xs
xsm
sm
md
lg

เลขาธิการ EEC เผย 5 เดือนแรกกำหนดแผนการลงทุนหลัก 4 ด้าน อนุมัติการลงทุนแล้วกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวในงาน Thailand Focus 2017: Establishing the New Engine
เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เผย 5 เดือนที่ผ่านมา EEC กำหนดกรอบพื้นที่ 4 ด้าน คือ โครงการพื้นฐาน การลงทุนธุรกิจและอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และ การสร้างเมืองใหม่ พร้อมได้รับการอนุมัติไปแล้ว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวในงาน Thailand Focus 2017 : Establishing the New Engine ถึงกลยุทธการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกว่า ในระยะ 5 เดือนที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าของโครงการอีอีซี หลายด้านเราได้กำหนดพื้นที่หลัก 4 ด้าน คือ โครงการพื้นฐาน การลงทุนธุรกิจและอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการสร้างเมืองใหม่ ในส่วนนี้ได้กำหนดแผน 15 โครงการหลัก ซึ่งในส่วนนี้มี 5 โครงการที่ได้ถูกกำหนดให้มีความสำคัญอันดับแรก ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลได้วางแผนดำเนินการอนุมัติการลงทุน 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะ 5 ปีแรก ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติไปแล้ว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน 4 โครงการ เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการบินและซ่อมบำรุงเครื่องบินที่สำคัญของภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ โครงการรถไฟความสูง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเชื่อมต่อสนามบินหลัก 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะทำให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ใช้เวลาเพียง 42 นาที ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สนามบินอู่ตะเภา กลายเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินที่สำคัญต่อไป สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 30 ล้านคนใน 10 ปี และ 60 ล้านคนในระยะ 15 ปีตามลำดับ คาดการณ์รายได้ 150,000 ล้านบาท ขณะที่รถไฟความเร็วสูงจะมีรายได้ 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ท่าเรือสำคัญของภาคตะวันออก 3 แห่ง คือ แหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ (ซึ่งเป็นของกองทัพเรือ) ถูกวางแผนให้เชื่อมต่อกับสนามบินอู่ตะเภา ด้วยโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว

ขณะที่ในส่วนของการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งตามกฎหมายปกติจะใช้เวลา 25-40 เดือน แต่ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการปรับแก้กฎระเบียบการลงทุนให้เหลือเพียง 8 เดือน ซึ่งคาดว่าจะเปิดทีโออาร์ในในช่วงปลายปี 2560 และจะเริ่มการประมูลได้ในช่วงเริ่มต้นปี 2561

นอกจากนี้ ด้านภาคอุตสาหกรรมการบินที่มีความก้าวหน้ารวดเร็วมากกว่าที่คาดการณ์ กลยุทธ์ของเรา คือ จูงใจให้บริษัทชั้นนำเข้ามาก่อน และจากนั้น เชื่อว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนต่อเนื่องจะตามมา ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทการบินชั้นนำของโลกสนใจจะเข้ามาลงทุน เช่น โบอิ้ง, แอร์บัส, การบินไทย และแอร์เอเชีย ซึ่งจะมีผู้โดสาร 15 ล้านคน จะเริ่มธุรกิจในปีหน้า เอ็มอาร์โอของการบินไทยก็เริ่มแล้ว และคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างกลางปีหน้า โบอิ้งจะมาเทรนนิ่ง 1500 นักบิน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจจากหลายบริษัทชั้นนำ เช่น นิสสัน และ ฟอม (Fomm) ด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้รับความสนใจอย่างมากจาก ลาซาด้า และอาลีบาบา โดยคาดว่าจะมีข่าวดีภายในเดือนนี้ นอกจากนี้ เร็ว ๆ นี้จะมีนักลงทุนญี่ปุ่น 300-500 คนเข้ามาในประเทศไทย เพื่อฉลองครบรอบความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยคาดว่าจะมีสรุปการลงทุนได้ 20-30 สัญญา

“การพัฒนาบุคลากรเพื่อเดินหน้าสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมตามนโยบายประเทศไทย 4.0 จึงได้ดึงดูดให้บริษัทต่าง ๆ ที่เข้ามาลงทุนเชื่อมต่อความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะมีส่วนที่เรียกว่า อินโนเวชันปาร์ก ตั้งอยู่บริเวณเขาวังจันทร์ ซึ่งสิ่งที่จะดึงดูด คือ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไว้พร้อมแล้ว และมีสิทธิพิเศษจูงใจสำหรับเอกชนที่จะเข้าลงทุนในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลดูแลด้านนี้”

ทั้งนี้ ความท้าทายในช่วง 12 เดือนหน้า ไม่ได้อยู่ที่ความไม่สนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพราะต่างเห็นด้วยกับอีอีซี และมีเงินพร้อมสนใจจะเข้ามาในโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคติดขัดที่ระเบียบ และกฎหมาย ซึ่งเราตระหนักในเรื่องนี้ และกำลังแก้ไขส่วนนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น