เซอร์คิท อีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ หยุดดำเนินธุรกิจเดิม และเลิกจ้างพนักงานตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 58 เป็นต้นไป เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัท และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และรักษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ หลังประสบผลขาดทุนมาตั้งแต่ปี 46 เดินหน้าขายทรัพย์สินนำเงินชำระเจ้าหนี้ตามแผน
นายเอกมินทร์ งานทวี กรรมการ บริษัท เซอร์คิท อีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ CIRKIT แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558 ว่า บอร์ดอนุมัติการหยุดการดำเนินธุรกิจเดิมของบริษัท และการพิจารณาโอกาสในการเข้าทำธุรกิจใหม่ เพราะบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน และการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงปี 2546
โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทจึงได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 และบริษัทได้ดำเนินการตามแผนฟื้้นฟูกิจการเป็นผลสำเร็จ และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในวันที่ 22 มิถุนายน 2558
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้บริษัทโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือ ที่ดินในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งบริษัทใช้เป็นฐานการผลิตในการประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท รวมถึงส่วนควบอื่นๆ เพื่อชำะหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินของบริษัทและจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้
อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะอยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แต่บริษัทยังมีความสามารถที่จะดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่บริษัทมาโดยตลอด แต่บริษัทพบว่า เกิดการชะลอตัว และการลดกำลังการผลิตของผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นลูกค้าหลักที่สำคัญของบริษัท ทำให้บริษัทไม่สามารถพัฒนายอดขาย หรือสร้างรายได้ในระดับที่สามารถสร้างเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจแบบยั่งยืนต่อไปได้ อีกทั้งธุรกิจผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตสูง หากบริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปก็มีแนวโน้มสูงว่า การดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลขาดทุนมากกว่ากำไร อันจะส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทต่อไปในอนาคต
ด้วยสาเหตุหลักข้างต้น ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท (ในฐานะผู้บริหารแผน) ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 จึงได้มีมติอนุมัติให้บริษัทหยุดการดำเนินธุรกิจผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเลิกจ้างพนักงานของบริษัททั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปี 58 เป็นต้นไป เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัท และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และให้พิจารณาโอกาสและศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ต่อไป
พร้อมกันนี้ บอร์ดยังขายเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี 35,200,529.06 บาท ให้แก่บริษัท อีเอ็นเอฟ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ประกอบกิจการค้าและผลิตเครื่องมือ เครื่องจักรอะลูมิเนียมประกอบระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุดในการประมูลทรัพย์สินดังกล่าว ในราคา 475,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 16,040,750 บาท
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขายทรัพย์สินหลายรายการภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน รถยนต์ ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้น 8,567,327 บาท และขายทรัพย์สินบางรายการตามมติที่บอร์ดเห็นชอบราคารวมทั้งสิ้น 3,181,356 บาท
นายเอกมินทร์ งานทวี กรรมการ บริษัท เซอร์คิท อีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ CIRKIT แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558 ว่า บอร์ดอนุมัติการหยุดการดำเนินธุรกิจเดิมของบริษัท และการพิจารณาโอกาสในการเข้าทำธุรกิจใหม่ เพราะบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน และการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงปี 2546
โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทจึงได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 และบริษัทได้ดำเนินการตามแผนฟื้้นฟูกิจการเป็นผลสำเร็จ และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในวันที่ 22 มิถุนายน 2558
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้บริษัทโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือ ที่ดินในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งบริษัทใช้เป็นฐานการผลิตในการประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท รวมถึงส่วนควบอื่นๆ เพื่อชำะหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินของบริษัทและจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้
อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะอยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แต่บริษัทยังมีความสามารถที่จะดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่บริษัทมาโดยตลอด แต่บริษัทพบว่า เกิดการชะลอตัว และการลดกำลังการผลิตของผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นลูกค้าหลักที่สำคัญของบริษัท ทำให้บริษัทไม่สามารถพัฒนายอดขาย หรือสร้างรายได้ในระดับที่สามารถสร้างเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจแบบยั่งยืนต่อไปได้ อีกทั้งธุรกิจผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตสูง หากบริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปก็มีแนวโน้มสูงว่า การดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลขาดทุนมากกว่ากำไร อันจะส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทต่อไปในอนาคต
ด้วยสาเหตุหลักข้างต้น ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท (ในฐานะผู้บริหารแผน) ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 จึงได้มีมติอนุมัติให้บริษัทหยุดการดำเนินธุรกิจผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเลิกจ้างพนักงานของบริษัททั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปี 58 เป็นต้นไป เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัท และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และให้พิจารณาโอกาสและศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ต่อไป
พร้อมกันนี้ บอร์ดยังขายเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี 35,200,529.06 บาท ให้แก่บริษัท อีเอ็นเอฟ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ประกอบกิจการค้าและผลิตเครื่องมือ เครื่องจักรอะลูมิเนียมประกอบระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุดในการประมูลทรัพย์สินดังกล่าว ในราคา 475,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 16,040,750 บาท
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขายทรัพย์สินหลายรายการภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน รถยนต์ ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้น 8,567,327 บาท และขายทรัพย์สินบางรายการตามมติที่บอร์ดเห็นชอบราคารวมทั้งสิ้น 3,181,356 บาท