“ใครล่า ล่ามาทำอะไร ผมไม่สนใจ เป็นเรื่องของโรดแมป จบ เลิกถามเรื่องนี้กับผม” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ตอบอย่างมีอารมณ์เมื่อถูกถามถึงกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช.เตรียมขอทำประชามติให้พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่ออีก 2 ปี เพื่อปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ตามข้อเรียกร้องของ กปปส.ก่อนหน้านี้
ผมคิดว่า เหตุผลที่พล.อ.ประยุทธ์ ไม่หลงเคลิ้มไปตามกองเชียร์ปฏิเสธประชามติเพื่อให้เป็นนายกฯ อีก 2 ปี โดยย้ำว่าจะยังยึดตามโรดแมป คงเพราะมีไทม์ไลน์อยู่ในหัวแล้ว ว่า แม้ไม่ทำประชามติก็จะเป็นนายกฯ ไปไม่น้อยกว่า 2 ปี
ยิ่งการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าสุด 7 ประเด็นก็แบไต๋ออกมาแล้วว่า จะทำประชามติได้ก็ราวต้นปีมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 59 หลังจากนั้นทำกฎหมายลูกอีกสัก 1 ปี กว่าจะเลือกตั้งใหม่ได้ก็กลางปี 60 นั่นแหละ รัฐบาลประยุทธ์จึงยังมีเวลาอีกกว่า 2 ปีแน่จะต้องดิ้นรนทำประชามติไปทำไม แถมยังเสี่ยงต่อข้อครหาเรื่องความชอบธรรม การเสพติดอำนาจและการผิดสัญญาด้วย ในขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดอยู่ตลอดเวลาว่าไม่อยากเป็น ไม่อยากมีอำนาจ แต่จำเป็นต้องเข้ามา
นี่ไม่ต้องพูดว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช.หรือไม่ผ่านประชามติแล้วต้องเริ่มต้นกันใหม่ ก็ยิ่งต่ออายุไปอีกยาว แถมเมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ไม่ว่า สปช.จะลงมติผ่านหรือไม่ผ่านรัฐธรรมนูญก็ให้ สปช.สิ้นสุดลงทันที ก็ยิ่งมีแนวโน้มว่า รัฐธรรมนูญมีโอกาสจะไม่ผ่าน สปช.ด้วยซ้ำไป จากเดิมที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะต้องยุบ สปช.
ที่สำคัญต้องตั้งคำถามเรื่องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งว่าคืออะไร ต้องทำอย่างไร ต้องทำแค่ไหนจึงจะเรียกว่าการปฏิรูป เช่น ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือการศึกษา แล้วต้องทำแค่ไหนจึงกลับไปสู่การเลือกตั้งได้ ถ้าเรายังเรียกร้องกันว่าต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
แล้วถึงตอนนี้ 1 ปีกว่าการยึดอำนาจและตั้งสภาปฏิรูปขึ้นมาเราได้ดำเนินการปฏิรูปอะไรไปแล้วแค่ไหนมีการปฏิรูปอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง วันก่อนได้ยินใครพูดแว่วๆ ว่าดำเนินการไปแล้ว 10% นี่ผ่านมา 1 ปี ถ้าอย่างนั้นเราจะปฏิรูปให้ได้ 100% ก็ต้องใช้เวลา 10 ปีใช่หรือไม่ ส่วนการปฏิรูปตำรวจที่เป็นข้อเรียกร้องหลักข้อหนึ่งของประชาชน วันนี้พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดชัดเจนแล้วว่าไม่ทำให้เป็นเรื่องของรัฐบาลหน้า
ส่วนการปฏิรูปการเมืองนั้น บอกตรงๆ ครับผมยังนึกไม่ออกเลยว่า การปฏิรูปการเมืองคืออะไร และต้องทำอย่างไร
การเมืองคืออะไร สำหรับผมแล้ว การเมืองคือ ข้อตกลง การกำหนดกติกา และการแบ่งปันหน้าที่กันในสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวไปสู่ระดับประเทศ โดยในระบอบประชาธิปไตยประชาชนจะมอบให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจที่เป็นธรรม กำหนดนโยบายที่เสมอภาค ดูแลประโยชน์ของส่วนรวม และร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคมให้เท่าเทียมกัน
ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองในทัศนะของผม ไม่ใช่การออกแบบกติกาการเข้าสู่อำนาจรัฐ ไม่ใช่การกำหนดว่าจะต้องมีกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างไร ไม่ใช่การร่างรัฐธรรมนูญว่าเราจะเลือกตั้งอย่างไรวิธีไหน แต่ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง และการเลือกตัวแทนที่ฉลาดมาปกครองตัวเอง ซึ่งต้องเติมเต็มด้วยการให้ความรู้กับประชาชนมากกว่าอย่างอื่น
การปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องพัฒนาจิตสำนึกต่อส่วนรวมของมนุษย์ทั้งประชาชนที่จะเลือกผู้แทนของตัวเอง และผู้แทนที่จะเสนอให้ประชาชนเลือก ไม่ใช่การกำหนดกติกาใหม่ให้ประชาชนเดินตามกรอบกติกานั้น หรือออกแบบกติกาการเลือกตั้งให้พิลึกพิลั่นเข้าไว้
อาจจะมีบางคนตั้งคำถามว่า การเมืองก็คือการเลือกเอาคนที่ดีที่สุดมีความรู้ความสามารถมาปกครองเราโดยวิธีการใดก็ได้ เหมือนพล.อ.ประยุทธ์เวลานี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นหลายคนจึงย้อนถามว่า หลายปีที่ผ่านมาที่เราเลือกนักการเมืองมาบริหารประเทศนั้น มีอะไรดีขึ้นบ้าง แก้ไขปัญหาของประเทศได้หรือไม่ ทำไมต้องรีบกลับไปเลือกตั้ง
บางคนบอกว่าถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้ง คนที่ไม่มีความรู้จะเลือกคนที่ไม่ดีเข้ามาบริหารบ้านเมืองอีก หรือบางคนก็เลือกเพราะผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งเกื้อกูลกันด้วยระบบอุปถัมภ์ หลังเลือกตั้งประเทศก็กลับมาอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง บรรยากาศการเมืองตอนนี้ดีอยู่แล้วบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดี
พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาด้วยการทำรัฐประหารเพราะสังคมเดินมาถึงทางตันไม่มีทางออก หนทางเดียวที่จะทำให้ชาติเดินหน้าไปได้ก็คือ การยึดอำนาจแล้วสร้างกติกากันใหม่ แต่ก็ควรจะมีระยะเวลาที่ชัดเจนไม่น้อยไปจนทำอะไรไม่ได้ ไม่มากเกินไปจนลืมไปว่าอำนาจนี้เป็นของประชาชน ต้องมีเวลาอันควรที่จะคืนกลับไปให้ประชาชนตัดสินกันเอง ซึ่งผมคิดว่าระยะเวลาตามโรดแมปซึ่งเขียนไทม์ไลน์ไว้ข้างบนนั้นก็พอเหมาะพอควรอยู่แล้ว
จากวันนี้กว่าจะเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่ก็มีเวลาอีก 2 ปีกว่า ซึ่งน่าจะนานพอแล้วที่พล.อ.ประยุทธ์และคณะจะวางรากฐานบ้านเมืองแล้วคืนอำนาจให้ประชาชนมาเลือกผู้นำของตัวเองด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันหนึ่งคนหนึ่งเสียง ไม่ต้องกลัวหรอกครับว่า พรรคไหนจะชนะเลือกตั้ง เพราะถ้าพรรคไหนเข้ามาใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ประชาชนก็มีสิทธิออกมาชุมนุมขับไล่อีกตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
แต่ถ้ากลัวพรรคของทักษิณและระบอบทักษิณจะกลับมามีอำนาจอีก ผมพูดไว้หลายครั้งว่า สิ่งที่ต้องทำก็คือ การให้ความรู้กับประชาชน คำถามว่าถึงตอนนี้ได้ทำไปแค่ไหนแล้วอย่างไร แต่เท่าที่ผมมองเห็นก็คือยังไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างน้อยทำให้คนเข้าใจอย่างถูกต้องว่าทักษิณถูกศาลจำคุกเพราะอะไร แล้วทำไมต้องยึดทรัพย์ทักษิณ
บางคนอาจจะบอกว่าเบื่อแล้วไม่อยากออกมาชุมนุมอีกแล้ว แม้แต่การไล่รัฐบาลประชาธิปไตยก็ยังมีบาดเจ็บล้มตายมีการลอบทำร้ายด้วยอาวุธสงคราม ตราบใดที่ประชาชนยังมีความรู้ไม่เท่าเทียมกันไม่ควรจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งผมคิดว่า เรากำลังทำลายคุณค่าความเป็นคนของตัวเอง เพราะเท่ากับเราไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง แต่กลับไปมอบอำนาจให้กับคณะใดคณะหนึ่งตัดสินชะตากรรมของเราและประเทศชาติ
ตอนทหารเข้ามาเห็นด้วยครับว่าเป็นทางออกเดียวของบ้านเมือง แล้วพล.อ.ประยุทธ์บอกแล้วว่า ทำตามสัญญา ถึงตอนนี้นั่งดูไทม์ไลน์กว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่กว่าจะออกกฎหมายลูกก็ยังมีเวลาอีก 2 ปีกว่าครับ ถึงตอนนั้นประชาชนก็ควรจะยินดีที่ได้กลับมาใช้อำนาจของตัวเอง
ผมเชียร์พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อตามโรดแมปที่ประกาศไว้ครับ ส่วนใครอยากให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อไปเรื่อยๆ ไว้ล่ารายชื่อให้มาลงเลือกตั้งดีไหมครับ หรือกดดันให้ ส.ส.เสนอชื่อตามที่รัฐธรรมนูญเปิดทางไว้ดีไหม
ผมคิดว่า เหตุผลที่พล.อ.ประยุทธ์ ไม่หลงเคลิ้มไปตามกองเชียร์ปฏิเสธประชามติเพื่อให้เป็นนายกฯ อีก 2 ปี โดยย้ำว่าจะยังยึดตามโรดแมป คงเพราะมีไทม์ไลน์อยู่ในหัวแล้ว ว่า แม้ไม่ทำประชามติก็จะเป็นนายกฯ ไปไม่น้อยกว่า 2 ปี
ยิ่งการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าสุด 7 ประเด็นก็แบไต๋ออกมาแล้วว่า จะทำประชามติได้ก็ราวต้นปีมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 59 หลังจากนั้นทำกฎหมายลูกอีกสัก 1 ปี กว่าจะเลือกตั้งใหม่ได้ก็กลางปี 60 นั่นแหละ รัฐบาลประยุทธ์จึงยังมีเวลาอีกกว่า 2 ปีแน่จะต้องดิ้นรนทำประชามติไปทำไม แถมยังเสี่ยงต่อข้อครหาเรื่องความชอบธรรม การเสพติดอำนาจและการผิดสัญญาด้วย ในขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดอยู่ตลอดเวลาว่าไม่อยากเป็น ไม่อยากมีอำนาจ แต่จำเป็นต้องเข้ามา
นี่ไม่ต้องพูดว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช.หรือไม่ผ่านประชามติแล้วต้องเริ่มต้นกันใหม่ ก็ยิ่งต่ออายุไปอีกยาว แถมเมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ไม่ว่า สปช.จะลงมติผ่านหรือไม่ผ่านรัฐธรรมนูญก็ให้ สปช.สิ้นสุดลงทันที ก็ยิ่งมีแนวโน้มว่า รัฐธรรมนูญมีโอกาสจะไม่ผ่าน สปช.ด้วยซ้ำไป จากเดิมที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะต้องยุบ สปช.
ที่สำคัญต้องตั้งคำถามเรื่องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งว่าคืออะไร ต้องทำอย่างไร ต้องทำแค่ไหนจึงจะเรียกว่าการปฏิรูป เช่น ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือการศึกษา แล้วต้องทำแค่ไหนจึงกลับไปสู่การเลือกตั้งได้ ถ้าเรายังเรียกร้องกันว่าต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
แล้วถึงตอนนี้ 1 ปีกว่าการยึดอำนาจและตั้งสภาปฏิรูปขึ้นมาเราได้ดำเนินการปฏิรูปอะไรไปแล้วแค่ไหนมีการปฏิรูปอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง วันก่อนได้ยินใครพูดแว่วๆ ว่าดำเนินการไปแล้ว 10% นี่ผ่านมา 1 ปี ถ้าอย่างนั้นเราจะปฏิรูปให้ได้ 100% ก็ต้องใช้เวลา 10 ปีใช่หรือไม่ ส่วนการปฏิรูปตำรวจที่เป็นข้อเรียกร้องหลักข้อหนึ่งของประชาชน วันนี้พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดชัดเจนแล้วว่าไม่ทำให้เป็นเรื่องของรัฐบาลหน้า
ส่วนการปฏิรูปการเมืองนั้น บอกตรงๆ ครับผมยังนึกไม่ออกเลยว่า การปฏิรูปการเมืองคืออะไร และต้องทำอย่างไร
การเมืองคืออะไร สำหรับผมแล้ว การเมืองคือ ข้อตกลง การกำหนดกติกา และการแบ่งปันหน้าที่กันในสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวไปสู่ระดับประเทศ โดยในระบอบประชาธิปไตยประชาชนจะมอบให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจที่เป็นธรรม กำหนดนโยบายที่เสมอภาค ดูแลประโยชน์ของส่วนรวม และร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคมให้เท่าเทียมกัน
ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองในทัศนะของผม ไม่ใช่การออกแบบกติกาการเข้าสู่อำนาจรัฐ ไม่ใช่การกำหนดว่าจะต้องมีกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างไร ไม่ใช่การร่างรัฐธรรมนูญว่าเราจะเลือกตั้งอย่างไรวิธีไหน แต่ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง และการเลือกตัวแทนที่ฉลาดมาปกครองตัวเอง ซึ่งต้องเติมเต็มด้วยการให้ความรู้กับประชาชนมากกว่าอย่างอื่น
การปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องพัฒนาจิตสำนึกต่อส่วนรวมของมนุษย์ทั้งประชาชนที่จะเลือกผู้แทนของตัวเอง และผู้แทนที่จะเสนอให้ประชาชนเลือก ไม่ใช่การกำหนดกติกาใหม่ให้ประชาชนเดินตามกรอบกติกานั้น หรือออกแบบกติกาการเลือกตั้งให้พิลึกพิลั่นเข้าไว้
อาจจะมีบางคนตั้งคำถามว่า การเมืองก็คือการเลือกเอาคนที่ดีที่สุดมีความรู้ความสามารถมาปกครองเราโดยวิธีการใดก็ได้ เหมือนพล.อ.ประยุทธ์เวลานี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นหลายคนจึงย้อนถามว่า หลายปีที่ผ่านมาที่เราเลือกนักการเมืองมาบริหารประเทศนั้น มีอะไรดีขึ้นบ้าง แก้ไขปัญหาของประเทศได้หรือไม่ ทำไมต้องรีบกลับไปเลือกตั้ง
บางคนบอกว่าถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้ง คนที่ไม่มีความรู้จะเลือกคนที่ไม่ดีเข้ามาบริหารบ้านเมืองอีก หรือบางคนก็เลือกเพราะผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งเกื้อกูลกันด้วยระบบอุปถัมภ์ หลังเลือกตั้งประเทศก็กลับมาอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง บรรยากาศการเมืองตอนนี้ดีอยู่แล้วบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดี
พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาด้วยการทำรัฐประหารเพราะสังคมเดินมาถึงทางตันไม่มีทางออก หนทางเดียวที่จะทำให้ชาติเดินหน้าไปได้ก็คือ การยึดอำนาจแล้วสร้างกติกากันใหม่ แต่ก็ควรจะมีระยะเวลาที่ชัดเจนไม่น้อยไปจนทำอะไรไม่ได้ ไม่มากเกินไปจนลืมไปว่าอำนาจนี้เป็นของประชาชน ต้องมีเวลาอันควรที่จะคืนกลับไปให้ประชาชนตัดสินกันเอง ซึ่งผมคิดว่าระยะเวลาตามโรดแมปซึ่งเขียนไทม์ไลน์ไว้ข้างบนนั้นก็พอเหมาะพอควรอยู่แล้ว
จากวันนี้กว่าจะเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่ก็มีเวลาอีก 2 ปีกว่า ซึ่งน่าจะนานพอแล้วที่พล.อ.ประยุทธ์และคณะจะวางรากฐานบ้านเมืองแล้วคืนอำนาจให้ประชาชนมาเลือกผู้นำของตัวเองด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันหนึ่งคนหนึ่งเสียง ไม่ต้องกลัวหรอกครับว่า พรรคไหนจะชนะเลือกตั้ง เพราะถ้าพรรคไหนเข้ามาใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ประชาชนก็มีสิทธิออกมาชุมนุมขับไล่อีกตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
แต่ถ้ากลัวพรรคของทักษิณและระบอบทักษิณจะกลับมามีอำนาจอีก ผมพูดไว้หลายครั้งว่า สิ่งที่ต้องทำก็คือ การให้ความรู้กับประชาชน คำถามว่าถึงตอนนี้ได้ทำไปแค่ไหนแล้วอย่างไร แต่เท่าที่ผมมองเห็นก็คือยังไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างน้อยทำให้คนเข้าใจอย่างถูกต้องว่าทักษิณถูกศาลจำคุกเพราะอะไร แล้วทำไมต้องยึดทรัพย์ทักษิณ
บางคนอาจจะบอกว่าเบื่อแล้วไม่อยากออกมาชุมนุมอีกแล้ว แม้แต่การไล่รัฐบาลประชาธิปไตยก็ยังมีบาดเจ็บล้มตายมีการลอบทำร้ายด้วยอาวุธสงคราม ตราบใดที่ประชาชนยังมีความรู้ไม่เท่าเทียมกันไม่ควรจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งผมคิดว่า เรากำลังทำลายคุณค่าความเป็นคนของตัวเอง เพราะเท่ากับเราไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง แต่กลับไปมอบอำนาจให้กับคณะใดคณะหนึ่งตัดสินชะตากรรมของเราและประเทศชาติ
ตอนทหารเข้ามาเห็นด้วยครับว่าเป็นทางออกเดียวของบ้านเมือง แล้วพล.อ.ประยุทธ์บอกแล้วว่า ทำตามสัญญา ถึงตอนนี้นั่งดูไทม์ไลน์กว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่กว่าจะออกกฎหมายลูกก็ยังมีเวลาอีก 2 ปีกว่าครับ ถึงตอนนั้นประชาชนก็ควรจะยินดีที่ได้กลับมาใช้อำนาจของตัวเอง
ผมเชียร์พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อตามโรดแมปที่ประกาศไว้ครับ ส่วนใครอยากให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อไปเรื่อยๆ ไว้ล่ารายชื่อให้มาลงเลือกตั้งดีไหมครับ หรือกดดันให้ ส.ส.เสนอชื่อตามที่รัฐธรรมนูญเปิดทางไว้ดีไหม