ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 67.15 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือเกือบ 7% โดยเฉพาะในวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา พุ่งขึ้นกว่า 49.40 ดอลลาร์ หรือ 4.13 % สู่ 1,246.51 ดอลลาร์ต่อออนซ์หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 1 ปีที่ 1,260.60 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.2015 และถือเป็นการพุ่งขึ้นในวันเดียวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 7 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2009
โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากปัจจัย ดังนี้
1.ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ที่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2. ความกังวลเกี่ยวกับการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินทั่วโลก
3.ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ตลาดหุ้นปรับตัวลงต่อเนื่องทั่วโลกจากความกังวลเรื่องภาวะไร้เสถียรภาพทางการเงิน และจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้นักลงทุนกังวลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของภาคธนาคารในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำยิ่งเพิ่มความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
4.กองทุน SPDR เพิ่มปริมาณการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปี SPDR เพิ่มการถือทองคำแล้วกว่า 68.58 ตัน สะท้อนอุปสงค์ทองคำได้เป็นอย่างดี
5.รายงานสภาทองคำโลก (WGC) ระบุว่า อุปสงค์ทองในช่วงไตรมาส 4/2015 ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองโดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ และจากคำสั่งซื้อทองของนักลงทุนชาวจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องตนเองจากการดิ่งลงของค่าเงินหยวน โดยกระแสนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป และจีนยังคงเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2015 ในขณะที่อินเดีย ครองอันดับ 2 โดยอุปสงค์ทองในจีน และอินเดียรวมกันครองสัดส่วนเกือบถึง 45% ของอุปสงค์ทองทั่วโลก
นอกจากนี้ WGC ยังคาดการณ์ในทางบวกต่อแนวโน้มอุปสงค์ทอง เนื่องจากตลาดหุ้นประสบภาวะปั่นป่วนวุ่นวาย และมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุนต้องการซื้อทองเพิ่มมากขึ้น ในอนาคตนั้น อุปสงค์ทองจริงจะยังคงได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อที่แข็งแกร่งของธนาคารกลาง และจากการที่ภาคครัวเรือนทั่วโลกเข้าซื้อเครื่องประดับทอง ทองแท่ง และเหรียญทองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอินเดีย และจีน เหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาทองคำให้ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับสินทรัพย์อื่นๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านางเยลเลน ยืนยันในทางอ้อมว่า FED อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. แต่ก็ยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หากว่าตัวเลขเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในระดับที่มากพอ ซึ่งประเด็นนี้ทำให้นักลงทุนยังไม่สามารถวางใจได้ ดังนั้น ยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขในตลาดแรงงาน และตัวเลขที่บ่งบอกอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ FED ให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินทั่วโลก และของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เช่น ตลาดน้ำมัน รวมทั้งสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีน เพื่อประเมินการดำเนินนโยบายของ FED ในระยะต่อไป จะสังเกตได้ว่าในระยะนี้ราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนค่อนข้างมากดังนั้น นักลงทุนทองคำควรจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล็ชิด พร้อมกับกำหนดจุดทำกำไร และจุดตัดขาดทุนเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากปัจจัย ดังนี้
1.ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ที่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2. ความกังวลเกี่ยวกับการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินทั่วโลก
3.ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ตลาดหุ้นปรับตัวลงต่อเนื่องทั่วโลกจากความกังวลเรื่องภาวะไร้เสถียรภาพทางการเงิน และจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้นักลงทุนกังวลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของภาคธนาคารในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำยิ่งเพิ่มความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
4.กองทุน SPDR เพิ่มปริมาณการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปี SPDR เพิ่มการถือทองคำแล้วกว่า 68.58 ตัน สะท้อนอุปสงค์ทองคำได้เป็นอย่างดี
5.รายงานสภาทองคำโลก (WGC) ระบุว่า อุปสงค์ทองในช่วงไตรมาส 4/2015 ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองโดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ และจากคำสั่งซื้อทองของนักลงทุนชาวจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องตนเองจากการดิ่งลงของค่าเงินหยวน โดยกระแสนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป และจีนยังคงเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2015 ในขณะที่อินเดีย ครองอันดับ 2 โดยอุปสงค์ทองในจีน และอินเดียรวมกันครองสัดส่วนเกือบถึง 45% ของอุปสงค์ทองทั่วโลก
นอกจากนี้ WGC ยังคาดการณ์ในทางบวกต่อแนวโน้มอุปสงค์ทอง เนื่องจากตลาดหุ้นประสบภาวะปั่นป่วนวุ่นวาย และมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุนต้องการซื้อทองเพิ่มมากขึ้น ในอนาคตนั้น อุปสงค์ทองจริงจะยังคงได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อที่แข็งแกร่งของธนาคารกลาง และจากการที่ภาคครัวเรือนทั่วโลกเข้าซื้อเครื่องประดับทอง ทองแท่ง และเหรียญทองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอินเดีย และจีน เหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาทองคำให้ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับสินทรัพย์อื่นๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านางเยลเลน ยืนยันในทางอ้อมว่า FED อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. แต่ก็ยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หากว่าตัวเลขเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในระดับที่มากพอ ซึ่งประเด็นนี้ทำให้นักลงทุนยังไม่สามารถวางใจได้ ดังนั้น ยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขในตลาดแรงงาน และตัวเลขที่บ่งบอกอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ FED ให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินทั่วโลก และของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เช่น ตลาดน้ำมัน รวมทั้งสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีน เพื่อประเมินการดำเนินนโยบายของ FED ในระยะต่อไป จะสังเกตได้ว่าในระยะนี้ราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนค่อนข้างมากดังนั้น นักลงทุนทองคำควรจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล็ชิด พร้อมกับกำหนดจุดทำกำไร และจุดตัดขาดทุนเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ