xs
xsm
sm
md
lg

อาปิโก้ฯ เล็งร่วมทุน บ. แถบอาเซียน หลังอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศซบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

อาปิโก้ ไฮเทค เล็งร่วมทุนพันธมิตรอาเซียน หลังอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศประเมินทิศทางยาก เน้นบุกตลาดอาเซียน เผยเบื้องต้นมาเลเซียน่าสน หวังเลี่ยงเงื่อนไขกำแพงภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่มาเลเซียกำหนดให้ต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นส่วนประกอบได้รับการยกเว้นเก็บภาษี 60-70% แจงอีก 5 ปีข้างหน้า ดันกำไรขั้นต้นให้แตะ 13%

นาย เย็บ ซู ชวน ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก้ ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH กล่าวถึงภาพแนวโน้มของตลาดรถยนต์โดยรวมในปีนี้จนถึงปี 59 ว่า เป็นเรื่องที่จะตอบเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก พร้อมมองว่าให้คอยติดตามสถานการณ์ต่อไป และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งพยายามมองปัญหาให้เป็นโอกาสนั้นอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

โดยมองโอกาสในอนาคตที่ AH จะมีการร่วมทุนเพิ่มกับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทที่อยู่ในมาเลเซีย และอินเดียอยู่ แต่ต้องพิจารณาจากยอดสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาก่อน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในมาเลเซียนั้น แม้ตลาดรถยนต์ในประเทศอาจจะไม่ใหญ่มากนัก คือ มีประมาณ 6-7 แสนคันต่อปี แต่ AH ก็พิจารณาถึงการร่วมทุนกับบริษัทในท้องถิ่นด้วยนั้นมาจากประเด็นเงื่อนไขการตั้งกำแพง เพื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในประเทศมาเลเซียเองที่ได้ตั้งข้อกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องใช้ชิ้นส่วนที่จากประเทศมาเลเซีย จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตที่รัฐบาลกำหนดอัตราจัดเก็บไว้ที่ 60-70%

“เพื่อลดต้นทุนแล้ว AH ก็ควรมีการร่วมทุนกับบริษัทในท้องถิ่นเพื่อการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ในด้วยเช่นกัน ส่วนที่อินโดนีเซีย ทางการอาจอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถซื้อหุ้นของกิจการคืนได้ ซึ่งอาจเป็นโอกาสของ AH ที่มองถึงการลงทุนในอนาคต เพราะการหาพันธมิตรในต่างประเทศ เพราะมองว่าไม่จำเป็นต้องให้ประเทศต่างๆ มาลงทุนในไทยเพื่อใช้ทรัพยากรของไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ประเทศไทยควรไปลงทุนในประเทศอื่นๆ เพื่อมองหาทรัพยากร และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากประเทศนั้นๆ เพื่อนำกลับมาใช้ในประเทศไทยด้วย”

นายเย็บ กล่าวว่า แนวโน้มในอนาคตมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมา อุตสาหกรรม Automotive ชะลอลงมาค่อนข้างนานแล้ว และบริษัทที่ไม่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงก็ไม่สามารถต้านทานกับปัญหาแบบนี้ และจำเป็นต้องปิดตัวลง และฐานผู้ผลิต (Supplier) ในประเทศไทยจะเริ่มแคบลง ซึ่งเขาคาดหมายว่าลูกค้าของ Supplier รายที่ปิดตัวลงก็จำเป็นที่จะต้องโอนการผลิตสินค้าของพวกตัวมาให้ AH บ้าง

ขณะที่ผลงานไตรมาส 2 ปีนี้ AH มีรายได้จากผลการดำเนินงานโดยรวม 3,574 ล้านบาท เติบโตลดลง 7.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ที่เคยอยู่ที่ 3,868 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการตกลงของยอดขายรถยนต์โดยรวมที่มาเลเซียและไทย มีกำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยปิดที่ 121 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบจากไตรมาส 2 ปี 57 ซึ่งอยู่ที่ 110 ล้านบาท และกำไรสุทธิจะมีทั้งสิ้น 40 ล้านบาท ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับยอดสุทธิในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เคยมีอยู่ 107 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี AH ที่ต้องการปรับปรุงกำไรขั้นต้นของบริษัทใหม่ทั้งในกำไรขั้นต้นในส่วนของ Dealer ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำเพียง 1.2% โดยแผนเพิ่มกำไรขั้นต้นต้องหันมาเน้นเรื่องการบริการหลังการขายให้มากขึ้น ขณะที่ด้านส่วนชิ้นส่วนของ Automotive ที่มีกำไรขั้นต้นในปัจจุบันอยู่ที่ 3.5- นั้นบริษัทฯ กำหนดเป้าหมายว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าต้องขยับขึ้นเป็น 13% ขณะที่อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ของ AH ในไตรมาส 2 ของปี 2558 ปรับตัวลดลงเหลือ 4.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เคยมี ROE อยู่ถึง 7.7% ขณะที่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) ลดลงเหลือ 2.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งเคยอยู่ที่ 3.2%


กำลังโหลดความคิดเห็น