ผู้ถือหุ้นรายย่อย IFEC เตรียมยื่นหนังสือร้องนายกฯ สัปดาห์หน้า ลั่นไม่ไว้ใจให้ “หมอวิชัย” นั่งบริหารงานในไอเฟค หลังเลื่อนส่งงบฯ มาแล้ว 2 รอบ ไร้ทางออกแก้ปัญหาหนี้-ปลด SP อัดยับไม่มีธรรมาภิบาล แอบขายโรงไฟฟ้า-จำนำหุ้น ICAP เจ้าหนี้โผล่ถึงรู้ มึนได้เงินจากการแปลง IFEC-W1 กว่า 37 ล้านบาท เอาไปไหน ทำไมไม่เคลียร์หนี้ พร้อมวิงวอน ก.ล.ต.-ตลท. เร่งแก้ปัญหาก่อนสายเกินแก้
ในวันนี้ (2 มิถุนายน 2560) นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อยบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทไอเฟค ภายใต้การนำของนายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการไอเฟค และขอให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการ หากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และข้อบังคับของบริษัทฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะในช่วงที่ผ่านมา ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จากการเข้าลงทุนซื้อหุ้นไอเฟค ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการบริหารจัดการบริษัทฯ โดยคณะกรรมการที่ไม่โปร่งใส ไร้ธรรมาภิบาล ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ และไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง
โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2560 คณะกรรมการไอเฟค ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ไม่สามารถปิดงบการเงินได้ทันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ตามกำหนด ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 จากที่ขอเลื่อนปิดงบฯ ปี 2559 ครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2560
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ไอเฟคได้เกิดปัญหาการลาออกของกรรมการบางส่วน และได้เริ่มผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้ลงทุนในตั๋วแลกเงินของบริษัทฯ จนทำให้ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อขายหุ้นมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560
นอกจากนี้ ยังพบว่า คณะกรรมการของบริษัทฯ ที่เหลืออยู่ไม่ครบองค์ประชุม ได้นำหุ้นบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC และเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 51% ในโรงแรมดาราเทวี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท ไปค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาแลกเงิน ที่มีจำนวนเพียง 100 ล้านบาท และปล่อยให้มีการผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนั้น คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ทำธุรกรรมการขอกู้ยืมเงินจาก บริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) จำนวน 50 ล้านบาท โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 6.25% พร้อมกับนำหุ้นที่ IFEC ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด (IFEC-T) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC ซึ่งทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลไปจำนำค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ผู้ซื้อต้องเป็นผู้วางเงินมัดจำให้กับไอเฟค ไม่ใช่ไอเฟค ต้องไปทำสัญญาเงินกู้กับผู้ซื้อ
อีกประเด็นที่น่าสงสัย คือ ไอเฟคมีเงินที่ได้จากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IFEC-W-1) ประมาณ 37 ล้านบาท เพราะเหตุใด จึงไม่สามารถคืนหนี้ดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ได้ เพราะจากการติดตามข่าวสารพบว่า สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้เพียง 10% เท่านั้น จึงอยากรู้ว่าคณะกรรมการบริหารภายใต้การนำของนายวิชัย ทำแบบนั้นได้อย่างไร เพราะล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อผู้ถือหุ้นทุกคน
“ทั้ง 2 เรื่อง ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่โผล่มาอ้างสิทธิ์ พวกเราในฐานะผู้ถือหุ้นก็ไม่มีทางรู้ ซึ่งเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการบริษัทฯ บริหารงานอย่างไร้ธรรมาภิบาล และเข้าข่ายผิดกฎหมาย ซึ่งในฐานะผู้ถือหุ้นอยากขอร้อง และวิงวอน หน่วยงานที่กำกับดูแล เข้ามามีบทบาทในการดูแล และตรวจสอบอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ผู้ถือหุ้น เพราะเราไม่รู้จะพึ่งที่ไหนแล้ว ที่ผ่านมา เข้าประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมาไม่รู้กี่รอบ ลงมติไม่ยอมรับคณะกรรมการที่นายวิชัย เสนอไม่รับรองมติการเลือกตั้งกรรมการแบบ Cumulative แต่เขาก็ยังทำได้ตามที่ต้องการ ตัดสินใจโดยอิสระไม่มีกรรมการตรวจสอบมารับรู้ หลีกเลี่ยงการตั้งกรรมการตรวจสอบมาหลายเดือนจนตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนว่า จะพิจารณาให้หุ้น IFEC ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 3 เดือนข้างหน้า ถ้าหากว่า นายวิชัยยังไม่ตั้งกรรมการตรวจสอบ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรต่อไป พวกเรารักษาสิทธิของตัวเองแล้ว
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. เข้ามาปกป้องอะไรรายย่อยบ้าง ท้ายที่สุดแล้ว ในสัปดาห์หน้า เราก็คงต้องไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ และยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อให้เข้ามามีบทบาทในการเร่งรัดให้หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้กินเวลามาเกือบครึ่งปี ยังไร้ทางออกของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในไอเฟค” ตัวแทนนักลงทุนรายย่อยระบุ
ในวันนี้ (2 มิถุนายน 2560) นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อยบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทไอเฟค ภายใต้การนำของนายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการไอเฟค และขอให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการ หากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และข้อบังคับของบริษัทฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะในช่วงที่ผ่านมา ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จากการเข้าลงทุนซื้อหุ้นไอเฟค ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการบริหารจัดการบริษัทฯ โดยคณะกรรมการที่ไม่โปร่งใส ไร้ธรรมาภิบาล ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ และไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง
โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2560 คณะกรรมการไอเฟค ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ไม่สามารถปิดงบการเงินได้ทันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ตามกำหนด ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 จากที่ขอเลื่อนปิดงบฯ ปี 2559 ครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2560
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ไอเฟคได้เกิดปัญหาการลาออกของกรรมการบางส่วน และได้เริ่มผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้ลงทุนในตั๋วแลกเงินของบริษัทฯ จนทำให้ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อขายหุ้นมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560
นอกจากนี้ ยังพบว่า คณะกรรมการของบริษัทฯ ที่เหลืออยู่ไม่ครบองค์ประชุม ได้นำหุ้นบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC และเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 51% ในโรงแรมดาราเทวี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท ไปค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาแลกเงิน ที่มีจำนวนเพียง 100 ล้านบาท และปล่อยให้มีการผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนั้น คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ทำธุรกรรมการขอกู้ยืมเงินจาก บริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) จำนวน 50 ล้านบาท โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 6.25% พร้อมกับนำหุ้นที่ IFEC ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด (IFEC-T) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC ซึ่งทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลไปจำนำค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ผู้ซื้อต้องเป็นผู้วางเงินมัดจำให้กับไอเฟค ไม่ใช่ไอเฟค ต้องไปทำสัญญาเงินกู้กับผู้ซื้อ
อีกประเด็นที่น่าสงสัย คือ ไอเฟคมีเงินที่ได้จากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IFEC-W-1) ประมาณ 37 ล้านบาท เพราะเหตุใด จึงไม่สามารถคืนหนี้ดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ได้ เพราะจากการติดตามข่าวสารพบว่า สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้เพียง 10% เท่านั้น จึงอยากรู้ว่าคณะกรรมการบริหารภายใต้การนำของนายวิชัย ทำแบบนั้นได้อย่างไร เพราะล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อผู้ถือหุ้นทุกคน
“ทั้ง 2 เรื่อง ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่โผล่มาอ้างสิทธิ์ พวกเราในฐานะผู้ถือหุ้นก็ไม่มีทางรู้ ซึ่งเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการบริษัทฯ บริหารงานอย่างไร้ธรรมาภิบาล และเข้าข่ายผิดกฎหมาย ซึ่งในฐานะผู้ถือหุ้นอยากขอร้อง และวิงวอน หน่วยงานที่กำกับดูแล เข้ามามีบทบาทในการดูแล และตรวจสอบอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ผู้ถือหุ้น เพราะเราไม่รู้จะพึ่งที่ไหนแล้ว ที่ผ่านมา เข้าประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมาไม่รู้กี่รอบ ลงมติไม่ยอมรับคณะกรรมการที่นายวิชัย เสนอไม่รับรองมติการเลือกตั้งกรรมการแบบ Cumulative แต่เขาก็ยังทำได้ตามที่ต้องการ ตัดสินใจโดยอิสระไม่มีกรรมการตรวจสอบมารับรู้ หลีกเลี่ยงการตั้งกรรมการตรวจสอบมาหลายเดือนจนตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนว่า จะพิจารณาให้หุ้น IFEC ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 3 เดือนข้างหน้า ถ้าหากว่า นายวิชัยยังไม่ตั้งกรรมการตรวจสอบ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรต่อไป พวกเรารักษาสิทธิของตัวเองแล้ว
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. เข้ามาปกป้องอะไรรายย่อยบ้าง ท้ายที่สุดแล้ว ในสัปดาห์หน้า เราก็คงต้องไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ และยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อให้เข้ามามีบทบาทในการเร่งรัดให้หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้กินเวลามาเกือบครึ่งปี ยังไร้ทางออกของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในไอเฟค” ตัวแทนนักลงทุนรายย่อยระบุ