สศค. เผยรายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ. 61 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวได้ 10 เดือนต่อเนื่อง แต่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ทั้งในเขต กทม. และเขตภูมิภาค หดตัวที่ 5.3% จากรายได้ภาคเกษตรที่ลดต่อเนื่อง ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดเหตุกังวลราคาพืชผลเกษตรและค่าบาท ส่วนการลงทุนเอกชนยังคงขยายตัว
นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง แถลงภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งพิจารณาจากเครื่องชี้เศรษฐกิจต่าง ๆ โดยด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน ก.พ. 61 ขยายต่อเนื่องที่ 7.2% จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ และจากฐานการนำเข้า ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว 10.9% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันนับตั้งแต่ต้นปี 60 โดยเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ
สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันที่ 8.9% ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่กลับมาหดตัวที่ 5.3% โดยเป็นการหดตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในเขตภูมิภาค เนื่องจากรายได้ภาคเกษตรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือน ก.พ. 61 หดตัว 7.6% สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 66.1 ลดลงจากเดือนก่อนจากความกังวลเกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรและค่าเงินบาทที่แข็งค่า
ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ 1.8% ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัว 7.8% ต่อเดือน ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ. 61 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.3% และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 2.9% โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่สูงขึ้น 8.3%
ส่วนอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวในระดับสูง และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.3% โดยหมวดสินค้าสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องอิเล็กทรอนิกส์, น้ำมันสำเร็จรูป, เม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน-9, อาเซียน-5, อินโดจีน (CLMV), สหภาพยุโรป, อินเดีย และทวีปออสเตรเลีย เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 16.0% โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป, สินค้าแร่และเชื้อเพลิง, ทองคำ, สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ ด้านอุปทานซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทยนั้น ขยายตัวในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 3.57 ล้านคน หรือขยายตัว 19.3% โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเทศกาลตรุษจีน ส่งผลทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ จำนวน 1.95 แสนล้านบาท ขยายตัว 23.8% โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี จะมาจากจีน, รัสเซีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย และอินเดีย เป็นหลัก สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
ขยายตัวต่อเนื่องที่ 7.1% และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัว 1.0% ต่อเดือน เป็นผลจากหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงที่ขยายตัวได้ดี
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.4% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.6% สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในอัตราคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ 1.3% ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ 41.4% ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 60% ต่อ GDP สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ ทั้งนี้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 212.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นราว 3.3 เท่า
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 89.9 ซึ่งปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลเรื่องต้นทุนการผลิตทั้งจากราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างขั้นต่ำ ที่เตรียมจะปรับขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2561 รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง แถลงภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งพิจารณาจากเครื่องชี้เศรษฐกิจต่าง ๆ โดยด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน ก.พ. 61 ขยายต่อเนื่องที่ 7.2% จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ และจากฐานการนำเข้า ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว 10.9% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันนับตั้งแต่ต้นปี 60 โดยเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ
สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันที่ 8.9% ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่กลับมาหดตัวที่ 5.3% โดยเป็นการหดตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในเขตภูมิภาค เนื่องจากรายได้ภาคเกษตรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือน ก.พ. 61 หดตัว 7.6% สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 66.1 ลดลงจากเดือนก่อนจากความกังวลเกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรและค่าเงินบาทที่แข็งค่า
ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ 1.8% ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัว 7.8% ต่อเดือน ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ. 61 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.3% และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 2.9% โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่สูงขึ้น 8.3%
ส่วนอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวในระดับสูง และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.3% โดยหมวดสินค้าสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องอิเล็กทรอนิกส์, น้ำมันสำเร็จรูป, เม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน-9, อาเซียน-5, อินโดจีน (CLMV), สหภาพยุโรป, อินเดีย และทวีปออสเตรเลีย เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 16.0% โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป, สินค้าแร่และเชื้อเพลิง, ทองคำ, สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ ด้านอุปทานซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทยนั้น ขยายตัวในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 3.57 ล้านคน หรือขยายตัว 19.3% โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเทศกาลตรุษจีน ส่งผลทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ จำนวน 1.95 แสนล้านบาท ขยายตัว 23.8% โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี จะมาจากจีน, รัสเซีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย และอินเดีย เป็นหลัก สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
ขยายตัวต่อเนื่องที่ 7.1% และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัว 1.0% ต่อเดือน เป็นผลจากหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงที่ขยายตัวได้ดี
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.4% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.6% สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในอัตราคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ 1.3% ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ 41.4% ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 60% ต่อ GDP สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ ทั้งนี้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 212.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นราว 3.3 เท่า
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 89.9 ซึ่งปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลเรื่องต้นทุนการผลิตทั้งจากราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างขั้นต่ำ ที่เตรียมจะปรับขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2561 รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน