หุ้นไทยสัปดาห์นี้มีโอกาสรีบาวนด์ต่อ จับตาการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของประเทศ และผลการกระชุมเฟดจะชี้ชัดทิศทางตลาด มองสถานการณ์ค่าเงินหยวนจีน แม้กดดันตลาดหุ้นไทยทรุด แต่เข้ามาใกล้ระดับน่ากลับเข้าไปลงทุน
รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แจ้งว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (14 ส.ค.) ปิดที่ระดับ 1,413.92 จุด เพิ่มขึ้น 9.77 จุด เปลี่ยนแปลง +0.70% มูลค่าการซื้อขาย 35,437.82 ล้านบาท โดยทำระดับสูงสุดของวันที่ 1,416.47 จุด และต่ำสุดที่ 1,399.39 จุด ขณะที่นักลงทุนสถาบันซื้อ 3,121.61 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ขายสุทธิ 594.99 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,028.32 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 498.31 ล้านบาท
นายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นคาดว่าจะเป็นการรีบาวนด์หลังจากที่ได้คลายความกังวลเรื่องนโยบายการเงินของจีน นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรี ทำให้โดยดัชนีฯ ได้รับแรงดันจากหุ้นในกลุ่มแบงก์ที่ขึ้นนำตลาดฯ ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบในกรอบแคบ
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้นักลงทุนต้องติดตามการรายงานผลการะประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในคืนวันที่ 19 ส.ค.นี้ ส่วนในประเทศก็ให้ติดตามการประกาศตัวเลข GDP งวดไตรมาส 2/58 ที่จะประกาศในวันจันทร์ (17 ส.ค.) ทำให้แนวโน้มการลงทุนเชื่อว่าตลาดฯ มีลุ้นรีบาวนด์ในกรอบจำกัดได้ก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวเลข GDP ไทยไตรมาส 2/58 ที่จะประกาศออกมาด้วย โดยหากหดตัวอาจทำให้ดัชนีฯ หลุดแนว 1,400 จุด แต่หาก inline กับที่ตลาดคาดก็คงไม่มีนัย อย่างไรก็ดี ตลาดฯ ยังมีแรงหนุนจากกระแสปรับ ครม.อาจทำให้ตลาดฯ ฟื้นได้ จึงมีแนวรับ 1,370-1,380 จุด ส่วนแนวต้าน 1,428 จุด
ด้าน น.ส.อริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มองว่า ในช่วงที่จีนปรับลดค่าเงินหยวนนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทย จากที่หลายฝ่ายกังวลว่าเงินจะไหลออก แต่ในความเป็นจริงเงินยังไหลเข้าอยู่ต่อเนื่อง เพราะตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยมากกว่าค่าเงิน และมุมมองของนักลงทุนไม่ได้เข้ามาเก็งกำไรว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตามหยวนแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งที่จะกระทบในครั้งนี้จริงๆ คือ ความผันผวนของค่าเงินมากกว่าที่จะเป็นตราสารหนี้ ขณะที่หุ้นไทยก็มีความอ่อนไหวเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่ นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ให้ความเห็นว่า ผลของตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจไทยจากกรณีของจีนนั้นยังเร็วเกินไปที่จะตอบว่ากระทบในด้านลบแต่เพียงอย่างเดียว เพราะไทยส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศ อีกมุมหนึ่งประเทศไทยยังเป็นผู้นำเข้าสินค้า และวัตถุดิบด้วย จึงควรรอนักวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเงินบาทกับหยวน รวมทั้งเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ด้าน นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองต่างว่า การที่จีนลดค่าเงินหยวนครั้งนี้ไม่ใช่การทำสงครามค่าเงิน เพราะลดไม่แรง และไม่เร็ว ประเทศคู่ค้า และประเทศคู่แข่งของจีนค่อยๆ ปรับตัวตามได้ทัน ประเมินว่าการดำเนินมาตรการครั้งนี้เป็นเพียงการช่วยเหลือด้านการส่งออกของจีนที่ติดลบ กลไกที่จะมากระตุ้นการส่งออกไม่มีอะไรอื่นที่ช่วยได้นอกจากการลดค่าเงิน เรื่องนี้จึงไม่ได้เหนือความคาดหมายของตลาด
เช่นเดียวกับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มองว่ามาตรการของธนาคารจีนถือว่าเป็นมาตรการที่ฉลาด เพราะในเดือน ก.ย.2016 มีโอกาสมากกว่า 80% ที่สกุลเงินหยวนของจีนจะถูกนำไปสู่การคำนวณ SDR หรือตระกร้าเงินทุนสำรองของ IMFดังนั้น การปรับค่าของค่าเงิน Yuan ครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมตัวของเงินหยวนเข้าเป็นสกุลหนึ่งในตระกร้าของ IMF
แต่ผลกระทบในช่วงสั้นค่าเงินหยวนมีโอกาสอ่อนค่าลงมากกว่าอัตราที่ประกาศไว้อย่างช้าๆ อาจนำไปสู่เงินทุนไหลออกในช่วงสั้น ซึ่งอาจจะถึง 6.5-6.6 Yuan/Dollar ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันนี้ ธนาคารจีนอนุญาตให้นักลงทุนชาวจีนที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านหยวน สามารถนำครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ให้ลงทุนต่างประเทศ) ปัจจุบันนี้เงินทุนไหลออกจากจีนจำนวนเกือบ 6 แสนล้านเหรียญใน 4 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่อีกสัก 1 ปีข้างหน้าค่าเงินหยวนคงแข็งค่าขึ้นมาใหม่จากการที่ประเทศต่างๆ มีเงินหยวนเป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือ สินค้าโภคภัณฑ์ในสายตาผู้ผลิตของจีนราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตชาวจีนอาจหันไปสู่การผลิตนอกประเทศ ทำให้สินค้านำเข้าสู่ประเทศจีนจะสูงขึ้น แต่ผู้ส่งออกไทยไปจีนได้ผลลบ เพราะค่าเงินของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จะอ่อนค่าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ส่งสินค้าออกไปประเทศจีนมากๆ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้
ดังนั้น คาดว่าธนาคารจีนจะมีมาตรการที่ตามออกมาคือ การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการลดอัตราส่วนเงินทุนสำรองที่กันไว้ที่ภาคธนาคาร (Required Reserve Ratio) อีกประมาณ 1% ในช่วงที่เหลือของปี 2015 ธนาคารกลางของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็น BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แต่ Fed คงไม่ใช่อย่างนั้น
“การลดค่าเงินหยวนให้มากกว่า 5-10% เป็นไปได้ยาก เพราะจีนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3% GDP มีทุนสำรอง 3.5 ล้านๆ เหรียญฯ หรือ 35% ของ GDP หรือ 25 เดือนของสินค้านำเข้า และมีหนี้ต่างประเทศตั้งแต่ 15% ของ GDP ดังนั้น จึงมองตลาดหุ้นไทย Maximum downside ที่ 1,350-1,380 เท่านั้น มองเป็นโอกาสในการซื้อ”
รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แจ้งว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (14 ส.ค.) ปิดที่ระดับ 1,413.92 จุด เพิ่มขึ้น 9.77 จุด เปลี่ยนแปลง +0.70% มูลค่าการซื้อขาย 35,437.82 ล้านบาท โดยทำระดับสูงสุดของวันที่ 1,416.47 จุด และต่ำสุดที่ 1,399.39 จุด ขณะที่นักลงทุนสถาบันซื้อ 3,121.61 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ขายสุทธิ 594.99 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,028.32 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 498.31 ล้านบาท
นายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นคาดว่าจะเป็นการรีบาวนด์หลังจากที่ได้คลายความกังวลเรื่องนโยบายการเงินของจีน นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรี ทำให้โดยดัชนีฯ ได้รับแรงดันจากหุ้นในกลุ่มแบงก์ที่ขึ้นนำตลาดฯ ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบในกรอบแคบ
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้นักลงทุนต้องติดตามการรายงานผลการะประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในคืนวันที่ 19 ส.ค.นี้ ส่วนในประเทศก็ให้ติดตามการประกาศตัวเลข GDP งวดไตรมาส 2/58 ที่จะประกาศในวันจันทร์ (17 ส.ค.) ทำให้แนวโน้มการลงทุนเชื่อว่าตลาดฯ มีลุ้นรีบาวนด์ในกรอบจำกัดได้ก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวเลข GDP ไทยไตรมาส 2/58 ที่จะประกาศออกมาด้วย โดยหากหดตัวอาจทำให้ดัชนีฯ หลุดแนว 1,400 จุด แต่หาก inline กับที่ตลาดคาดก็คงไม่มีนัย อย่างไรก็ดี ตลาดฯ ยังมีแรงหนุนจากกระแสปรับ ครม.อาจทำให้ตลาดฯ ฟื้นได้ จึงมีแนวรับ 1,370-1,380 จุด ส่วนแนวต้าน 1,428 จุด
ด้าน น.ส.อริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มองว่า ในช่วงที่จีนปรับลดค่าเงินหยวนนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทย จากที่หลายฝ่ายกังวลว่าเงินจะไหลออก แต่ในความเป็นจริงเงินยังไหลเข้าอยู่ต่อเนื่อง เพราะตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยมากกว่าค่าเงิน และมุมมองของนักลงทุนไม่ได้เข้ามาเก็งกำไรว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตามหยวนแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งที่จะกระทบในครั้งนี้จริงๆ คือ ความผันผวนของค่าเงินมากกว่าที่จะเป็นตราสารหนี้ ขณะที่หุ้นไทยก็มีความอ่อนไหวเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่ นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ให้ความเห็นว่า ผลของตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจไทยจากกรณีของจีนนั้นยังเร็วเกินไปที่จะตอบว่ากระทบในด้านลบแต่เพียงอย่างเดียว เพราะไทยส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศ อีกมุมหนึ่งประเทศไทยยังเป็นผู้นำเข้าสินค้า และวัตถุดิบด้วย จึงควรรอนักวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเงินบาทกับหยวน รวมทั้งเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ด้าน นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองต่างว่า การที่จีนลดค่าเงินหยวนครั้งนี้ไม่ใช่การทำสงครามค่าเงิน เพราะลดไม่แรง และไม่เร็ว ประเทศคู่ค้า และประเทศคู่แข่งของจีนค่อยๆ ปรับตัวตามได้ทัน ประเมินว่าการดำเนินมาตรการครั้งนี้เป็นเพียงการช่วยเหลือด้านการส่งออกของจีนที่ติดลบ กลไกที่จะมากระตุ้นการส่งออกไม่มีอะไรอื่นที่ช่วยได้นอกจากการลดค่าเงิน เรื่องนี้จึงไม่ได้เหนือความคาดหมายของตลาด
เช่นเดียวกับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มองว่ามาตรการของธนาคารจีนถือว่าเป็นมาตรการที่ฉลาด เพราะในเดือน ก.ย.2016 มีโอกาสมากกว่า 80% ที่สกุลเงินหยวนของจีนจะถูกนำไปสู่การคำนวณ SDR หรือตระกร้าเงินทุนสำรองของ IMFดังนั้น การปรับค่าของค่าเงิน Yuan ครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมตัวของเงินหยวนเข้าเป็นสกุลหนึ่งในตระกร้าของ IMF
แต่ผลกระทบในช่วงสั้นค่าเงินหยวนมีโอกาสอ่อนค่าลงมากกว่าอัตราที่ประกาศไว้อย่างช้าๆ อาจนำไปสู่เงินทุนไหลออกในช่วงสั้น ซึ่งอาจจะถึง 6.5-6.6 Yuan/Dollar ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันนี้ ธนาคารจีนอนุญาตให้นักลงทุนชาวจีนที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านหยวน สามารถนำครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ให้ลงทุนต่างประเทศ) ปัจจุบันนี้เงินทุนไหลออกจากจีนจำนวนเกือบ 6 แสนล้านเหรียญใน 4 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่อีกสัก 1 ปีข้างหน้าค่าเงินหยวนคงแข็งค่าขึ้นมาใหม่จากการที่ประเทศต่างๆ มีเงินหยวนเป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือ สินค้าโภคภัณฑ์ในสายตาผู้ผลิตของจีนราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตชาวจีนอาจหันไปสู่การผลิตนอกประเทศ ทำให้สินค้านำเข้าสู่ประเทศจีนจะสูงขึ้น แต่ผู้ส่งออกไทยไปจีนได้ผลลบ เพราะค่าเงินของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จะอ่อนค่าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ส่งสินค้าออกไปประเทศจีนมากๆ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้
ดังนั้น คาดว่าธนาคารจีนจะมีมาตรการที่ตามออกมาคือ การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการลดอัตราส่วนเงินทุนสำรองที่กันไว้ที่ภาคธนาคาร (Required Reserve Ratio) อีกประมาณ 1% ในช่วงที่เหลือของปี 2015 ธนาคารกลางของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็น BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แต่ Fed คงไม่ใช่อย่างนั้น
“การลดค่าเงินหยวนให้มากกว่า 5-10% เป็นไปได้ยาก เพราะจีนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3% GDP มีทุนสำรอง 3.5 ล้านๆ เหรียญฯ หรือ 35% ของ GDP หรือ 25 เดือนของสินค้านำเข้า และมีหนี้ต่างประเทศตั้งแต่ 15% ของ GDP ดังนั้น จึงมองตลาดหุ้นไทย Maximum downside ที่ 1,350-1,380 เท่านั้น มองเป็นโอกาสในการซื้อ”