“วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ” เผยเสียงส่วนใหญ่ในกรรมาธิการสามัญ พิจารณา พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เห็นควรให้คลังปรับลดราคามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง-อัตราจัดเก็บให้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หวังช่วยขยายฐานการจัดเก็บ เพิ่มขีดความสามารถ และความเต็มใจของผู้เป็นเจ้าของบ้านในการจ่ายภาษีให้รัฐ
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณา พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ขั้นตอนของคณะกรรมาธิการสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แม้จะยังไม่ได้สรุปเกี่ยวกับการยกเว้นจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่อยู่อาศัยว่า มูลค่าไม่ควรเกินเท่าไรก็ตาม แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่า กระทรวงการคลังควรลดราคามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องจัดเก็บภาษีให้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรรมาธิการส่วนใหญ่ยังเห็นควรกระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดอัตราเพดานภาษีให้ต่ำลงจากปัจจุบัน ที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 0.5% เหลือ 0.25% เนื่องจากมองว่าจะเป็นการช่วยขยายฐานการจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลังได้มากขึ้น และยังจะทำให้ผู้เสียภาษีมีความสามารถ และมีความเต็มใจที่ชำระภาษีให้ได้รัฐมากขึ้น เนื่องจากการปรับอัตราภาษีให้บางลงนั้น จะทำให้ผู้ที่เป็นเข้าของบ้านหลังหลักจะแบกรับภาระเพียงแค่หลักพันบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงการตัดสินใจจากกระทรวงการคลัง แต่ได้ย้ำวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ ในระยะแรกกระทรวงการคลังไม่ได้มุ่งหวังที่จะหารายได้เพิ่ม เนื่องจากบ้านที่อยู่อาศัยนั้นถือเป็นปัจจัย 4 กระทรวงการคลัง จึงต้องการแค่เพียงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น โดยเสียภาษีในอัตราที่ถูกลง อีกทั้ง การจัดเก็บรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ตรงที่ดินในเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ที่กำหนดอัตราจัดเก็บไว้ที่ 2%
ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยนั้น จะต้องดูภาพรวมภาษีทั้งหมดก่อน โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้กำหนดการจัดเก็บไว้เป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร, ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งหากจะลดมูลค่าการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ก็จะต้องไปพิจารณาลดที่ดินเกษตรกรรม และภาษีที่ดินประเภทอื่น ๆ ให้สอดล้องกันด้วย เนื่องจากมองว่าไม่ควรลดตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว
สำหรับอัตราเพดานภาษีที่ดินฯ ทั้ง 4 ประเภทนั้นก็ถือว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากได้ศึกษาอัตราจากหลายประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีประเภทดังกล่าวอยู่ ทั้งยังย้ำด้วยว่า อัตราจัดเก็บจริงนั้นจะต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง หลังจากที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกร้าง มีผลบังคับใช้จริงแล้ว ซึ่งคาดหมายว่า การพิจารณาในขั้นกรรมาธิการจะเสร็จสิ้นลงภายในเวลาไม่เกิน 45 วัน พร้อมทั้งยังคาดหวังว่า กฎหมายภาษีที่ดินฯ จะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันภายในปี 60
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณา พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ขั้นตอนของคณะกรรมาธิการสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แม้จะยังไม่ได้สรุปเกี่ยวกับการยกเว้นจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่อยู่อาศัยว่า มูลค่าไม่ควรเกินเท่าไรก็ตาม แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่า กระทรวงการคลังควรลดราคามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องจัดเก็บภาษีให้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรรมาธิการส่วนใหญ่ยังเห็นควรกระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดอัตราเพดานภาษีให้ต่ำลงจากปัจจุบัน ที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 0.5% เหลือ 0.25% เนื่องจากมองว่าจะเป็นการช่วยขยายฐานการจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลังได้มากขึ้น และยังจะทำให้ผู้เสียภาษีมีความสามารถ และมีความเต็มใจที่ชำระภาษีให้ได้รัฐมากขึ้น เนื่องจากการปรับอัตราภาษีให้บางลงนั้น จะทำให้ผู้ที่เป็นเข้าของบ้านหลังหลักจะแบกรับภาระเพียงแค่หลักพันบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงการตัดสินใจจากกระทรวงการคลัง แต่ได้ย้ำวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ ในระยะแรกกระทรวงการคลังไม่ได้มุ่งหวังที่จะหารายได้เพิ่ม เนื่องจากบ้านที่อยู่อาศัยนั้นถือเป็นปัจจัย 4 กระทรวงการคลัง จึงต้องการแค่เพียงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น โดยเสียภาษีในอัตราที่ถูกลง อีกทั้ง การจัดเก็บรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ตรงที่ดินในเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ที่กำหนดอัตราจัดเก็บไว้ที่ 2%
ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยนั้น จะต้องดูภาพรวมภาษีทั้งหมดก่อน โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้กำหนดการจัดเก็บไว้เป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร, ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งหากจะลดมูลค่าการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ก็จะต้องไปพิจารณาลดที่ดินเกษตรกรรม และภาษีที่ดินประเภทอื่น ๆ ให้สอดล้องกันด้วย เนื่องจากมองว่าไม่ควรลดตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว
สำหรับอัตราเพดานภาษีที่ดินฯ ทั้ง 4 ประเภทนั้นก็ถือว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากได้ศึกษาอัตราจากหลายประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีประเภทดังกล่าวอยู่ ทั้งยังย้ำด้วยว่า อัตราจัดเก็บจริงนั้นจะต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง หลังจากที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกร้าง มีผลบังคับใช้จริงแล้ว ซึ่งคาดหมายว่า การพิจารณาในขั้นกรรมาธิการจะเสร็จสิ้นลงภายในเวลาไม่เกิน 45 วัน พร้อมทั้งยังคาดหวังว่า กฎหมายภาษีที่ดินฯ จะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันภายในปี 60