นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า เอชเอสบีซี ได้ปรับการคาดการณ์จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในไตรมาสที่ 4 เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1.5 ในช่วงต่อไป หลังจาก ธปท.ยังคงเน้นย้ำว่าการรักษาพื้นที่นโยบายการเงินนั้น มีความจำเป็นท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ภาวะการเงินในปัจจุบันยังถือได้ว่าเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด แสดงให้เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้ดีพอสมควร ขณะที่มาตรการการคลังมีออกมาล่าสุด อาจจะช่วยลดความเสี่ยงด้านลบ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.5 ตามคาด ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 12 ติดต่อกัน ก่อนสิ้นปี 2559 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังเหลือการประชุมอีก 1 ครั้งในวันที่ 21 ธันวาคม คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมเช่นกัน
“ก่อนหน้านี้ได้ประเมินว่า กนง.มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% แต่ตอนนี้เราคิดว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า แรงกดดันของการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งเป็นปัจจัยที่ กนง. ระบุว่า กังวลในช่วงการประชุม กนง.สองครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดการเงินมีการคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ นอกจากนี้ ในช่วงหลังๆ มานี้ ธปท.ได้หันไปเน้นในเรื่องของเสถียรภาพเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนการปฏิรูปด้านอุปทานมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอุปสงค์”
อย่างไรก็ตาม เอชเอสบีซี ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะปรับการคาดการณ์การเติบโตที่ร้อยละ 2.8 สำหรับปีนี้ ทั้งนี้ เพราะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านบวกของการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังคงรักษาระดับสูงไว้ได้ และความเสี่ยงด้านลบอันเนื่องมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ และความไม่แน่นอนของนโยบายของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การตัดสินใจของเฟด ในเดือนธันวาคม และนโยบายในอนาคตของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นต่อการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อาจจะยังไม่มีความชัดเจนเมื่อ ธปท.ทำการปรับประมาณการในเดือนธันวาคม อนึ่ง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคาดเมื่อเร็วๆ นี้ แต่คาดว่าผลของฐานราคาพลังงานจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในปี 60 เพิ่มขึ้น และช่วยรักษาการคาดการณ์เงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพที่ระดับร้อยละ 2.0
พร้อมกันนั้น ทีมนักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Strategist) ของเอชเอสบีซี ได้ปรับประมาณการค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2559 และ 2560 อยู่ที่ 35.7 และ 36.5 จากเดิม 34.6 และ 33.8 ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.5 ตามคาด ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 12 ติดต่อกัน ก่อนสิ้นปี 2559 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังเหลือการประชุมอีก 1 ครั้งในวันที่ 21 ธันวาคม คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมเช่นกัน
“ก่อนหน้านี้ได้ประเมินว่า กนง.มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% แต่ตอนนี้เราคิดว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า แรงกดดันของการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งเป็นปัจจัยที่ กนง. ระบุว่า กังวลในช่วงการประชุม กนง.สองครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดการเงินมีการคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ นอกจากนี้ ในช่วงหลังๆ มานี้ ธปท.ได้หันไปเน้นในเรื่องของเสถียรภาพเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนการปฏิรูปด้านอุปทานมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอุปสงค์”
อย่างไรก็ตาม เอชเอสบีซี ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะปรับการคาดการณ์การเติบโตที่ร้อยละ 2.8 สำหรับปีนี้ ทั้งนี้ เพราะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านบวกของการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังคงรักษาระดับสูงไว้ได้ และความเสี่ยงด้านลบอันเนื่องมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ และความไม่แน่นอนของนโยบายของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การตัดสินใจของเฟด ในเดือนธันวาคม และนโยบายในอนาคตของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นต่อการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อาจจะยังไม่มีความชัดเจนเมื่อ ธปท.ทำการปรับประมาณการในเดือนธันวาคม อนึ่ง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคาดเมื่อเร็วๆ นี้ แต่คาดว่าผลของฐานราคาพลังงานจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในปี 60 เพิ่มขึ้น และช่วยรักษาการคาดการณ์เงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพที่ระดับร้อยละ 2.0
พร้อมกันนั้น ทีมนักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Strategist) ของเอชเอสบีซี ได้ปรับประมาณการค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2559 และ 2560 อยู่ที่ 35.7 และ 36.5 จากเดิม 34.6 และ 33.8 ตามลำดับ