โอเปก บรรลุข้อตกลงลดกำลังการผลิตส่งผลอย่างไรต่อทองคำ
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้จัดการประชุมอย่างเป็นทางการที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วานนี้ เพื่อกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันของสมาชิกทั้ง 14 ประเทศของโอเปก หลังจากในเดือน ก.ย.โอเปกได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการขึ้นที่ประเทศแอลจีเรีย เพื่อลดกำลังการผลิตโดยรวมสู่ระดับ 32.5-33.00 ล้านบาร์เรลต่อวัน
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายโมฮัมเหม็ด บิน ซาเลห์ อัล-ซาดา เลขาธิการโอเปก เป็นผู้ออกมาแถลงข่าวว่า โอเปกตกลงที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงตั้งแต่เดือน ม.ค.2017 โดยจะปรับลดลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือกว่า 3% สู่ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับปัจจุบันที่ 33.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามกรอบข้อตกลงในการประชุมที่กรุงอัลเจียร์ส ประเทศแอลจีเรีย ในเดือน ก.ย. โดยซาอุดีอาระเบีย จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงเกือบ 500,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 10.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้านอิรัก จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 200,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 4.351 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนอิหร่าน ได้รับอนุญาตให้ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นได้อีกเล็กน้อยจากระดับในเดือน ต.ค. ขณะที่รัสเซีย ตกลงที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ โอเปกจะประชุมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 9 ธ.ค.
หลังจากการเปิดเผยข่าวดังกล่าว ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นราว 10% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งขึ้น และดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสุงสุดในรอบ 13 ปีครึ่งที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,163.45 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ ออกมาคาดว่า การที่กลุ่มโอเปกมีมติปรับลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในการประชุมเมื่อวานนี้ อาจช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจทะยานขึ้นสู่ 56.50 ดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2017 ด้านรัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรีย คาดการณ์เช่นกันว่า ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 60 ดอลลาร์/บาร์เรล ภายในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในขณะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเพื่อรับข่าวการปรับลดกำลังการผลิตเท่านั้น ขณะที่ภาพรวมของราคาน้ำมันจะสดใสต่อเนื่องในระยะยาวหรือไม่เป็นสิ่งที่ตลาดต้องจับตาต่อ โดยอาจต้องจับตาว่าประเทศต่างๆ จะดำเนินการตามมาตรการปรับลดการผลิตน้ำมันหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอาจทำให้สหรัฐฯ และผู้ผลิตรายอื่นๆ เริ่มปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกดดันราคาน้ำมันได้ในอนาคตซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยรวมถึงทองคำ ในทางกลับกัน หากประเทศต่างๆ จะดำเนินการตามมาตรการปรับลดการผลิตน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจหนุนให้ราคาน้ำมันดิบมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสกุลเงินดอลลาร์ และเป็นปัจจัยกดดันทองคำ
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้จัดการประชุมอย่างเป็นทางการที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วานนี้ เพื่อกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันของสมาชิกทั้ง 14 ประเทศของโอเปก หลังจากในเดือน ก.ย.โอเปกได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการขึ้นที่ประเทศแอลจีเรีย เพื่อลดกำลังการผลิตโดยรวมสู่ระดับ 32.5-33.00 ล้านบาร์เรลต่อวัน
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายโมฮัมเหม็ด บิน ซาเลห์ อัล-ซาดา เลขาธิการโอเปก เป็นผู้ออกมาแถลงข่าวว่า โอเปกตกลงที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงตั้งแต่เดือน ม.ค.2017 โดยจะปรับลดลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือกว่า 3% สู่ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับปัจจุบันที่ 33.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามกรอบข้อตกลงในการประชุมที่กรุงอัลเจียร์ส ประเทศแอลจีเรีย ในเดือน ก.ย. โดยซาอุดีอาระเบีย จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงเกือบ 500,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 10.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้านอิรัก จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 200,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 4.351 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนอิหร่าน ได้รับอนุญาตให้ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นได้อีกเล็กน้อยจากระดับในเดือน ต.ค. ขณะที่รัสเซีย ตกลงที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ โอเปกจะประชุมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 9 ธ.ค.
หลังจากการเปิดเผยข่าวดังกล่าว ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นราว 10% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งขึ้น และดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสุงสุดในรอบ 13 ปีครึ่งที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,163.45 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ ออกมาคาดว่า การที่กลุ่มโอเปกมีมติปรับลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในการประชุมเมื่อวานนี้ อาจช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจทะยานขึ้นสู่ 56.50 ดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2017 ด้านรัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรีย คาดการณ์เช่นกันว่า ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 60 ดอลลาร์/บาร์เรล ภายในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในขณะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเพื่อรับข่าวการปรับลดกำลังการผลิตเท่านั้น ขณะที่ภาพรวมของราคาน้ำมันจะสดใสต่อเนื่องในระยะยาวหรือไม่เป็นสิ่งที่ตลาดต้องจับตาต่อ โดยอาจต้องจับตาว่าประเทศต่างๆ จะดำเนินการตามมาตรการปรับลดการผลิตน้ำมันหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอาจทำให้สหรัฐฯ และผู้ผลิตรายอื่นๆ เริ่มปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกดดันราคาน้ำมันได้ในอนาคตซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยรวมถึงทองคำ ในทางกลับกัน หากประเทศต่างๆ จะดำเนินการตามมาตรการปรับลดการผลิตน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจหนุนให้ราคาน้ำมันดิบมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสกุลเงินดอลลาร์ และเป็นปัจจัยกดดันทองคำ