xs
xsm
sm
md
lg

คุ้ยงบการเงิน “เอิร์ธ” / สุนันท์ ศรีจันทรา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


     บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้ส์ คูเปอร์ส ประเทศไทย จำกัด กำลังถูกลากเข้ามาเป็นจำเลยร่วมของบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น EARTH เพราะมีข้อสงสัยว่า เหตุใดผู้ตรวจสอบบัญชีจึงไม่พบความผิดปกติใดในงบการเงิน “เอิร์ธ”
    ทำไมบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี จึงไม่พบสัญญาณความไม่ปกติใดมาก่อนหน้า ทำให้นักลงทุนรับรู้ถึงวิกฤตฐานะทางการเงิน เมื่อผีถึงป่าช้าแล้ว

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างสอบถาม “ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์” บริษัทผู้ตรจสอบบัญชี “เอิร์ธ” เพื่อขอข้อมูลการตรวจสอบงบการเงินบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้
    ข้อสงสัยของก.ล.ต.เป็นข้อสงสัยเดียวกับนักลงทุนทั่วไป เหตุใดผู้ตรวจสอบบัญชี จึงไม่ส่งสัญญาณความผิดปกติในงบการเงินมาล่วงหน้า
     หนี้เอิร์ธจำนวนมหาศาล ถูกฝ่ายบริหาร “เอิร์ธ” ซุกไว้ตรงไหน ทำไมผู้ตรวจสอบบัญชีจึงไม่พบ
    และการจัดส่งข้อมูลงบการเงินเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายบริหาร “เอิร์ธ” จงใจปกปิด หรือสำแดงข้อมูลทางการเงินเท็จหรือไม่

     ไม่มีระแคะระคาย ไม่มีเบาะแสมาก่อนว่า “เอิร์ธ” มีฐานะทางการเงินที่ย่ำแย่ จนกระทั่งเกิดการผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (ตั๋วบี/อี) ใบแรกจำนวน 40 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯแจ้งตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา
    หลังจากนั้นปัญหาหนี้ของ “เอิร์ธ” จึงถูกเปิดโปง โดยล่าสุดก.ล.ต.ขอให้ชี้แจงยอดหนี้ทั้งหมด ปรากฏว่า มีหนี้รวมทั้งสิ้น 47,480.01 ล้านบาท มากกว่าสินทรัพย์ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 31,828.55 ล้านบาท บริษัทจึงอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นเหตุที่ต้องยื่นขอฟื้นฟูกิจการ
    ผู้บริหาร “เอิร์ธ”เก็บ “อาการ”มาตลอด ไม่บอกกล่าวถึงปัญหาฐานะการเงินของบริษัท รอจนกระทั่งปิดความลับต่อไปไม่ไหว จึงออกมายอมรับสารภาพว่า กิจการไปไม่รอดแล้ว
    สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ นักลงทุนในตลาดหุ้น ได้รับผลกระทบหนักโดยทั่วหน้า โดยไม่มีใครตั้งรับได้ทัน
 

    กรณี “เอิร์ธ” ไม่แตกต่างจากบริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือ “ฟิน-วัน” ในอดีต โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจัดเรตติ้ง “ฟิน-วัน” ไว้สวยหรู แต่ “ฟิน-วัน” กลับล้มทั้งยืน เพราะฐานะการเงินง่อนแง่น จนถูกสั่งปิดในปี 2540
    “เอิร์ธ” ก็เช่นเดียวกัน บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่เคยมีหมายเหตุ งบการเงินที่ผู้ตรวจสองบัญชีเซ็นรับรองดูปกติ ไม่มีข้อสังเกตแต่อย่างใด แต่วันดีคืนดีหนี้ก้อนโตโผล่ และกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้สินล้นพันตัวเพียงชั่วข้ามไตรมาส
    การที่ก.ล.ต.ให้ความใส่ใจเป็นกรณีพิเศษ ในการตรวจสอบงบการเงิน “เอิร์ธ” ต้องถือว่า ก.ล.ต.ได้มองเห็นถึงปัญหาและผลกระทบที่จะตามมา

    ผู้บริหาร “เอิร์ธ”เก็บ “อาการ”มาตลอด ไม่บอกกล่าวถึงปัญหาฐานะการเงินของบริษัท รอจนกระทั่งปิดความลับต่อไปไม่ไหว จึงออกมายอมรับสารภาพว่า กิจการไปไม่รอดแล้ว
    สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ นักลงทุนในตลาดหุ้น ได้รับผลกระทบหนักโดยทั่วหน้า โดยไม่มีใครตั้งรับได้ทัน

ปิ่น จักกะพาก
     เพราะปัญหาฐานะการเงินที่เกิดขึ้นกับ “เอิร์ธ” ย่อมเกิดกับบริษัทจดทะเบียนอื่นได้เหมือนกัน เมื่อผู้บริหาร “เอิร์ธ” ซุกหนี้ได้ บริษัทจดทะเบียนอื่นย่อมมีโอกาสซุกหนี้เช่นเดียวกัน
    และเมื่องบการเงินของ “เอิร์ธ” ไม่สามารถสะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทฯได้ งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนอื่น ก็สามารถจัดทำงบการเงินที่ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริงได้เช่นเดียวกัน
    ดังนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 600 แห่ง แม้จะประกาศงบการเงินทุกไตรมาส แต่ใครจะมั่นใจได้หรือว่า บริษัทจดทะเบียนแห่งไหน ฐานะทางการเงินที่แท้จริงเป็นอย่างไร
    จะมีการแต่งงบการเงินให้ดูดี ทั้งที่ฐานะการเงินย่ำแย่เหมือน “เอิร์ธ” หรือไม่

     ก.ล.ต.ต้องค้นหาคำตอบว่า หนี้เอิร์ธโผล่มาจากไหน ทำไมไม่ปรากฏในงบการเงินก่อนหน้า ผู้บริหารเอิร์ธจงใจปกปิดฐานะทางการเงินที่แท้จริงหรือไม่
    และเหตุใดระบบการตรวจสอบ กำกับ ดูแลจึงไม่พบความผิดปกติใดในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความผิดพลอด มีจุดบกพร่องตรงไหน จึงไม่สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยนักลงทุนได้ล่วงหน้า
    การขุดปมเบื้องหลังความล่มสลายของเอิร์ธ จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้รู้ว่า ผู้บริหารบริษัทมีวิธีการอย่างใด จึงอำพรางฐานะที่แท้จริงของกิจการได้
     และกว่านักลงทุนจะรู้ว่าเอิร์ธมีหนี้สินล้นพันตัว ก็สายเกินแก้ เพราะทุกคนเสียหายไปหมดแล้ว

กำลังโหลดความคิดเห็น