xs
xsm
sm
md
lg

ทาทา สตีล ดันเหล็กเส้น เหล็กลวด รับดีมานด์เหล็กโต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ทาทา สตีลฯ คาดการณ์ความต้องการเหล็กในประเทศส่งสัญญาณดีหลังไตรมาส 2 ของปี 2561 จากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้ตัวเลขปริมาณการใช้เหล็กในภาพรวมในทุกภาคอุตสาหกรรมโต 4-5% จากปีก่อนหน้า และมีปริมาณการใช้ 17.2 ล้านตัน

นายชัยเฉลิม บุญญานุวัตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่-ฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2561 ทาทา สตีล มุ่งเน้นการพัฒนาและผลิตสินค้าเหล็กเพื่อตอบรับกับการพัฒนาประเทศ โดยจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ใช้งาน ทั้งในกลุ่มของเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงผู้บริโภคหรือเจ้าของบ้าน โดยมีสินค้าที่โดดเด่นในปีนี้ คือ

1. เหล็กเส้น SD50 เป็นเหล็กเส้นรูปแบบใหม่ มีขนาดเล็กลง แต่มีคุณสมบัติ สำหรับการก่อสร้างที่เหมือนเดิม ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้เหล็กในงานก่อสร้างลง ประมาณ 20% ลดจำนวนเที่ยวในการขนส่ง ลดพื้นที่เก็บเหล็ก และช่วยให้งานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น

2. เหล็กเส้นเหนียวพิเศษ เป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีความเหนียวมากกว่าเหล็กตามมาตรฐาน มอก. 20% สามารถดัดโค้งได้ง่ายโดยไม่ แตกร้าว มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเหล็กต้านแรงแผ่นดินไหว (Seismic rebar) ของต่างประเทศ ทำให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมีความแข็งแรงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3. เหล็ก CAB (CUT AND BLEND) เป็นเหล็กเส้นก่อสร้างที่ทำการตัด และดัดตามแบบที่ลูกค้าต้องการ ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ช่วยลดเวลาในการก่อสร้าง ไม่มีเศษเหล็กจากการตัด และดัดหน้างาน ลดแรงงานในการก่อสร้าง ลดพื้นที่กองเก็บเหล็ก เหมาะกับงานก่อสร้างในปัจจุบันที่ต้องการความถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว

นอกจากนี้ ทาทา สตีล ยังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยการผลิตสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยเหล็กในยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ อาทิ เหล็กเพลาสำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็กลวดคาร์บอนสูงสำหรับผลิตเส้นใยเหล็กในยางรถยนต์ รวมถึงชิ้นส่วนอะไหล่อื่นๆ โดยปัจจุบัน กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีแผนจำหน่ายที่สัดส่วน 2-3% ของยอดขายรวม โดยในอนาคตบริษัทฯ มุ่งหวังในการเพิ่มสัดส่วน 5-8% ต่อปีเพื่อรองรั บนโยบายการขยายฐานมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ตามนโยบายของประเทศไทย ทาทา สตีล มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยประมาณ สำหรับสินค้าเหล็กเส้นก่อสร้างรวมถึงการทำตลาดแบบมุ่งเน้นลูกค้า คือ ศูนย์กลาง (Customer Centricity) เพื่อสร้างวัฒนธรรมให้ทุกคนในองค์กรตระนักถึงการพัฒนางาน และสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และบริษัทจะมีการนำระบบ Customer relation management มาช่วยปรับปรุงการบริการ และเก็บข้อมูลลูกค้า และความต้องการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อลูกค้า ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสัญญาณที่ดี ของการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง อันจะส่งผลต่อปริมาณการใช้เหล็กโดยหลังไตรมาส 2 หรือตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป มีสัญญาณคำสั่งซื้อ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของสินค้ากลุ่มเหล็กเส้นก่อสร้าง มีปริมาณสูงขึ้น โดยคาดการณ์ในปีนี้จะมีปริมาณการใช้ไม่ต่ำกว่า 2.3 ล้านตัน เติบโตจากปีก่อนหน้าประมาณ 4-5% ตามการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการลงทุนของภาคเอกชน ที่เพิ่มขึ้นในปีนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น