xs
xsm
sm
md
lg

“เข้าใจรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

 นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
วตท.จัดเสวนา “เข้าใจร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก่อนไปลงประชามติ” ตีแผ่มาตราที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 หวังประชาชนเข้าใจครบทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ตกเป็นเครื่องมือนักการเมืองกลุ่มสูญเสียอำนาจ เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ

นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในการเสวนาวิชาการ หัวข้อ “เข้าใจร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก่อนไปลงประชามติ” ว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยส่วนหนึ่งที่ได้มีการปรับปรุง คือ การชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ซึ่งหากติดปัญหาของการชี้ขาดอำนาจหน้าที่ก็สามารถให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้เลย เพื่อไม่ให้เกิดทางตันเหมือนในอีดตที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาในอดีตที่สำคัญที่ผ่านมาของประเทศไทย ได้แก่ การทุจริต ทั้งในระบบราชการที่ทุจริตต่อหน้าที่ หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้ง รวมไปถึงการทุจริตด้านความประพฤติมิชอบ ซึ่งในเบื่องต้น ก็มีการแก้ไขการคัดกรองบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง ก็ได้มีการกำหนดคุณสมบัติไว้อย่างชัดเจน และจะมีการนำไปใช้กับสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. และคณะรัฐมนตรีด้วย อีกทั้งยังมีการเพิ่มความผิด หากมีการทุจริตบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอีกประการหนึ่ง คือ ระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาพหรือ ส.ว. ที่ประชาชนสามารถเป็นสมัครเข้ามาเป็น ส.ว.ได้ จากการคัดเลือกของประชาชนเอง อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดต่างๆ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการบริหารราชการแผนดินต่อไปในอนาคต

ขณะที่ นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าอย่างไรประเทศไทยก็จะต้องกลับเข้าสู่กระบวนการปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยอยู่ดี ซึ่งการที่จะกลับสู่การเป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตให้หมดไปก่อน จึงจำเป็นต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในหลากหลายสาขาวิชาชีพ และนำความคิดเห็นของประชาชนเหล่านั้นมาปรับปรุงให้เหมาะสมต่อยุคสมัย และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังจากบทเรียนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นสากล และเข้ากับบริบทของสังคมไทย ทั้งในเรื่องของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนถึงความจำเป้นใาการที่จะต้องปฏิรูปเพื่อหาข้อยุติที่จะนำไปสู่การปรองดอง

ทั้งนี้ สิ่งที่หลายฝ่ายได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นอยู่ไม่ใช่เนื้อหาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่หมายถึงความขัดแย้งที่แฝงไว้ในสถานการณ์ปัจจุบันจากกลุ่มขั้วอำนาจเก่าที่ต้องการกลับมากอบโกยผลประโยชน์ที่เคยได้ และเข้ามาทำลายหลักฐานความผิดที่ตนเองปกปิดไว้ในสมัยที่เรืองอำนาจ ขณะที่ในส่วนของขั้นตอนการลงประชามติ ซึ่งทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประกาศบังคับใช้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีมีสิทธิเสรีภาพ 100% เพราะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ประชาชนไทยมีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มเติมในส่วนของหมวดหมู่ใหม่ ได้แก่ หน้าที่ของรัฐ รัฐไม่มีดุลพินิจ สิ่งที่รัฐพึงกระทำ ถ้าหากรัฐเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบ บุคคล คณะบุคคล หรือชุมชน สามารถยื่นฟ้องรัฐต่อกรณีที่เกิดขึ้นได้ทันที

ขณะที่ในส่วนของการปฏิรูปต่างๆ ก็มีการระบุอำนาจขอบเขตหน้าที่การทำงานไว้อย่างชัดเจน กรณี เช่น การปฏิรูปตำรวจ ซึ่งถูกกำหนดว่าจะต้องมีคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วย ตำรวจครึ่งหนึ่ง และบุคคลภายนอกครึ่งหนึ่ง และเมื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการแล้วจะต้องให้เสร็จเรียบร้อยภายในระยะเวลา 1 ปี รวมถึงขั้นตอนในการสอบสวน หรือพิสูจน์หลักฐาน เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ที่มีสิทธิออกเสียงลงประชามติ ซึ่งจะมีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะต้องเป็นบุคคลที่มีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่มาลงประชามติ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และภายใน 1-2 ซึ่งภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้าจะมีหนังสือจาก กกต.ส่งไปตามทะเบียนบ้าน เพื่อเชิญชวนให้ไปออกเสียงประชามติ และขั้นตอนการลงประชามติที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดบัตรเสีย

ด้าน นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการกรรมการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ที่มาที่ไปของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการรวบรวมถึงปัญหา และนำมาวิเคราะห์ในแต่ละเรื่องของปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้ถูกต้อง และตรงประเด็นมากที่สุด โดยปัญหาหลักใหญ่ๆ คือ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกสร้างความแตกแยกกันเองในชาติทำให้ประเทศไม่เจริญ หรือย่ำอยู่กับที่ ความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม หรือการศึกษา ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศชาติ โดยหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเหล่านี้ จากการจัดอันดับของ The World Economic Forum (WEF) ปี 2557-2558 ซึ่งปัญหาที่สำคัญมากที่สุดของประเทศไทย อันดับ 1 พบว่า การทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ความโปร่งใสของการจัดทำนโยบายสาธารณะ โดยก็มีการศึกษาหากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นจะมีวิธีการป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาอย่างไร รองลงมา คือ การไม่เชื่อมั่น การไม่มั่นคงในสถาบันการเมือง รวมถึงระบบราชการด้วย ซึ่งบอกชัดเจนว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขใหม่ ทั้งในแง่ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และการมีวินัยทางการเมือง การคลัง

อย่างไรก็ดี ยังพบปัญหาการพัฒนาประเทศในภาพรวมอื่นอีกด้วย เช่น ไม่มียุทธศาสตร์ต่อเนื่องพอรัฐบาลเก่าหมดวาระไป รัฐบาลใหม่ไม่สานงานโครงการต่อ อีกทั้งรัฐบาลมีความอ่อนแอทั้งในด้านนโยบาย และทิศทางการบริหารประเทศ ไม่มีการวางแผนพัฒนาประเทศที่เป็นรูปธรรมในระยะยาว ทำให้เป้าหมายการพัฒนาประเทศขาดความชัดเจน การส่งเสริมค่านิยมที่เป็นวัตุนิยม หรือประชานิยมมากจนเกิดไปทำให้ประชาชนละเลยคุณค่าที่แท้จริง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากประเทศไทยใช้รูปแบบความเชื่อมากกว่าหลักการของเหตุและผลความถูกต้อง อีกทั้งสวนใหญ่ในปัจจุบันนี้คนไทยความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งถือว่าจะต้องได้รับการเยียวยาแก้ใขโดยด่วน

ด้าน นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรรมการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เน้นในส่วนในของเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากจะมีกฎหมายลูกที่แยกออกมาต่างหากมากมาย จะมีการกล่าวถึงเศรษฐกิจในหลายๆ เรื่อง และจะมีบทบัญญัติบางเรื่องที่อาจจะมีผลกระทบต่อการระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือประชาชนโดยทั่วไป แต่จุดเด่นคือ มีความแตกต่างไปจากฉบับปี 2550 ในส่วนของหมวดบัญญัติตามมาตราต่างๆ แต่จะมีการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความสมเหตุสมผล และดำเนินเศรษฐกิจเหล่านี้โดยไม่ขาดความยั้งคิด

อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเอาเปรียบระหว่างผู้ประกอบการกับลูกจ้าง การพัฒนาประเทศซึ่งโยงไปถึงการที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และมีการพัฒนาไปอย่างไม่มีทิศทาง การใช้จ่ายงบประมาณแบบไม่มีการวางแผนที่ดีพอ การไม่กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการบางอย่าง ทำให้ฝ่ายรัฐ หรือคนบางคนใช้ระยะเวลามาเป็นตัวดึงเกมได้ โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ในร่างรัฐธรรมนูญบับนี้ก็มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ทั้งจากการรับฟังความคิดเห็นของหลายภาคส่วน ซึ่งเชื่อว่าด้วยรูปแบบ และเนื้อหาทิศทางน่าจะพาประเทศก้าวไปข้างหน้าด้วยอย่างดี
กำลังโหลดความคิดเห็น