xs
xsm
sm
md
lg

นลท.ให้น้ำหนักกรอบเวลาเลือกตั้ง ซีไอเอ็มบีฯ มองทิศทางบาทอ่อนค่าปลายปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


นักเศรษฐศาสตร์ ซีไอเอ็มบีฯ ชี้นักลงทุน และภาคธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญกับกรอบเวลาการจัดการเลือกตั้งเหนือผลประชามติ หวังกำหนดกรอบเวลาเลือกตั้งชัดเจนไม่ว่าผลประชามติเป็นอย่างไร มองค่าเงินบาทช่วงหลายปีนี้ยังมีโอกาสอ่อนค่าไปที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ประเมินทิศทางเศรษฐกิจหลังผลการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า ขณะนี้นักลงทุน รวมถึงภาคธุรกิจ มองข้ามช็อตไปถึงเหตุการณ์หลังการทำประชามติแล้วว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีหน้า หรือต้นปี 2561 หรือไม่ โดยหากการทำประชามติผ่าน ก็จัดช่วยฉุดความเชื่อมั่น ทั้งผู้บริโภค นักลงทุน และภาคธุรกิจให้ฟื้นขึ้นมา เพราะหมายความว่าทุกอย่างสามารถเดินหน้าได้ตามโรดแมปแบบชัดเจน นักลงทุนที่เคยรอตัดสินใจเข้ามาลงทุนก็จะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ขณะเดียวกัน หากผลการทำประชามติเป็นการไม่รับร่าง ก็ต้องขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะมีกลไกการดึงรัฐธรรมนูญชุดใดมาปรับใช้ เพื่อให้การเลือกตั้ง มีกรอบเวลาที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็คงไม่ได้ฟื้นตัวแบบก้าวกระโดด เพราะปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รายได้ภาคการเกษตรที่ยังตกต่ำ ผลพวงจากปัญหาภัยแล้ง ไปจนถึงปัญหาโครงสร้างสินค้าส่งออกที่แข่งขันไม่ได้

ดังนั้น สำนักวิจัยฯ จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้ง จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ 2.7% โดยจะรอปัจจัยด้านการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของสภาพัฒน์ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม/ผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และผลพวงจากปัญหา Brexit มาประกอบการตัดสินใจ โดยยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3% และการส่งออกอาจติดลบถึง 4 %

ด้านค่าเงินบาทมองว่า แนวโน้มหลายปีนี้ยังมีโอกาสอ่อนค่าไปที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะออกมาดีส่งผลให้สหรัฐฯ อาจจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้ ตามเงินทุนที่ไหลกลับสู่สหรัฐฯ แม้ช่วงนี้เงินบาทจะแข็งค่าก็ตาม ขณะที่คณะกรรมการนโยบายที่อยู่การเงินก็น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ตลอดทั้งปี เพื่อเอื้อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และยังไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
กำลังโหลดความคิดเห็น