แม้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวโทษ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ในฐานะประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG และประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ NMG ประจำปี 2558 ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) กรณีไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นบางรายเข้าร่วมประชุม และห้ามผู้ถือหุ้นบางรายออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 58 ที่ผ่านมา
แต่ก็เป็นการกล่าวโทษต่อ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา การทำการฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มีโทษปรับไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือประโยชน์ที่ได้รับแต่ไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท เพียงผู้เดียว!..มิได้เป็นการกล่าวโทษกรรมการบริษัทที่ทำหน้าที่ในวันประชุมทั้งคณะ...ที่มิได้คัดค้านการตัดสินใจของ นายณิทธิมน...แต่ประการใด!
หากลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ซึ่งแม้แต่ “รพี สุจริตกุล” เลขาธิการ ก.ล.ต. ผู้คร่ำหวอดในตลาดทุนมาครบทั้ง 360 (องศา) ถึงกับออกปากว่า “การที่กรรมการบริษัทห้ามผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะดูเหมือนไม่สลับซับซ้อนมาก แต่ก็เกี่ยวข้องต่อกฎหมายหลายมาตรา และคาบเกี่ยวกับงานทั้งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ ก.ล.ต.” ดังนั้น ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ก.ล.ต.จึงได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาโดยตลอด รวมทั้งได้พิจารณาข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ อย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความรอบคอบจนนำไปสู่การ “กล่าวโทษ” นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ดังกล่าว
ข้อสงสัยที่ 1 นายสุทธิชัย หยุ่น ลาออกจากประธานกรรมการ รวมถึงประธานผู้ดำเนินการประชุม แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการทำหน้าที่บริหารบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ต่อไป โดยแต่งตั้ง นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รวมถึงประธานผู้ดำเนินการประชุมแทนในวันที่ 28 เม.ย.58 ก่อนการประชุมเพียง 1 วัน
ข้อสงสัยที่ 2 การที่นายสุทธิชัย หยุ่น ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการทำหน้าที่บริหาร NMG อยู่นั้น เป็นการเล่น “มันนี่ เกม” เพื่อต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาดังที่ปรากฏ คือ มีเพียงนายณิทธิมนเป็น “แพะ” รับความผิดทั้งหมดไปเพียงคนเดียว?
ข้อสงสัยที่ 3 แม้จะไม่มีการแต่งตั้งบุคลใหม่เข้าดำรงตำแหน่งทดแทนกรรมการบริษัท 3 ตำแหน่งที่ว่างลง ทำให้บอร์ดบริหารลดจำนวนลงเหลือ 6 ตำแหน่ง แต่ยังสามารถบริหารบริษัทได้ตามปกติ ตามข้อกฎหมายของบริษัทจดทะเบียน หมายความว่า ทั้ง 3 ท่านยังคงได้รับเงินเดือน และสิทธิพิเศษต่างๆ อยู่! ผิดกฎหมายหรือไม่?
ซึ่งหลังจากถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ได้ยื่นหนังสือลาออกฉบับลงวันที่ 21 ธ.ค.58 มายังบริษัท เพื่อขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ประธานกรรมการ และกรรมการตรวจสอบของบริษัท โดยการลาออกมีผลทันที และระหว่างจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่ ทาง NMG ให้นายเสริมสิน สมะลาภา รองประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนกรรมการชั่วคราว
ที่ไล่เรียงมาทั้งหมดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเจตนาของทาง NMG ว่า อยู่ระหว่าง...รอ?...บางอย่าง และหากพิจารณาเหตุผลที่ “ประธานที่ประชุม” ให้ไว้ในการประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 29 เม.ย. ระบุว่า ประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นตัดสิทธิลงคะแนนของกลุ่มถือหุ้นใหม่ ไม่ให้ร่วมประชุมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียหายขึ้นในภายหลัง เพราะ “หุ้นกลุ่มนี้” ยังเป็นปมประเด็นทางข้อกฎหมาย อยู่ระหว่างรอตรวจสอบจากหน่วยงานผู้คุมกฎของภาครัฐ หากถูกตัดสินว่ามีการกระทำความผิด จะเกิดผลเสียต่อผู้ถือหุ้นเดิม โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
กลุ่มที่ถูกตัดสิทธิลงคะแนนเป็นผู้ลงทุน 2 รายหลัก คือ SLC เจ้าของทีวีติจิตอลสปริงนิวส์ และบริษัท POLAR รวมทั้งผู้ลงทุนบุคคลอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการซื้อหุ้น NMG เพื่อครอบงำกิจการ โดยทีมผู้บริหาร NMG ระบุว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีความเชื่อมโยงกัน ด้วยมีมีพฤติกรรม Acting in Concert เข้าครอบงำกิจการอย่างผิดกฎหมาย
หันกลับมาฝั่ง NEWS ล่าสุด นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ระบุการ “กล่าวโทษ” นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา การทำการฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 เป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” ของการดำเนินมาตรการทางกฎหมายเท่านั้น เนื่องจาก NEWS ได้มอบอำนาจให้ นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ในฐานะทนายความไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนง ให้ดำเนินคดีต่อบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) และพวกรวม 10 คน ดังนี้ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายพนา จันทรวิโรจน์ นายเชวง จริยะพิสุทธิ์ นายปกรณ์ บริมาสพร น.ส.ดวงกมล โชตะนา นายเสริมสิน สมะลาภา นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ น.ส.เขมกร วชิรวราการ และนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา
โดยในคำฟ้องได้ขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลยตามคำขอ ดังนี้
หนึ่ง ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ร่วมกัน หรือแทนการชดใช้เงินจำนวน 42.5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่จำเลยที่ 1
สอง ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ออกจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1
สาม ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ยังไม่ออกจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ระงับการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่เป็นธุรกรรมปกติ เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การกู้ยืมเงิน การออกหุ้นกู้ การขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม และบริษัทย่อยของจำเลยที่ 1
สี่ ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ยังไม่ออกจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 งดไม่ให้มีการใช้สิทธิ และรับชำระเงินสำหรับการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของจำเลยที่ 1 ตามใบสำคัญแสดงสิทธิ (NMG-W3) ครั้งที่ 4 ซึ่งกำหนดการใช้สิทธิในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 และครั้งอื่นๆ (ถ้ามี) กับทั้งให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระงับการจดทะเบียนสำหรับหุ้นสามัญของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญฯ ครั้งที่ 4 ดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนครั้งที่ 1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
“ขณะนี้เราอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด และรวบรวมหลักฐานเพื่อใข้ในการสอบปากคำในชั้นศาล ซึ่งศาลนัดสืบพยานครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ 59 นี้ การที่ ก.ล.ต. ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็น “ความผิด” ถือเป็นหนึ่งในหลักฐานของเรา” นายอารักษ์ กล่าว
พร้อมกันนี้ ยังคงยืนยันตามเจตนารมณ์เดิมว่า ทางทีมผู้บริหาร NEWS ไม่ประสงค์ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมถึงทีมงานใน NMG แต่อย่างใดทาง NEWS ต้องการเข้ามาถือหุ้นใน NMG เพราะเป็นองค์กรที่มีศักยภาพด้านงานมัลติมีเดียอันดับต้นๆ อยู่แล้ว
ขณะที่ นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ในฐานะทนายความของ NEWS ระบุ การที่ ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ในฐานะประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) และประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ NMG ประจำปี 2558 ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) กรณีไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นบางรายเข้าร่วมประชุม และห้ามผู้ถือหุ้นบางรายออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 นั้น ทาง ปอศ. มีหน้าที่ “ขยายผล” สืบสวนสอบสวนว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีผู้ “ร่วม” กระทำความผิดหรือไม่ เพื่อขยายผลแจ้งข้อหาต่อผู้ร่วมกระทำความผิดต่อไป
“ตำรวจมีหน้าที่สืบสวนขยายผลการรกระทำความผิด เพราะในการประชุมไม่ได้มีเพียงประธานฯ เท่านั้น ต้องมีผู้อื่นร่วมประชุมด้วย ดังนั้น ใครที่ร่วมกระทำความผิดก็ต้องถูกเรียกมาสอบปากคำ และแจ้งความดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป เพราะ ก.ล.ต.ได้ระบุมาชัดเจนแล้วว่า เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 และก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันชัดเจนแล้วว่า การที่ประธาน และกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นเข้าประชุม และออกเสียงตามสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดฯ” นายสุวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้ ทาง NEWS ยังมีคดีที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดตรวจสอบพยานหลักฐาน กรณีที่ NEWS เข้ายื่นฟ้องบุคคล และนิติบุคคล 10 ราย ได้กล่าวหาว่า SLC เป็นตัวแทนหุ่นเชิดของกลุ่มชินวัตร หวังจะเข้าบริหารสื่อทีวีดิจิตอล และควบคุมสื่อไว้ในมือ เพื่อต้องการควบคุมทิศทางข่าว สังคม ให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการ พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย จำนวน 2,343,005,267.90 บาท นัดแรกวันที่ 25 มกราคม 59 อีกหนึ่งคดี
เมื่อด้านหนึ่งอ้างว่ากำลัง “ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท” ทั้งๆ ที่ตัดสินใจขายหุ้น 12% ให้ผู้บริหาร NEWS ส่งผลให้ทาง NEWS ในฐานะ “ผู้ถือหุ้นใหม่” ต้องพึ่งพาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องทุกฝ่ายพิจารณาว่าการจ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่งหุ้นจำนวนดังกล่าว “ผิด” หรือไม่!...อย่างไร?
แต่ก็เป็นการกล่าวโทษต่อ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา การทำการฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มีโทษปรับไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือประโยชน์ที่ได้รับแต่ไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท เพียงผู้เดียว!..มิได้เป็นการกล่าวโทษกรรมการบริษัทที่ทำหน้าที่ในวันประชุมทั้งคณะ...ที่มิได้คัดค้านการตัดสินใจของ นายณิทธิมน...แต่ประการใด!
หากลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ซึ่งแม้แต่ “รพี สุจริตกุล” เลขาธิการ ก.ล.ต. ผู้คร่ำหวอดในตลาดทุนมาครบทั้ง 360 (องศา) ถึงกับออกปากว่า “การที่กรรมการบริษัทห้ามผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะดูเหมือนไม่สลับซับซ้อนมาก แต่ก็เกี่ยวข้องต่อกฎหมายหลายมาตรา และคาบเกี่ยวกับงานทั้งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ ก.ล.ต.” ดังนั้น ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ก.ล.ต.จึงได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาโดยตลอด รวมทั้งได้พิจารณาข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ อย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความรอบคอบจนนำไปสู่การ “กล่าวโทษ” นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ดังกล่าว
ข้อสงสัยที่ 1 นายสุทธิชัย หยุ่น ลาออกจากประธานกรรมการ รวมถึงประธานผู้ดำเนินการประชุม แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการทำหน้าที่บริหารบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ต่อไป โดยแต่งตั้ง นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รวมถึงประธานผู้ดำเนินการประชุมแทนในวันที่ 28 เม.ย.58 ก่อนการประชุมเพียง 1 วัน
ข้อสงสัยที่ 2 การที่นายสุทธิชัย หยุ่น ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการทำหน้าที่บริหาร NMG อยู่นั้น เป็นการเล่น “มันนี่ เกม” เพื่อต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาดังที่ปรากฏ คือ มีเพียงนายณิทธิมนเป็น “แพะ” รับความผิดทั้งหมดไปเพียงคนเดียว?
ข้อสงสัยที่ 3 แม้จะไม่มีการแต่งตั้งบุคลใหม่เข้าดำรงตำแหน่งทดแทนกรรมการบริษัท 3 ตำแหน่งที่ว่างลง ทำให้บอร์ดบริหารลดจำนวนลงเหลือ 6 ตำแหน่ง แต่ยังสามารถบริหารบริษัทได้ตามปกติ ตามข้อกฎหมายของบริษัทจดทะเบียน หมายความว่า ทั้ง 3 ท่านยังคงได้รับเงินเดือน และสิทธิพิเศษต่างๆ อยู่! ผิดกฎหมายหรือไม่?
ซึ่งหลังจากถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ได้ยื่นหนังสือลาออกฉบับลงวันที่ 21 ธ.ค.58 มายังบริษัท เพื่อขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ประธานกรรมการ และกรรมการตรวจสอบของบริษัท โดยการลาออกมีผลทันที และระหว่างจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่ ทาง NMG ให้นายเสริมสิน สมะลาภา รองประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนกรรมการชั่วคราว
ที่ไล่เรียงมาทั้งหมดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเจตนาของทาง NMG ว่า อยู่ระหว่าง...รอ?...บางอย่าง และหากพิจารณาเหตุผลที่ “ประธานที่ประชุม” ให้ไว้ในการประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 29 เม.ย. ระบุว่า ประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นตัดสิทธิลงคะแนนของกลุ่มถือหุ้นใหม่ ไม่ให้ร่วมประชุมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียหายขึ้นในภายหลัง เพราะ “หุ้นกลุ่มนี้” ยังเป็นปมประเด็นทางข้อกฎหมาย อยู่ระหว่างรอตรวจสอบจากหน่วยงานผู้คุมกฎของภาครัฐ หากถูกตัดสินว่ามีการกระทำความผิด จะเกิดผลเสียต่อผู้ถือหุ้นเดิม โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
กลุ่มที่ถูกตัดสิทธิลงคะแนนเป็นผู้ลงทุน 2 รายหลัก คือ SLC เจ้าของทีวีติจิตอลสปริงนิวส์ และบริษัท POLAR รวมทั้งผู้ลงทุนบุคคลอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการซื้อหุ้น NMG เพื่อครอบงำกิจการ โดยทีมผู้บริหาร NMG ระบุว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีความเชื่อมโยงกัน ด้วยมีมีพฤติกรรม Acting in Concert เข้าครอบงำกิจการอย่างผิดกฎหมาย
หันกลับมาฝั่ง NEWS ล่าสุด นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ระบุการ “กล่าวโทษ” นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา การทำการฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 เป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” ของการดำเนินมาตรการทางกฎหมายเท่านั้น เนื่องจาก NEWS ได้มอบอำนาจให้ นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ในฐานะทนายความไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนง ให้ดำเนินคดีต่อบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) และพวกรวม 10 คน ดังนี้ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายพนา จันทรวิโรจน์ นายเชวง จริยะพิสุทธิ์ นายปกรณ์ บริมาสพร น.ส.ดวงกมล โชตะนา นายเสริมสิน สมะลาภา นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ น.ส.เขมกร วชิรวราการ และนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา
โดยในคำฟ้องได้ขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลยตามคำขอ ดังนี้
หนึ่ง ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ร่วมกัน หรือแทนการชดใช้เงินจำนวน 42.5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่จำเลยที่ 1
สอง ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ออกจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1
สาม ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ยังไม่ออกจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ระงับการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่เป็นธุรกรรมปกติ เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การกู้ยืมเงิน การออกหุ้นกู้ การขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม และบริษัทย่อยของจำเลยที่ 1
สี่ ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ยังไม่ออกจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 งดไม่ให้มีการใช้สิทธิ และรับชำระเงินสำหรับการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของจำเลยที่ 1 ตามใบสำคัญแสดงสิทธิ (NMG-W3) ครั้งที่ 4 ซึ่งกำหนดการใช้สิทธิในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 และครั้งอื่นๆ (ถ้ามี) กับทั้งให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระงับการจดทะเบียนสำหรับหุ้นสามัญของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญฯ ครั้งที่ 4 ดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนครั้งที่ 1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
“ขณะนี้เราอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด และรวบรวมหลักฐานเพื่อใข้ในการสอบปากคำในชั้นศาล ซึ่งศาลนัดสืบพยานครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ 59 นี้ การที่ ก.ล.ต. ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็น “ความผิด” ถือเป็นหนึ่งในหลักฐานของเรา” นายอารักษ์ กล่าว
พร้อมกันนี้ ยังคงยืนยันตามเจตนารมณ์เดิมว่า ทางทีมผู้บริหาร NEWS ไม่ประสงค์ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมถึงทีมงานใน NMG แต่อย่างใดทาง NEWS ต้องการเข้ามาถือหุ้นใน NMG เพราะเป็นองค์กรที่มีศักยภาพด้านงานมัลติมีเดียอันดับต้นๆ อยู่แล้ว
ขณะที่ นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ในฐานะทนายความของ NEWS ระบุ การที่ ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ในฐานะประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) และประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ NMG ประจำปี 2558 ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) กรณีไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นบางรายเข้าร่วมประชุม และห้ามผู้ถือหุ้นบางรายออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 นั้น ทาง ปอศ. มีหน้าที่ “ขยายผล” สืบสวนสอบสวนว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีผู้ “ร่วม” กระทำความผิดหรือไม่ เพื่อขยายผลแจ้งข้อหาต่อผู้ร่วมกระทำความผิดต่อไป
“ตำรวจมีหน้าที่สืบสวนขยายผลการรกระทำความผิด เพราะในการประชุมไม่ได้มีเพียงประธานฯ เท่านั้น ต้องมีผู้อื่นร่วมประชุมด้วย ดังนั้น ใครที่ร่วมกระทำความผิดก็ต้องถูกเรียกมาสอบปากคำ และแจ้งความดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป เพราะ ก.ล.ต.ได้ระบุมาชัดเจนแล้วว่า เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 และก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันชัดเจนแล้วว่า การที่ประธาน และกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นเข้าประชุม และออกเสียงตามสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 33 มาตรา 102 และมาตรา 105 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดฯ” นายสุวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้ ทาง NEWS ยังมีคดีที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดตรวจสอบพยานหลักฐาน กรณีที่ NEWS เข้ายื่นฟ้องบุคคล และนิติบุคคล 10 ราย ได้กล่าวหาว่า SLC เป็นตัวแทนหุ่นเชิดของกลุ่มชินวัตร หวังจะเข้าบริหารสื่อทีวีดิจิตอล และควบคุมสื่อไว้ในมือ เพื่อต้องการควบคุมทิศทางข่าว สังคม ให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการ พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย จำนวน 2,343,005,267.90 บาท นัดแรกวันที่ 25 มกราคม 59 อีกหนึ่งคดี
เมื่อด้านหนึ่งอ้างว่ากำลัง “ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท” ทั้งๆ ที่ตัดสินใจขายหุ้น 12% ให้ผู้บริหาร NEWS ส่งผลให้ทาง NEWS ในฐานะ “ผู้ถือหุ้นใหม่” ต้องพึ่งพาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องทุกฝ่ายพิจารณาว่าการจ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่งหุ้นจำนวนดังกล่าว “ผิด” หรือไม่!...อย่างไร?