ตามคาด! ผลประกอบการไทยพาณิชย์ไตรมาส 3 กำไร 9 พันล้าน ลดลง 32% หลังกันสำรองฯ เพิ่ม 1.1 หมื่นล้าน เอ็นพีแอลเพิ่มเป็น 3.02% จาก 2.11% ด้านทีเอ็มบีสดใสกำไรเพิ่ม 25% ขณะที่ธนชาตกำไรโต 11.74% พร้อมเร่งบริหารหนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) แจ้งผลประกอบการไตรมาสที่ 3/2558 จำนวน 9,018 ล้านบาท ลดลงประมาณ 32% จากไตรมาสที่ 3/2557 ซึ่งกำไรที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อรองรับผลกระทบจากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 2 ราย (บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI และบริษัทลูกในประเทศอังกฤษ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์ คือ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ประเทศอังกฤษ หรือ SSI UK ซึ่งถูกจัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพในไตรมาสที่ 3/2558 ทั้งนี้ ผลกำไรที่ลดลงในครั้งนี้ได้รับการทดแทนด้วยกำไรจำนวนมากจากการขายหุ้นสามัญในพอร์ตการลงทุนของธนาคาร
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงผลประกอบการในไตรมาสนี้ว่า ผลกำไรที่ลดลงในครั้งนี้เกิดจากการที่ธนาคารดำเนินการตั้งสำรองเต็มจำนวน เพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ของ SSI ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินการคาดหมายในขณะที่ SSI เข้าซื้อกิจการโรงถลุงเหล็กประเทศอังกฤษในปี 2554
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีสาเหตุหลักมาจากการปรับรายการดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้วของ SSI และ SSI-UK และจากรายได้ดอกเบี้ยจากสินเชื่อระหว่างธนาคาร และตลาดเงินที่ลดลง
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 75.3% ในไตรมาสนี้ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เหตุผลหลักเนื่องมาจากการรับรู้รายได้จากการขายหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงมาก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ โดยธนาคารได้ขายหุ้นสามัญจากพอร์ตการลงทุนของธนาคารออกไป และรับรู้เป็นกำไร จำนวน 7,700 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรจำนวนนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จะเพิ่มขึ้นโดยพอประมาณที่ 5.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตัดสินใจที่จะตั้งสำรองเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญเป็นจำนวน 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับกรณีของ SSI และ SSI-UK ไว้ทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนเพิ่มเติมจากเงินสำรองปกติ จำนวน 5 พันล้านบาท ที่ตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้ไตรมาสนี้ธนาคารมีจำนวนเงินสำรองเพิ่มเป็น 1.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 400% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3/2557 จำนวน 3,222 ล้านบาท
และผลจากการที่ SSI และ SSI-UK ได้รับการจัดเป็นหนี้ด้อยคุณภาพนั้น ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 3.02% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 จากเดิม 2.11% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 และ 2.22% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 พร้อมกันนี้ ระดับสำรองเพื่อการรองรับหนี้ด้อยคุณภาพโดยไม่รวมหลักทรัพย์ค้ำประกันลดลงจาก 140.4% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 และ 134.8% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มาเป็น 100.8% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558
TMB กำไร Q3 เพิ่ม 24% ขาย NPL ลดสำรองฯ
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2558 มีกำไรสุทธิ 2,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) จำนวน 4,272 ล้านบาท ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือนของปี 2558 ก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี PPOP อยู่ที่ 12,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จากการตั้งสำรองฯ ที่สูงขึ้นส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 6,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% จากปีที่ผ่านมา
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีเอ็มบี กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เงินฝากของธนาคารขยายตัวต่อเนื่อง 3% จากไตรมาสที่แล้ว หรือ 7% ในงวด 9 เดือน ส่วนสินเชื่อคุณภาพนั้นเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสที่แล้ว หรือ 7% ในงวด 9 เดือน ซึ่งมาจากทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SME และสินเชื่อบุคคล ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.94% ค่อนข้างทรงตัวเทียบกับ 2.96% ในไตรมาสที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือ 1% มาอยู่ที่ 5,783 ล้านบาท ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 2.5% จากการขยายตัวของค่าธรรมเนียมการขายแบงก์แอสชัวรันส์ ส่วนรายได้รวมของธนาคารทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ธนาคารขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จำนวน 858 ล้านบาท ทำให้ธนาคารโอนกลับสำรองฯ ส่วนเกิน จำนวน 285 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญของธนาคารมีจำนวน 820 ล้านบาท ลดลง 528 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1,348 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว และ NPL ณ ไตรมาส 3 มีจำนวน 19,794 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว 261 ล้านบาท ส่งผลให้NPL ลดลงจาก 3.09% มาเป็น 2.95% ในไตรมาสนี้ และมีสัดส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ที่ 146%
TBANK เผยหนี้เน่าลดเหลือ 3.42%
ด้านธนาคารธนชาต (TBANK) ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2558 ธนาคารและบริษัทย่อย (งบการเงินรวม) มีกำไรสุทธิ 2,713 ล้านบาท เติบโตขึ้น จำนวน 285 ล้านบาท หรือ 11.74% จากไตรมาส 3 ของปีก่อน จากการเติบโตของฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และการบริหารค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงบการเงินรวมของธนาคารมี NPL Ratio ลดลงจาก 4.53% มาอยู่ที่ 3.42% และ coverage ratio ปรับดีขึ้นจาก 82.32% มาอยู่ที่ 111.58% นอกจากนี้ เงินกองทุนของธนาคารแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK) กล่าวว่า ท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ด้วยการดำเนินกลยุทธ์ที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ธนาคาร โดยการบริหารต้นทุนเงินฝาก การเติบโตของฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากกลยุทธ์การขายผลิตภัณฑ์ และบริการที่เหมาะสมต่อภาวะตลาด พร้อมกับการควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน เป็นผลให้กำไรก่อนการตั้งสำรองเติบโตขึ้น 2.85% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเงินกองทุนของธนาคารเพิ่มขึ้นมาจาก 15.35% เป็น 17.63%
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) แจ้งผลประกอบการไตรมาสที่ 3/2558 จำนวน 9,018 ล้านบาท ลดลงประมาณ 32% จากไตรมาสที่ 3/2557 ซึ่งกำไรที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อรองรับผลกระทบจากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 2 ราย (บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI และบริษัทลูกในประเทศอังกฤษ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์ คือ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ประเทศอังกฤษ หรือ SSI UK ซึ่งถูกจัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพในไตรมาสที่ 3/2558 ทั้งนี้ ผลกำไรที่ลดลงในครั้งนี้ได้รับการทดแทนด้วยกำไรจำนวนมากจากการขายหุ้นสามัญในพอร์ตการลงทุนของธนาคาร
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงผลประกอบการในไตรมาสนี้ว่า ผลกำไรที่ลดลงในครั้งนี้เกิดจากการที่ธนาคารดำเนินการตั้งสำรองเต็มจำนวน เพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ของ SSI ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินการคาดหมายในขณะที่ SSI เข้าซื้อกิจการโรงถลุงเหล็กประเทศอังกฤษในปี 2554
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีสาเหตุหลักมาจากการปรับรายการดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้วของ SSI และ SSI-UK และจากรายได้ดอกเบี้ยจากสินเชื่อระหว่างธนาคาร และตลาดเงินที่ลดลง
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 75.3% ในไตรมาสนี้ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เหตุผลหลักเนื่องมาจากการรับรู้รายได้จากการขายหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงมาก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ โดยธนาคารได้ขายหุ้นสามัญจากพอร์ตการลงทุนของธนาคารออกไป และรับรู้เป็นกำไร จำนวน 7,700 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรจำนวนนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จะเพิ่มขึ้นโดยพอประมาณที่ 5.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตัดสินใจที่จะตั้งสำรองเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญเป็นจำนวน 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับกรณีของ SSI และ SSI-UK ไว้ทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนเพิ่มเติมจากเงินสำรองปกติ จำนวน 5 พันล้านบาท ที่ตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้ไตรมาสนี้ธนาคารมีจำนวนเงินสำรองเพิ่มเป็น 1.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 400% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3/2557 จำนวน 3,222 ล้านบาท
และผลจากการที่ SSI และ SSI-UK ได้รับการจัดเป็นหนี้ด้อยคุณภาพนั้น ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 3.02% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 จากเดิม 2.11% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 และ 2.22% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 พร้อมกันนี้ ระดับสำรองเพื่อการรองรับหนี้ด้อยคุณภาพโดยไม่รวมหลักทรัพย์ค้ำประกันลดลงจาก 140.4% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 และ 134.8% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มาเป็น 100.8% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558
TMB กำไร Q3 เพิ่ม 24% ขาย NPL ลดสำรองฯ
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2558 มีกำไรสุทธิ 2,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) จำนวน 4,272 ล้านบาท ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือนของปี 2558 ก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี PPOP อยู่ที่ 12,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จากการตั้งสำรองฯ ที่สูงขึ้นส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 6,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% จากปีที่ผ่านมา
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีเอ็มบี กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เงินฝากของธนาคารขยายตัวต่อเนื่อง 3% จากไตรมาสที่แล้ว หรือ 7% ในงวด 9 เดือน ส่วนสินเชื่อคุณภาพนั้นเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสที่แล้ว หรือ 7% ในงวด 9 เดือน ซึ่งมาจากทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SME และสินเชื่อบุคคล ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.94% ค่อนข้างทรงตัวเทียบกับ 2.96% ในไตรมาสที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือ 1% มาอยู่ที่ 5,783 ล้านบาท ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 2.5% จากการขยายตัวของค่าธรรมเนียมการขายแบงก์แอสชัวรันส์ ส่วนรายได้รวมของธนาคารทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ธนาคารขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จำนวน 858 ล้านบาท ทำให้ธนาคารโอนกลับสำรองฯ ส่วนเกิน จำนวน 285 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญของธนาคารมีจำนวน 820 ล้านบาท ลดลง 528 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1,348 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว และ NPL ณ ไตรมาส 3 มีจำนวน 19,794 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว 261 ล้านบาท ส่งผลให้NPL ลดลงจาก 3.09% มาเป็น 2.95% ในไตรมาสนี้ และมีสัดส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ที่ 146%
TBANK เผยหนี้เน่าลดเหลือ 3.42%
ด้านธนาคารธนชาต (TBANK) ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2558 ธนาคารและบริษัทย่อย (งบการเงินรวม) มีกำไรสุทธิ 2,713 ล้านบาท เติบโตขึ้น จำนวน 285 ล้านบาท หรือ 11.74% จากไตรมาส 3 ของปีก่อน จากการเติบโตของฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และการบริหารค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงบการเงินรวมของธนาคารมี NPL Ratio ลดลงจาก 4.53% มาอยู่ที่ 3.42% และ coverage ratio ปรับดีขึ้นจาก 82.32% มาอยู่ที่ 111.58% นอกจากนี้ เงินกองทุนของธนาคารแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK) กล่าวว่า ท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ด้วยการดำเนินกลยุทธ์ที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ธนาคาร โดยการบริหารต้นทุนเงินฝาก การเติบโตของฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากกลยุทธ์การขายผลิตภัณฑ์ และบริการที่เหมาะสมต่อภาวะตลาด พร้อมกับการควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน เป็นผลให้กำไรก่อนการตั้งสำรองเติบโตขึ้น 2.85% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเงินกองทุนของธนาคารเพิ่มขึ้นมาจาก 15.35% เป็น 17.63%