สำนักงาน ก.ล.ต. ออกโรงแจงการโอนหุ้น “ชูวงษ์ แซ่ตั๊ง” เผยเป็นสิทธิของลูกค้า และทำกันปกติทั่วไป บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถห้ามไม่ให้โอนได้ แะลต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าการโอนเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นจริง ขณะที่การโอนหุ้นตามที่เป็นข่าวระหว่างการตรวจสอบ และรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องจากบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างรัดกุม และรอบคอบ คาดว่าอีก 3 เดือนเผยรายละเอียดได้
นางปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงกรณีการโอนหุ้นของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและติดตามของสื่อมวลชน และประชาชนในขณะนี้ว่า การโอนหุ้นเป็นสิทธิของลูกค้า และทำกันปกติทั่วไป บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถห้ามไม่ให้โอนได้ แต่บริษัทต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าการโอนเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นจริง
สำหรับกรณีโอนหุ้นที่เป็นข่าวนั้น ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องจากบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างรัดกุม และรอบคอบ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากโดยมีการประสานงาน และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของการสอบสวนต่อกองบังคับการปราบปราม คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะเปิดเผยได้
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. จะเป็นการตรวจสอบใน 2 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนำการลงทุน (เจ้าหน้าที่การตลาด) ซึ่งเน้นการประเมินว่า ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ สุจริตเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ รักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือไม่ ซึ่งรวมถึงการประเมินการจัดทำเอกสารหลักฐาน การปฏิบัติตามคำสั่งลูกค้า และเกณฑ์บริษัท และการต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าโดยทำรายการเบิก-ถอน-โอน-ย้าย แทน เป็นต้น
2.ระดับระบบงานของบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นการตรวจว่า (1) บริษัทได้ปฏิบัติตามกระบวนการสอบยันที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่ การตรวจสอบบัญชีเจ้าของหลักทรัพย์ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ลูกค้าเปิดบัญชี บริษัทต้องรู้จักตัวตน และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง รวมทั้งประเมินว่าเป็นบัญชีนอมินีหรือไม่ (2) บริษัทมีระบบงานการรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่รัดกุมเพียงพอหรือไม่ เช่น ในกรณีการโอนหุ้นไม่ว่าจะเป็นการโอนไปบัญชีของตนเองหรือคนอื่น บริษัทต้องมีการสอบยันว่าเป็นการแจ้งโดยความประสงค์ของลูกค้า เช่น มีระบบการอัดเทปเพื่อยืนยันตัวตน พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ back office ทำการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง และ (3) บริษัทมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เพียงพอหรือไม่ เช่น หากผู้แนะนำการลงทุนหรือครอบครัวมีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทเพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าไม่มีการเอาเปรียบลูกค้า และต้องยึดถือประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก โดยหากพบรายการที่น่าสงสัยหรือเข้าข่ายต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการฟอกเงิน (ปปง.) บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน
ก.ล.ต. มีการตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งเป็นระยะเช่นกัน โดยหากพบการกระทำผิดจะดำเนินการลงโทษ และหากผู้บริหารบริษัทรู้เห็นเป็นใจก็จะถูกลงโทษด้วย การดำเนินการแบ่งเป็น (1) การดำเนินการทางอาญาซึ่งมีโทษเป็นการเปรียบเทียบปรับต่อบริษัทและผู้บริหาร และ/หรือ (2) การดำเนินการลงโทษทางบริหาร เช่น กรณีผู้แนะนำการลงทุน โทษจะมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ สั่งพัก เพิกถอนความเห็นชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นรายกรณีไป
นางปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงกรณีการโอนหุ้นของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและติดตามของสื่อมวลชน และประชาชนในขณะนี้ว่า การโอนหุ้นเป็นสิทธิของลูกค้า และทำกันปกติทั่วไป บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถห้ามไม่ให้โอนได้ แต่บริษัทต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าการโอนเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นจริง
สำหรับกรณีโอนหุ้นที่เป็นข่าวนั้น ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องจากบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างรัดกุม และรอบคอบ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากโดยมีการประสานงาน และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของการสอบสวนต่อกองบังคับการปราบปราม คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะเปิดเผยได้
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. จะเป็นการตรวจสอบใน 2 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนำการลงทุน (เจ้าหน้าที่การตลาด) ซึ่งเน้นการประเมินว่า ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ สุจริตเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ รักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือไม่ ซึ่งรวมถึงการประเมินการจัดทำเอกสารหลักฐาน การปฏิบัติตามคำสั่งลูกค้า และเกณฑ์บริษัท และการต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าโดยทำรายการเบิก-ถอน-โอน-ย้าย แทน เป็นต้น
2.ระดับระบบงานของบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นการตรวจว่า (1) บริษัทได้ปฏิบัติตามกระบวนการสอบยันที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่ การตรวจสอบบัญชีเจ้าของหลักทรัพย์ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ลูกค้าเปิดบัญชี บริษัทต้องรู้จักตัวตน และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง รวมทั้งประเมินว่าเป็นบัญชีนอมินีหรือไม่ (2) บริษัทมีระบบงานการรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่รัดกุมเพียงพอหรือไม่ เช่น ในกรณีการโอนหุ้นไม่ว่าจะเป็นการโอนไปบัญชีของตนเองหรือคนอื่น บริษัทต้องมีการสอบยันว่าเป็นการแจ้งโดยความประสงค์ของลูกค้า เช่น มีระบบการอัดเทปเพื่อยืนยันตัวตน พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ back office ทำการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง และ (3) บริษัทมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เพียงพอหรือไม่ เช่น หากผู้แนะนำการลงทุนหรือครอบครัวมีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทเพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าไม่มีการเอาเปรียบลูกค้า และต้องยึดถือประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก โดยหากพบรายการที่น่าสงสัยหรือเข้าข่ายต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการฟอกเงิน (ปปง.) บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน
ก.ล.ต. มีการตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งเป็นระยะเช่นกัน โดยหากพบการกระทำผิดจะดำเนินการลงโทษ และหากผู้บริหารบริษัทรู้เห็นเป็นใจก็จะถูกลงโทษด้วย การดำเนินการแบ่งเป็น (1) การดำเนินการทางอาญาซึ่งมีโทษเป็นการเปรียบเทียบปรับต่อบริษัทและผู้บริหาร และ/หรือ (2) การดำเนินการลงโทษทางบริหาร เช่น กรณีผู้แนะนำการลงทุน โทษจะมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ สั่งพัก เพิกถอนความเห็นชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นรายกรณีไป