xs
xsm
sm
md
lg

“สมคิด” มอบ “คลัง-ธปท.” ร่วมพัฒนา-ลดข้อจำกัดด้านฟินเทค

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“สมคิด” มอบ “คลัง-ธปท.” ร่วมพัฒนา-ลดข้อจำกัดด้านฟินเทค มุ่งยกระดับเป็นฮับในกลุ่ม CLMV โดยคลังต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และทาง ธปท. จะต้องผ่อนคลายหลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงาน “ก้าวที่ 40 มติชน ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0” โดยระบุว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ 4.0 จำเป็นต้องมีการเพิ่มมูลค่าสินค้า ส่งเสริมผู้ประกอบการ และทำให้สตาร์ทอัปใหม่ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมด้านนวัตกรรม และดิจิตอล ซึ่งการพัฒนาระบบการเงินด้วยเทคโนโลยี (ฟินเทค) ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และยังมีข้อจำกัดแต่จำเป็นต้องพัฒนา

นายสมคิด กล่าวว่า การพัฒนาด้านฟินเทคถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องร่วมมือกัน โดยกระทรวงการคลังต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษา

ส่วน ธปท.จะต้องผ่อนคลายหลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาฟินเทค โดยไม่จำเป็นต้องไปปรับปรุงกฎหมายใหม่ แต่ต้องศึกษากฎระเบียบการเงินที่มีความเหมาะสมของฟินเทคภาคการเงินไทย โดยให้นำการศึกษาจากต่างประเทศมาปรับปรุงให้เข้ากับระบบการเงินไทย

นายสมคิด มองว่า ตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาฟินเทค คือ โมบายโฟนที่เพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงิน จนก้าวเข้าสู่เงินในรูปแบบดิจิตอลในอนาคต พร้อมทั้งต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า ให้เข้าถึงข้อมูลขอผู้ใช้งาน และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจการขอสินเชื่อของผู้ประกอบการได้

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาฟินเทคจำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศ หรืออิโคซิสเต็มทางการเงิน ด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญทางการเงินให้เข้าใจฟินเทคให้มากขึ้น และธนาคารต่างๆ ก็ต้องพัฒนาตัวเองเข้าสู่ฟินเทค และต้องหาแนวทางในการป้องกันผลประโยชน์ให้กับประชาชนไม่ให้ถูกหลอกด้วย

นอกจากการพัฒนาระบบฟินเทคในประเทศแล้ว ยังต้องพยายามยกระดับของฟินเทค เพื่อให้ไทยสามารถเป็นฮับด้านฟินเทคในกลุ่ม CLMVT ด้วย

นายสมคิด ยังกล่าวถึงการผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุม ครม.-คสช. เมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.) ว่า ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อตัวโครงการ แต่อาจมีอุปสรรคบางจุด ซึ่งทั้งหมดจะแก้ด้วยการใช้มาตรา 44

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ"การกำกับดูแลการเงินการคลังในยุค 4.0" โดยระบุว่า ประเทศไทย 4.0 หมายถึงการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากจะช่วยส่งเสริมผลิตภาพการผลิตให้แก่ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เช่น การซื้อสินค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและทำให้ระบบการเงินการธนาคารแบบเดิมจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน

สำหรับการดำเนินงานของรัฐบาลก็ต้องปรับตัวและก้าวให้ทันยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งการกำกับดูแลการเงินการคลังในยุค 4.0 นั้น หมายถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ 3 เป้าหมาย คือ 1.เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2.เพื่อลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสให้กับภาคส่วนอื่น 3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงความโปร่งใสทางการคลัง

รมว.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงมุ่งพัฒนาปรับปรุงการกำกับดูแลการเงินการคลังที่สอดคล้องกับยุค 4.0 เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศ และสร้างความมั่นคงในระบบการบริหารจัดการการเงินการคลัง ซึ่งการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจ จะช่วยให้ประเทศไทยเติบโต
กำลังโหลดความคิดเห็น