครงการเก่าที่สร้างแล้วเสร็จมาจัดโปรโมชั่นพิเศษลดราคาเพื่อระบายสต๊อกคงค้างที่ยังคงเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
คอนโดฯ 1-2 แสนบาท/ตร.ม.ขายดีสุด
คอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในช่วงระดับราคาเฉลี่ย 100,000-200,000 บาท ต่อตารางเมตรมีอัตราขายเฉลี่ยมากที่สุดประมาณ 48% จากหน่วยที่ขายได้ทั้งหมดของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ใน ปี 2562 ที่ผ่านมา รองลงมาคือคอนโดมิเนียมในช่วงระดับราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 47% และระดับราคา 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไปที่ประมาณ 36% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดในช่วงระดับกลาง ถึงกลาง - บน ในทำเลที่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้ายังคงเป็นช่วงระดับราคาที่เป็นที่สนใจของกลุ่มลูกค้า ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงระดับราคาที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
คอนโดฯเปิดใหม่ราคาเฉลี่ย 1.23 แสนบาท/ตร.ม.
ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 123,130 บาทต่อตารางเมตรลดลงประมาณ 7.1% จากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากโครงการที่เปิดขาย ประมาณ 44% ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอก และพบว่ามากกว่า 45.9% หรือประมาณ 20,493 ยูนิตที่เปิดขายใหม่ในปีที่ผ่านมาอยู่ในช่วงระดับราคา 50,000-100,000 บาทต่อตารางเมตร โดยตั้งอยู่ในพื้นที่รอบนอกตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงพระราม 9 รามคำแหง แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน และสีชมพู โดยพบว่า 5,753 ยูนิต หรือเพียงแค่ 13% เท่านั้นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชั้นใน (สาทร, สีลม, สุขุมวิทตอนต้น) รวมถึงโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2562 พบว่าผู้ประกอบการไม่กล้าที่จะปรับราคาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกรงว่าหากตั้งราคาขายที่สูงไปจะส่งผลให้โครงการแข่งขันได้ยากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว รวมถึงอาจจะส่งผลให้กำลังซื้อไม่สามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าโครงการจะตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นที่ต้องการก็ตาม ส่งผลให้ราคาขายของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในปี 2562 ลดลงจากในปีก่อนหน้า
คอนโดมิเนียมที่เปิดขายในปี 2562 กว่า 42% หรือประมาณ 18,761 ยูนิตอยู่ในช่วงระดับราคา 50,001-150,000 บาทต่อตารางเมตร ตามมาด้วยช่วงระดับราคา 100,000-200,000 บาทต่อตารางเมตรที่ประมาณ 29% และช่วงระดับราคา 150,001-200,000 บาทต่อตารางเมตรที่ประมาณ 13% และพบว่าในช่วงระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตรมีเพียงแค่โครงการเดียวเท่านั้นที่เปิดขายใหม่ในปี 2562 ที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับขึ้นราคาที่ดินแบบก้าวกระโดดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ของผู้ประกอบการ ซึ่งแม้ว่าตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างก็พบว่า ราคาที่ดินมีการปรับตัวค่อนข้างสูงในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตรได้ มีโครงการคอนโดมิเนียมบางโครงการที่มีระดับราคาขายเฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อตารางเมตรที่เปิดขายใหม่และค่อนข้างได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี