xs
xsm
sm
md
lg

บล. ไทยพาณิชย์ ฟันธง SET index ปลายปีนี้แตะ 1,900 จุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


บล. ไทยพาณิชย์ คงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทย รับอานิสงส์จากปัจจัยหนุนภายในประเทศ ทั้งการลงทุนภาครัฐ และเอกชน การกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศด้วยงบกลางปี หนุนเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง ทำให้สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นและคุณภาพสินทรัพย์ภาคธนาคารดีขึ้น มั่นใจ SET index ปลายปีนี้ปรับตัวไปสู่เป้าหมาย 1,900 จุด สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ถึงคิวมองหาหุ้นเติบโตดีที่ราคายังไม่แพง ชูกลุ่มธนาคาร กลุ่มพาณิชย์ และกลุ่มโรงพยาบาล

นายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปิดฉากปี 2560 อย่างสวยงาม โดยประเมินอัตราการขยายตัวที่ 3.7% เทียบช่วงเดียวกับปีก่อนหน้า และดูเหมือนว่าทิศทางการลงทุนจะดีต่อเนื่องในปี 2561

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน คือ สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นเร็วกว่าคาด และแนวโน้มที่อาจจะเกิดสงครามการค้าโลก ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัว 3.9% ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตในปี 2561 ยังดูดีโดยมีสัญญาณจากการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปีก่อน เมื่ออิงกับประมาณการเศรษฐกิจล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เศรษฐกิจทั่วโลกน่าจะขยายตัว 3.9% เทียบช่วงเดียวกับปีก่อนหน้าในปีนี้ เร่งตัวขึ้นจากการปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งจะยังคงหนุนภาคส่งออกของไทยควบคู่ไปด้วย

ปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ 2 อย่างเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญอยู่ที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่อาจปรับขึ้นเร็วกว่าคาด เนื่องจากปัจจัยกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอีก จากตลาดแรงงานที่ตึงตัวขึ้น และ output gap เป็นบวกมากขึ้นซึ่งบ่งบอกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตตึงตัวมากขึ้นสอดคล้องกันในหลาย ๆ ภาคธุรกิจ ชี้ให้เห็นว่าโมเมนตัมการเติบโตอาจแข็งแกร่งกว่าคาดในสหรัฐฯ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เฟด จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 4 ครั้งในปีนี้ เร็วกว่าที่ตลาดคาดว่าน่าจะขึ้นเพียง 3 ครั้ง

“SCBS มองว่า ความกังวลที่จะเกิดสงครามการค้าทั่วโลกกลับมาอีกครั้ง นับตั้งแต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2559 สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องซักผ้า, เหล็ก และอลูมิเนียม ซึ่งแม้จะมีการผ่อนปรนให้กับคู่ค้าบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคนนาดา เม็กซิโก ฯลฯ แต่การประกาศเตรียมขึ้นภาษีระรอกล่าสุดที่มีการตอบโต้ไปมาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ตลาดมีความกังวลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามการค้ามากขึ้น”

กลยุทธ์การลงทุนประจำไตรมาส 2 ปี 2561 SET index ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4% นับตั้งแต่ต้นปี 2561 จนถึงกลางเดือน มี.ค. หลัก ๆ ได้รับปัจจัยกระตุ้นจากกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี คาดว่า SET index จะเคลื่อนไหวแบบ sideways ในไตรมาส 2 ปี 2561 และยังคงเป้า SET index สิ้นปี 61 ไว้ที่ 1900 จุด สำหรับหุ้น Top Picks ประจำไตรมาส 2 ปี 2561 เลือกกลุ่มธนาคาร เพราะสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น และคุณภาพสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ เลือกกลุ่มพาณิชย์ เพราะงบประมาณกลางปีจะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายรากหญ้า สุดท้าย กลุ่มการแพทย์ เนื่องจากเป็นหุ้น laggard และกำไรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน ปี 2561 ประกอบกับเทรนด์ใหม่ของธุรกิจประกันสุขภาพ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยในระยะยาว

ขณะที่หุ้นเด่นที่มองว่าจะได้รับอานิสงส์ดี ได้แก่ บมจ. กรุงเทพ (BBL) เนื่องจากว่าราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และดีที่สุดในกลุ่มธนาคาร เพราะจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ และรายได้ค่าธรรมเนียมจากการขายสินค้ากลุ่มประกันชีวิต จะเพิ่มขึ้น

ขณะที่ในส่วนของ บมจ. กรุงไทย (KTB) ราคายังอยู่ในระดับต่ำ หากมองมูลค่าการซื้อขายที่ PBV 0.9 เท่า (-1SD จากค่าเฉลี่ย 15 ปี) เติบโตตามการลงทุนภาครัฐ และวัฏจักรการลงทุนระรอกใหม่ของประเทศ

บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ราคาหุ้นยังไม่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาโดยมูลค่าซื้อขายที่ PEG ปี 2561 ระดับ 1.0 เท่า (ค่าเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 2.2 เท่า) คาดว่ากำไรอาจเติบโตถึง 33% ในปี 2561

ส่วน บมจ. สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL) ถือได้ว่าเป็นหุ้นที่มีราคาฟื้นตัวน้อยมากที่สุดในกลุ่มพาณิชย์ ประเมินว่า กำไรปี 2561 จะเติบโตประมาณ 22% โดยได้รับปัจจัยกระตุ้นจาก SSS ที่เติบโต 4.5% (ดีที่สุดในกลุ่มพาณิชย์)

ด้าน บมจ. โรบินสัน (ROBINS) ถือว่าถูกที่สุดในกลุ่มพาณิชย์ที่ P/E ปี 2561 ระดับ 22 เท่า (ค่าเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 32 เท่า) และกำไรจะเติบโตประมาณ 16% เพราะ SSS และอัตรากำไรจะปรับตัวดีขึ้น

ด้านหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล มองว่า บมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ราคาหุ้นยังปรับขึ้นน้อยกว่า SET นับตั้งแต่ตลาดเริ่มปรับตัวขึ้นในเดือน ก.ย. 2560 โดยมี EPS จะเติบโต 17 % ในปี 2561 และมีการจับมือกับบริษัทประกัน ซึ่งจะทำให้รายได้จากผู้ป่วยประกันสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว

ขณะที่ บมจ. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) ที่มีราคาหุ้นปรับตัวลดลง 28% ใน 1 ปีที่ผ่านมา เพราะกังวลเรื่องการแข่งขันขยายกิจการสู่พื้นที่ EEC และพื้นที่ใกล้เคียงซึ่ง รพ.เอกชน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5-15% ของจำนวนเตียงทั้งหมด


กำลังโหลดความคิดเห็น