ไทยคม คาดรายได้ปีนี้ใกล้เคียงปีก่อนที่ทำไว้ 1.3 หมื่นล้านบาท เหตุได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้ดาวเทียมไทยคมของซีทีเอช และจีเอ็มเอ็ม บี คาดอัตราการใช้จะเข้าสู่ปกติปี 60 เมื่อการใช้ช่องสัญญาณในดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่ม
นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) หรือ THCOM กล่าวว่า บริษัทคาดรายได้ปีนี้น่าจะทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อน 1.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ บมจ.ซีทีเอช (CTH) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี (GMM B) ได้ยกเลิกสัญญาการใช้บริการดาวเทียมไทยคม ซึ่งมีระยะสัญญา 10 ปี ทำให้ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้รวมลดลงไปราว 7% และส่งผลต่ออัตราการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม (utilization rate) ในภาพรวมลดลง 60-70% จากเดิมอยู่ที่ 75% แต่มองว่าอัตราการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมดังกล่าวจะกลับเข้าสู่ระดับเดิมได้ภายในไตรมาส 2/60 หลังการใช้ช่องสัญญาณในดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีการรับรู้รายได้จากดาวเทียมไทยคม 4, 5, 6, 7 และ 8 โดยดาวเทียมไทยคม 4 หรือ IPSTAR มีอัตราการใช้ช่องสัญญาณอยู่ที่ 57% และดาวเทียมไทยคม 5, 6, 7 มีอัตราการใช้ช่องสัญญาณอยู่ที่ 75% อีกทั้งดาวเทียมไทยคม 8 ที่มีการยิงขึ้นสู่วงโคจรไปแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ช่องสัญญาณราว 17% คาดจะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาได้ในช่วงไตรมาส 4/59 และน่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ในเดือน พ.ค.60 หรือมีอัตราการใช้ช่องสัญญาณที่ 30%
นอกจากนี้ ในธุรกิจ Broadcast หลังจากมีดาวเทียมไทยคม 8 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายแบนด์วิธได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะรองรับการรับชมในระบบ HD, Ultra HD (4K) ในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการในประเทศไทย ประกอบกับจะขยายการให้บริการดังกล่าวไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม โดยเฉพาะ Emerging markets เช่น เมียนมา ศรีลังกา บังคลาเทศ เป็นต้น เพื่อขยายฐานลูกค้ามากขึ้น จากเดิมที่ให้บริการในประเทศไทยเป็นหลักธุรกิจ Broadband ก็ยังคงเน้น Open Access Platform (OAP) ในการให้บริษัทอื่นๆ สามารถเข้าถึงแบนด์วิธของไทยคมได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของไทยคมลดลง เช่น ในเรื่องของวิจัยและพัฒนา (R&D) ขณะเดียวกัน ก็อยู่ระหว่างศึกษาการให้บริการด้านอื่น ทั้งบนอากาศ ทะเล และภาคพื้นดิน รวมถึงการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ดาวเทียม
นายวุฒิ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ภาครัฐได้มีการหารือเพื่อนำดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 กลับสู่ระบบสัมปทาน จากเดิมอยู่ในระบบใบอนุญาตนั้น ขณะนี้ก็ยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากทางภาครัฐ ซึ่งหากภาครัฐมีความชัดเจนว่าจะเข้าสู่ระบบสัมปทานจริง บริษัทฯ ก็จะมีการต่อสู้ เนื่องจากไม่มีความเป็นธรรม เพราะจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน THCOM มีการจ่ายค่าใบอนุญาตอยู่ที่ 5.25% และในระบบสัมปทานจะต้องมีภาระในการจ่ายที่ 22.5% แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนภาครัฐต่อไป
src="//www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FASTV-Stock-Market%2F690123364373151&width&height=290&colorscheme=light&show_faces=true&header=true&stream=false&show_border=true" scrolling="no" frameborder="0" style="border:none; overflow:hidden; height:290px;" allowTransparency="true">
นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) หรือ THCOM กล่าวว่า บริษัทคาดรายได้ปีนี้น่าจะทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อน 1.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ บมจ.ซีทีเอช (CTH) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี (GMM B) ได้ยกเลิกสัญญาการใช้บริการดาวเทียมไทยคม ซึ่งมีระยะสัญญา 10 ปี ทำให้ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้รวมลดลงไปราว 7% และส่งผลต่ออัตราการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม (utilization rate) ในภาพรวมลดลง 60-70% จากเดิมอยู่ที่ 75% แต่มองว่าอัตราการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมดังกล่าวจะกลับเข้าสู่ระดับเดิมได้ภายในไตรมาส 2/60 หลังการใช้ช่องสัญญาณในดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีการรับรู้รายได้จากดาวเทียมไทยคม 4, 5, 6, 7 และ 8 โดยดาวเทียมไทยคม 4 หรือ IPSTAR มีอัตราการใช้ช่องสัญญาณอยู่ที่ 57% และดาวเทียมไทยคม 5, 6, 7 มีอัตราการใช้ช่องสัญญาณอยู่ที่ 75% อีกทั้งดาวเทียมไทยคม 8 ที่มีการยิงขึ้นสู่วงโคจรไปแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ช่องสัญญาณราว 17% คาดจะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาได้ในช่วงไตรมาส 4/59 และน่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ในเดือน พ.ค.60 หรือมีอัตราการใช้ช่องสัญญาณที่ 30%
นอกจากนี้ ในธุรกิจ Broadcast หลังจากมีดาวเทียมไทยคม 8 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายแบนด์วิธได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะรองรับการรับชมในระบบ HD, Ultra HD (4K) ในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการในประเทศไทย ประกอบกับจะขยายการให้บริการดังกล่าวไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม โดยเฉพาะ Emerging markets เช่น เมียนมา ศรีลังกา บังคลาเทศ เป็นต้น เพื่อขยายฐานลูกค้ามากขึ้น จากเดิมที่ให้บริการในประเทศไทยเป็นหลักธุรกิจ Broadband ก็ยังคงเน้น Open Access Platform (OAP) ในการให้บริษัทอื่นๆ สามารถเข้าถึงแบนด์วิธของไทยคมได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของไทยคมลดลง เช่น ในเรื่องของวิจัยและพัฒนา (R&D) ขณะเดียวกัน ก็อยู่ระหว่างศึกษาการให้บริการด้านอื่น ทั้งบนอากาศ ทะเล และภาคพื้นดิน รวมถึงการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ดาวเทียม
นายวุฒิ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ภาครัฐได้มีการหารือเพื่อนำดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 กลับสู่ระบบสัมปทาน จากเดิมอยู่ในระบบใบอนุญาตนั้น ขณะนี้ก็ยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากทางภาครัฐ ซึ่งหากภาครัฐมีความชัดเจนว่าจะเข้าสู่ระบบสัมปทานจริง บริษัทฯ ก็จะมีการต่อสู้ เนื่องจากไม่มีความเป็นธรรม เพราะจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน THCOM มีการจ่ายค่าใบอนุญาตอยู่ที่ 5.25% และในระบบสัมปทานจะต้องมีภาระในการจ่ายที่ 22.5% แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนภาครัฐต่อไป
src="//www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FASTV-Stock-Market%2F690123364373151&width&height=290&colorscheme=light&show_faces=true&header=true&stream=false&show_border=true" scrolling="no" frameborder="0" style="border:none; overflow:hidden; height:290px;" allowTransparency="true">