xs
xsm
sm
md
lg

เอกชนหวังรัฐดันรถยนต์ไฟฟ้าไทยถึงฝั่ง แก้วิกฤติพลังงานผันผวน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้า
เอกชนหวังรัฐสนับสนุนหาทางออกวิกฤติพลังงานไทยอย่างยั่งยืน ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เผยความคืบหน้ารัฐเตรียมกำหนดนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าคาดเห็นความชัดเจนภายในปลายไตรมาส 4 ปีนี้ นำร่องรถเมล์ไฟฟ้าช่วงแรก 20 คัน ตั้งเป้า 200 คันภายในปี 2560 เล็งดึงต่างชาติร่วมพัฒนาและลงทุนผลิตในเชิงพาณิชย์ ปักธงเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน


การเสวนาร่วมกันระหว่างผู้ผลิตรถยนต์และหน่วยงานภาครัฐภายในงาน Automotive Summit 2016 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน โดยประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการเอกชนพยายามผลักดันให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้แก่การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่ง ล่าสุดมีความคืบหน้าว่าภาครัฐกำลังจัดทำนโยบายให้ชัดเจนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าหลายรูปแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าตามที่รัฐกำหนด โดยงบประมาณลงทุนอยู่ที่ 76 ล้านบาท อีกทั้งในปีนี้ยังมีการนำร่องรถเมล์ไฟฟ้า 20 คัน และภายในปีหน้า อีก 200 คัน ส่วนความคืบหน้าของภาคเอกชนในตอนนี้มีเพียง BMW ที่มีการเตรียมผลิต plug-in hybrid เพื่อจำหน่ายและส่งออกไปยังจีน และบริษัท FOMM ที่เริ่มเข้ามาเจรจาเพื่อลงทุนร่วมพัฒนาและลงทุนผลิตในเชิงพาณิชย์ และมีเป้าหมายที่จะให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่รายอื่นยังไม่มีแผนในการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย

อีไอซีมองว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะขึ้นอยู่กับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐเป็นหลัก

นโยบายของภาครัฐในตอนนี้อาจจะยังไม่เพียงพอ เช่น ในกรณีของจีนซึ่งมีตลาดรถยนต์ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีการใช้นโยบายต่างๆ เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า การบังคับมาตรฐานด้านมลภาวะซึ่งเอื้อให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก หรือการจำกัดจำนวนการจดทะเบียนของรถยนต์ทั่วไปเพื่อสนับสนุนให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองสำคัญ ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปัจจุบันจำนวนของสถานีชาร์จไฟฟ้าในไทยยังไม่เพียงพอต่อความมั่นใจในการลงทุนของผู้ผลิต ประกอบกับตลาดรถยนต์ในไทยรวมถึงตลาดภูมิภาคอาเซียนมีขนาดเล็ก อีกทั้งหากพิจารณาจากราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับตลาดรถยนต์นั่งหรูของไทยในปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 3% หรือ 22,000 คันเท่านั้น จึงทำให้โอกาสเติบโตค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนการผลิตชิ้นส่วน ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้า และสุดท้ายแล้วการพัฒนาไทยให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นเรื่องที่ยากอยู่
รถเมล์ไฟฟ้าต้นแบบ
ในระยะยาวภาคเอกชนควรเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีเพื่อต้อนรับรถยนต์ไฟฟ้า

แม้ว่าในระยะสั้นอาจจะยังไม่มีการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า แต่แนวโน้มของผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับการการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยในอนาคตมีโอกาสที่ภาคเอกชนจะเข้าไปลงทุนในด้านของอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าหลายรูปแบบรวมถึงการสร้างสถานีประจุไฟฟ้า รวมถึงมีโอกาสในด้านการบริการที่เกี่ยวข้องกับ อาทิ การซ่อมบำรุงระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ไฟฟ้า การตั้งค่าระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า เช่น การบริการจัดการแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพ
กำลังโหลดความคิดเห็น