ผู้จัดการตลาดหุ้น mai เผยตลาดหุ้นโลกผันผวนกระทบตลาดหุ้น mai ร่วงลงกว่า 50 จุด เทียบกับปีก่อน แต่ภาพรวม Market Cap ยังสูงกว่าตลาดย่อยสิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมประสาน ก.ล.ต.บ่มเพาะบริษัทจดทะเบียน หาช่องระดมทุนเตรียมทำ IPO ในอนาคต
นายประพันธ์ เจริญประวัติ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ระบุ จากภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวนกระทบดัชนี mai INDEX ปรับลงเทียบจากปีก่อนหน้าประมาณ 50 จุด แต่หากพิจารณาตาม Market Cap ของตลาดขนาดเล็กแล้ว ตลาดหุ้น mai ไทยยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดหุ้นย่อยของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซีย อีกทั้งในส่วนของสภาพคล่องทางการเงินยังสูงกว่า โดยปัจจุบัน Market Cap ของตลาดหุ้น mai นั้นขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นย่อยของประเทศสิงคโปร์ มี Market Cap อยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท และตลาดหุ้นมาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 7 บริษัท
ขณะเดียวกัน ทางตลาดหุ้น mai ยังคงร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และบริษัทจดทะเบียน รวมถึงโครงการหุ้นใหม่ความภูมิใจของจังหวัดซึ่งทางตลาดหุ้น mai ได้ร่วมกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในต่างจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็ง และมีช่องทางในการระดมทุน ตลอดจนถึงเตรียมความพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนเพื่อให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
“ตลาดหุ้น mai ได้หารือกับทาง ก.ล.ต. ในการร่วมพัฒนาบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็ก และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ให้มีช่องทางในการระดมทุนในอนาคต โดยพยายามลดช่องว่าง และอุปสรรคที่มีอยู่ ตลอดจนถึงลดลักษณะงานที่ซ้ำซ้อนกันออกไป โดยจะเน้นหนักในการพัฒนาบริษัทจดทะเบียนใหม่ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น เพื่อให้สามารถต่อยอดธุรกิจและเติบโตไปไปยังต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ iPOP ที่จะเป็นการเรียนรู้ บ่มเพาะ และการอบรมบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็กให้มีความพร้อมในการเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีบริษัทเข้าร่วมโครงการ iPOP ครั้งที่ 4 แล้วจำนวน 56 บริษัท จากทั้งหมด 8 กลุ่มอุตสาหกรรม”
นายประพันธ์ ยืนยันว่า ยังคงมีบริษัทที่สนใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น mai เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมเบื้องต้นให้บริษัทเหล่านั้น เช่น เรื่องระบบบัญชี การควบคุมภายใน การจัดโครงสร้างบริษัท แนวทางการเข้าจดทะเบียน และการเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน นอกจากนี้ จะมีในส่วนของ IPO FOCUS ที่จะเน้นในรายละเอียดเชิงลึกมากขึ้น ได้แก่ การเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ ความเสี่ยง ระบบบัญชี และหลักสูตรการให้ความรู้สำหรับ CFO ของบริษัทจดทะเบียน เป็นต้น
นายประพันธ์ เจริญประวัติ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ระบุ จากภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวนกระทบดัชนี mai INDEX ปรับลงเทียบจากปีก่อนหน้าประมาณ 50 จุด แต่หากพิจารณาตาม Market Cap ของตลาดขนาดเล็กแล้ว ตลาดหุ้น mai ไทยยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดหุ้นย่อยของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซีย อีกทั้งในส่วนของสภาพคล่องทางการเงินยังสูงกว่า โดยปัจจุบัน Market Cap ของตลาดหุ้น mai นั้นขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นย่อยของประเทศสิงคโปร์ มี Market Cap อยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท และตลาดหุ้นมาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 7 บริษัท
ขณะเดียวกัน ทางตลาดหุ้น mai ยังคงร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และบริษัทจดทะเบียน รวมถึงโครงการหุ้นใหม่ความภูมิใจของจังหวัดซึ่งทางตลาดหุ้น mai ได้ร่วมกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในต่างจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็ง และมีช่องทางในการระดมทุน ตลอดจนถึงเตรียมความพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนเพื่อให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
“ตลาดหุ้น mai ได้หารือกับทาง ก.ล.ต. ในการร่วมพัฒนาบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็ก และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ให้มีช่องทางในการระดมทุนในอนาคต โดยพยายามลดช่องว่าง และอุปสรรคที่มีอยู่ ตลอดจนถึงลดลักษณะงานที่ซ้ำซ้อนกันออกไป โดยจะเน้นหนักในการพัฒนาบริษัทจดทะเบียนใหม่ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น เพื่อให้สามารถต่อยอดธุรกิจและเติบโตไปไปยังต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ iPOP ที่จะเป็นการเรียนรู้ บ่มเพาะ และการอบรมบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็กให้มีความพร้อมในการเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีบริษัทเข้าร่วมโครงการ iPOP ครั้งที่ 4 แล้วจำนวน 56 บริษัท จากทั้งหมด 8 กลุ่มอุตสาหกรรม”
นายประพันธ์ ยืนยันว่า ยังคงมีบริษัทที่สนใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น mai เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมเบื้องต้นให้บริษัทเหล่านั้น เช่น เรื่องระบบบัญชี การควบคุมภายใน การจัดโครงสร้างบริษัท แนวทางการเข้าจดทะเบียน และการเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน นอกจากนี้ จะมีในส่วนของ IPO FOCUS ที่จะเน้นในรายละเอียดเชิงลึกมากขึ้น ได้แก่ การเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ ความเสี่ยง ระบบบัญชี และหลักสูตรการให้ความรู้สำหรับ CFO ของบริษัทจดทะเบียน เป็นต้น