xs
xsm
sm
md
lg

ธปท. ย้ำเหตุผลควบคุมคริปโตเคอเรนซี เพราะส่งผลกระทบในวงกว้างในอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ธปท. ย้ำเหตุผลควบคุมคริปโตเคอเรนซี เพื่อคุ้มครองประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เมื่อมีคริปโตเคอเรนซี และฟินเทคเข้ามาจะทำให้ระบบการเงินกระจัดกระจาย การกำกับดูแลยากขึ้น ระบบการเงินไร้พรหมแดน หากไทยตามไม่ทันอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพการชำระเงิน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุด และมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ ด้าน คปภ. พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันไซเบอร์

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) กล่าวในการสัมนา Symposium Thailand 4.0 “Fintech & Cryptocurrency vs. Law Enforcement” หัวข้อความท้าทายของภาครัฐในการกำกับดูแลฟินเทค โดยระบุว่า เหตุผลที่ ธปท. ต้องเข้ากำกับดูแลคริปโตเคอเรนซี และฟินเทค เพราะจะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เมื่อมีคริปโตเคอเรนซี และฟินเทค เข้ามาจะทำให้ระบบการเงินกระจัดกระจาย การกำกับดูแลยากขึ้น ระบบการเงินไร้พรหมแดน หากประเทศไทยตามไม่ทันอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพการชำระเงิน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดและมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้

นอกจากนี้ การมีกฎหมายกำกับดูแลเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ไม่ให้กลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ พร้อมกับต้องสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ และไม่ให้มีการนำธุรกรรมทางการเงินไปเป็นเครื่องมือในการทำผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน ซึ่งการออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลต้องสอดคล้องกับเกณฑ์กำกับดูแลความเสี่ยง และต้องไม่เข้มงวดเกินไปจนเป็นข้อจำกัดในการทำธุรกิจ และต้องไม่หละหลวมเกินไป จนกระทบต่อเสถียรภาพ

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( คปภ.) กล่าวว่า ในประกาศของ คปภ. ยังไม่อนุญาตให้บริษัทประกันภัยลงทุนในคริปโตเคอเรนซี เพราะยังมองว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง และยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการชดเชยความเสียหาย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่จะผ่อนปรนเกี่ยวกับประกาศการลงทุนของบริษัทประกัน หากมีความชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนในคริปโตมากขึ้น ขณะเดียวกัน คปภ. กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันไซเบอร์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค


กำลังโหลดความคิดเห็น