เดอะ สตีล มั่นใจงบไตรมาส 2 ปีนี้สดใส ตามราคาเหล็กทรงตัวในระดับสูง แย้มยอดขาย 5 เดือนเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ผู้บริหาร “บุญชัย จิระพงษ์ตระกูล” คาดอุตฯ เหล็กปีนี้ไม่น่าหวือหวา หวังการเลือกตั้งกระตุ้นภาคการลงทุนฟื้น แถมเป็นแรงขับเคลื่อนงานโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเดินหน้านำ “ไพร์ม สตีล มิลล์” เข้าตลาดหุ้นปลายปี 61
นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ “THE” เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2560 มีแนวโน้มดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากทิศทางราคาเหล็กยังทรงตัวในระดับสูง โดยมองว่า ภาพรวมยอดขายในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.60) เป็นไปตามที่บริษัทคาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะได้รับผลบวกภายหลังการเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อย “บริษัท ไพร์ม สตีล มิลล์ จำกัด” (เดิมชื่อ บริษัท เต๋อหลง (ไทยแลนด์) จำกัด) ซึ่งซื้อหุ้นเพิ่มอีก 30% เป็น 50% จากเดิมถืออยู่เพียง 20% โดยบริษัทฯ ได้รับโอนหุ้น และจ่ายชำระค่าหุ้น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 ส่งผลให้สัดส่วนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้จะช่วยสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 ที่มีกำไรสุทธิ 545.29 ล้านบาท และรายได้รวม 1.58 หมื่นล้านบาท
สำหรับภาพรวมในไตรมาส 1/2560 บริษัทมีรายได้รวม 3,460.90 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 4,457.96 ล้านบาท ลดลง 22.37% เนื่องจากความต้องการเหล็กลดลงมาก ทำให้ปริมาณการขายเหล็กในไตรมาสนี้ลดลงประมาณ 35% แม้ราคาขายโดยเฉลี่ยทั้งไตรมาสจะปรับสูงขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 18% ส่งผลให้กำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81% จากไตรมาส 1/2559 มีกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 8.26% นอกจากนี้ ไตรมาส 1/60 บริษัทมีการทยอยตั้งสำรองหนี้เสียสงสัยจะสูญเพิ่ม 26.56 ล้านบาท และรับรู้กำไรจากบริษัทร่วม 20.29 ล้านบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกประเภท และภาษีเงินได้แล้ว ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2560 มีกำไรสุทธิ 82.40 ล้านบาท
นายบุญชัย กล่าวอีกว่า บริษัทมีนโยบายการดำเนินธุรกิจแบบ one stop service หรือการบริการแบบครบวงจร ซึ่งมุ่งเน้นที่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย บริษัทสามารถแบ่งลักษณะการประกอบธุรกิจหลักของบริษัทได้เป็น 3 ลักษณะ อันประกอบด้วย การให้บริการจัดหาผลิตภัณฑ์ต่างๆ แบบครบวงจร (Trading and Warehousing) หรือที่เรียกกันว่า ซื้อมาขายไป ได้แก่ เหล็กม้วนรีดร้อน, เหล็กม้วนสลิต, เหล็กแผ่น, เหล็กรูปพรรณประเภทขึ้นรูปร้อน และเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น รวมถึงการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก (Steel Processing) โดยบริษัทนำเหล็กม้วนรีดร้อนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กประเภทต่างๆ ได้แก่ เหล็กแถบม้วน (Slitting Coil), เหล็กท่อ (Steel Pipe) และเหล็กโครงสร้างรูปตัวซี (C-Channel) เป็นต้น
อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีศูนย์บริการเหล็ก (Coil Center) โดยให้บริการรับจ้างแปรรูปสินค้า อาทิ บริการตัดเหล็กแผ่น, ซอยหน้าเหล็กม้วนแถบเล็ก หรือบริการตัด-พับขึ้นรูป ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ การบริการจะเป็นเช่นเดียวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก (Steel Processing) ต่างกันที่ลูกค้าจะเป็นผู้นําวัตถุดิบมาให้บริษัททำการแปรรูปตามที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อาทิ การบริการบรรจุภัณฑ์พิเศษ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล็ก
นายบุญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มองภาพรวมของอุตสาหกรรมเหล็กปีนี้ไม่น่าหวือหวามากนัก โดยทิศทางเป็นลักษณะทรงตัว โดยตลาดยังคงจับตามองถึงการเลือกตั้งภายในประเทศ เพราะหากมีการเลือกตั้ง จะเป็นช่วยสร้างความมั่นใจให้กับภาคการลงทุน และเป็นแรงขับเคลื่อนงานโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ความต้องการใช้เหล็ก เพื่อใช้ในงานก่อสร้างในประเทศเพิ่มขึ้น
สำหรับความคืบหน้าของการนำ บริษัท ไพร์ม สตีล มิลล์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยเบื้องต้น ยังคงเดินหน้าตามแผน ซึ่งคาดว่าจะชัดเจนภายในปลายปี 2561
นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ “THE” เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2560 มีแนวโน้มดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากทิศทางราคาเหล็กยังทรงตัวในระดับสูง โดยมองว่า ภาพรวมยอดขายในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.60) เป็นไปตามที่บริษัทคาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะได้รับผลบวกภายหลังการเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อย “บริษัท ไพร์ม สตีล มิลล์ จำกัด” (เดิมชื่อ บริษัท เต๋อหลง (ไทยแลนด์) จำกัด) ซึ่งซื้อหุ้นเพิ่มอีก 30% เป็น 50% จากเดิมถืออยู่เพียง 20% โดยบริษัทฯ ได้รับโอนหุ้น และจ่ายชำระค่าหุ้น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 ส่งผลให้สัดส่วนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้จะช่วยสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 ที่มีกำไรสุทธิ 545.29 ล้านบาท และรายได้รวม 1.58 หมื่นล้านบาท
สำหรับภาพรวมในไตรมาส 1/2560 บริษัทมีรายได้รวม 3,460.90 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 4,457.96 ล้านบาท ลดลง 22.37% เนื่องจากความต้องการเหล็กลดลงมาก ทำให้ปริมาณการขายเหล็กในไตรมาสนี้ลดลงประมาณ 35% แม้ราคาขายโดยเฉลี่ยทั้งไตรมาสจะปรับสูงขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 18% ส่งผลให้กำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81% จากไตรมาส 1/2559 มีกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 8.26% นอกจากนี้ ไตรมาส 1/60 บริษัทมีการทยอยตั้งสำรองหนี้เสียสงสัยจะสูญเพิ่ม 26.56 ล้านบาท และรับรู้กำไรจากบริษัทร่วม 20.29 ล้านบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกประเภท และภาษีเงินได้แล้ว ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2560 มีกำไรสุทธิ 82.40 ล้านบาท
นายบุญชัย กล่าวอีกว่า บริษัทมีนโยบายการดำเนินธุรกิจแบบ one stop service หรือการบริการแบบครบวงจร ซึ่งมุ่งเน้นที่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย บริษัทสามารถแบ่งลักษณะการประกอบธุรกิจหลักของบริษัทได้เป็น 3 ลักษณะ อันประกอบด้วย การให้บริการจัดหาผลิตภัณฑ์ต่างๆ แบบครบวงจร (Trading and Warehousing) หรือที่เรียกกันว่า ซื้อมาขายไป ได้แก่ เหล็กม้วนรีดร้อน, เหล็กม้วนสลิต, เหล็กแผ่น, เหล็กรูปพรรณประเภทขึ้นรูปร้อน และเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น รวมถึงการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก (Steel Processing) โดยบริษัทนำเหล็กม้วนรีดร้อนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กประเภทต่างๆ ได้แก่ เหล็กแถบม้วน (Slitting Coil), เหล็กท่อ (Steel Pipe) และเหล็กโครงสร้างรูปตัวซี (C-Channel) เป็นต้น
อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีศูนย์บริการเหล็ก (Coil Center) โดยให้บริการรับจ้างแปรรูปสินค้า อาทิ บริการตัดเหล็กแผ่น, ซอยหน้าเหล็กม้วนแถบเล็ก หรือบริการตัด-พับขึ้นรูป ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ การบริการจะเป็นเช่นเดียวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก (Steel Processing) ต่างกันที่ลูกค้าจะเป็นผู้นําวัตถุดิบมาให้บริษัททำการแปรรูปตามที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อาทิ การบริการบรรจุภัณฑ์พิเศษ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล็ก
นายบุญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มองภาพรวมของอุตสาหกรรมเหล็กปีนี้ไม่น่าหวือหวามากนัก โดยทิศทางเป็นลักษณะทรงตัว โดยตลาดยังคงจับตามองถึงการเลือกตั้งภายในประเทศ เพราะหากมีการเลือกตั้ง จะเป็นช่วยสร้างความมั่นใจให้กับภาคการลงทุน และเป็นแรงขับเคลื่อนงานโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ความต้องการใช้เหล็ก เพื่อใช้ในงานก่อสร้างในประเทศเพิ่มขึ้น
สำหรับความคืบหน้าของการนำ บริษัท ไพร์ม สตีล มิลล์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยเบื้องต้น ยังคงเดินหน้าตามแผน ซึ่งคาดว่าจะชัดเจนภายในปลายปี 2561