EGCO คาดปีนี้กำไรหดตัว และจะฟื้นในปี 59 ส่อล้มโครงการร่วมลงทุนในทวาย ชี้เกิดได้ยาก และเสี่ยงสูง เตรียมหันไปขยายลงทุนฝั่ง “อินโดฯ-ฟิลิปปินส์”
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO กล่าวว่า คาดกำไรสุทธิปีนี้น้อยกว่าปีก่อน แม้จะบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ราว 600-700 ล้านบาท ในไตรมาส 3/58 ขณะที่หวังกำไรกลับมาดีขึ้นปีหน้าหลังโรงไฟฟ้าขนอมจ่ายไฟฟ้าช่วงกลางปี พร้อมวางแผนขยายกิจการไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว
ทั้งนี้ บริษัทยังคงยืนยันที่จะถือหุ้นใน บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (EASTW) ในสัดส่วน 18.72% ต่อไป แม้จะขายหุ้นทั้งหมด 74.19% ในเอ็กคอมธารา ซึ่งทำธุรกิจน้ำประปาให้แก่บริษัทย่อยของ EASTW มูลค่า 1.6 พันล้านบาท และจะรับรู้กำไรได้ราว 600-700 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3/58
ทั้งนี้ ในปี 57 ที่ผ่านมา EGCO มีกำไรสุทธิ 7,666.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ส่วนไตรมาส 1/58 ทำกำไรสุทธิได้ 1,532.62 ล้านบาท ลดลงราว 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงเดือน ธ.ค.57 บริษัทหยุดการผลิตไฟฟ้า 1,232 เมกะวัตต์ ของโรงไฟฟ้าระยอง เนื่องจากหมดสัญญาการซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ปัจจุบัน EGCO มีโรงไฟฟ้าทั้งใน และต่างประเทศที่เดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 23 แห่ง กำลังการผลิตรวมตามสัดส่วนร่วมทุน 3,746 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนา 6 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนร่วมทุน 1,498 เมกะวัตต์
นายสหัส คาดว่า กำไรของบริษัทจะดีขึ้นตั้งแต่ปีหน้า หลังจากโรงไฟฟ้าใหม่ทยอยจ่ายไฟเข้าระบบ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนอม 900 เมกะวัตต์ ที่จะจ่ายไฟกลางปี 59 และหลังจากนั้นมีโรงไฟฟ้าใหม่อีก 4-5 โครงการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะทยอยเข้าระบบต่อเนื่องจนถึงปี 62 รวมกำลังการผลิตกว่า 1,500 เมกะวัตต์ เชื่อว่าจะสามารถทดแทนกำไรที่จะลดลงจากโรงไฟฟ้าเก่าได้ เพราะโรงไฟฟ้าใหม่จะทำกำไรระดับสูงในช่วงปีแรกๆ
นอกจากนี้ บริษัทยังคงมองหาการลงทุนเพิ่มเติมในอาเซียน โดยเห็นว่าประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และลาว โดยล่าสุด ได้รับอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินซานบัวนาเวนทูรา (SBPL) ในเมืองเคซอน ของฟิลิปปินส์ ขนาด 455 เมกะวัตต์ ซึ่ง EGCO ถือหุ้น 49% คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนของบริษัทราว 4 พันล้านบาท เริ่มจ่ายไฟฟ้าไตรมาส 1/62
ขณะที่โครงการส่วนขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินมาซินลอค อยู่ระหว่างการหาลูกค้าเพิ่มจากปัจจุบันที่ได้แล้ว 100 เมกะวัตต์ ซึ่งหากได้ครบตามจำนวนก็จะสามารถขยายโรงไฟฟ้าอีก 300 เมกะวัตต์ได้ทันที คาดว่าจะรู้ผลภายในปีนี้ และยังอยู่ระหว่างเจรจากับกองทุนที่ถือหุ้นในโครงการนี้เพื่อขอซื้อหุ้นเพิ่มเป็นไม่เกิน 50% จากปัจจุบันถืออยู่ 40.95%
ส่วนโครงการในอินโดนีเซีย มีโอกาสสูงที่จะขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ “สตาร์” ในยูนิตที่ 3 หลังจากเจรจาค่าไฟฟ้ากับภาครัฐได้สูงพอที่จะดำเนินการแล้ว โดยยูนิต 3 จะมีกำลังการผลิตราว 100 เมกะวัตต์ คงจะสรุปแผนได้ในปีนี้ สำหรับโครงการยังมีโอกาสขยายกำลังการผลิตได้ถึง 400 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีแล้ว 2 ยูนิต รวมกำลังการผลิต 227 เมกะวัตต์ ขณะที่ EGCO ถือหุ้นอยู่ 20%
นอกจากนี้ ในอินโดนีเซีย ยังได้เข้าไปศึกษาเพื่อเข้าร่วมเสนอขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หลังจากอินโดนีเซียเปิดการรับซื้อมากกว่า 30,000 เมกะวัตต์ ในช่วง 5 ปีนี้ แต่ก็มองว่าโอกาสความสำเร็จค่อนข้างยาก เพราะไม่มีการค้ำประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ทำให้เป็นข้อจำกัดในการหาเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการ
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังได้ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย เข้าไปศึกษาการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายตรงให้แก่ลูกค้านิคมอุตสาหกรรม ลักษณะคล้ายกับโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ในไทย โดยการดำเนินการจะต้องไปขอสัมปทานไฟฟ้าจากอินโดนีเซียเช่นกัน แต่มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะเป็นโครงการขนาดเล็กกว่า และเป็นการขายลูกค้าตรงให้แก่ลูกค้าในนิคมฯ
นายสหัส กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการในลาวนั้น บริษัทได้มีการเจรจากับผู้ที่ได้รับสัมปทานโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 1 ขนาดกว่า 600 เมกะวัตต์ เพื่อเข้าซื้อหุ้นซึ่งตามปกติ บริษัทจะเข้าลงทุนราว 20-30% โดยโครงการอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเสนอขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ.หากสำเร็จก็จะมีการดำเนินก่อสร้างโครงการต่อไป คาดว่าจะสรุปการซื้อหุ้นได้ในราวปีหน้า แต่การก่อสร้างโครงการพลังน้ำต้องใช้ระยะเวลายาวอย่างน้อย 7-8 ปีกว่าจะรับรู้กำไร
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้บริษัทยังมองโอกาสที่จะเข้าไปซื้อโรงไฟฟ้าในเกาะปาปัวนิวกินี ผลิตไฟฟ้าป้อนให้แก่โรงถลุงทอง ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกัน โดยจะเป็นการซื้อเพื่อนำมาปรับปรุงและขายไฟฟ้าให้โรงถลุงต่อไป และในอนาคตเหมืองดังกล่าวมีแผนที่จะขยายลงทุนเพิ่มเติม ก็เป็นโอกาสที่จะมีการขยายโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะสรุปได้ไม่เกิน 3 เดือนจากนี้
สำหรับโอกาสการลงทุนในเวียดนามนั้น คาดว่าจะเป็นการลงทุนร่วมกับ กฟผ.ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกวางจิ แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องค่าเงิน และวิธีการนำเงินที่เป็นกำไรกลับเข้ามา หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ก็คงจะมีการลงทุนต่อไป
นายสหัส ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของการผลิตไฟฟ้าโครงการทวาย ในพม่า ที่ดำเนินการร่วมกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) โดยระบุว่า คงเกิดขึ้นค่อนข้างยากหลังพบว่า มีความเสี่ยงจากปริมาณลูกค้าไม่ชัดเจน ทำให้มีข้อจำกัดในการกู้เงินโครงการ (project finance) ประกอบกับ MOU ที่ได้ลงนามร่วมกันใกล้จะหมดอายุในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ แต่ EGCO ก็ยังมองหาโครงการลงทุนอื่นๆ ในพม่าอยู่ต่อไป
“โอกาสที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้คงไม่มี และก็มีโอกาสที่จะ fail ที่ ITD ไปจับกับคนอื่นเป็นไปได้ เพราะถ้า MOU หมด เขาก็ไปจับกับคนอื่น คนอื่นอยากจะจับก็เยอะแยะไป เพราะโครงการใกล้จะเกิด MOU จะหมดอายุประมาณเดือนตุลา ถึงพฤศจิกายนนี้ ส่วนจะต่อหรือไม่ก็ขึ้นกับทั้งคู่ ทางเราก็ต้องการความมั่นใจสูง เขาก็อาจไม่ทำ อาจไปทำกับคนที่รับความเสี่ยงได้มาก เราเห็นว่า demand ไม่แน่นอน ถ้าเรายอมรับความเสี่ยงได้สูง เอาโรงไฟฟ้าใหม่ไปตั้งก็ต้องไปเสี่ยงกับ demand เอาเอง”
นายสหัส กล่าวว่า เดิมทีบริษัทวางแผนจะนำชุดกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าระยองที่หมดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไปตั้งที่โครงการทวาย แต่เมื่อต้องใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากจนผู้ใช้รับไม่ไหว ทำให้มีแนวคิดที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณลูกค้าที่อาจทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยเงินกู้ให้โครงการ ส่งผลให้ผู้ดำเนินการโครงการต้องใช้เงินลงทุนจากบริษัท (corporate finance) ซึ่งตามปกติการลงทุนของบริษัทจะไม่ใช้รูปแบบดังกล่าว
สำหรับชุดกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าระยอง ก็จะมีการประกาศขายออกไป โดยคาดว่าจะออกประกาศเชิญชวน (TOR) ในเดือน ก.ค. และปลายปีนี้น่าจะรู้ผลการประมูลขายดังกล่าวได้ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่ามูลค่าของโรงไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่กว่าพันล้านบาท
นายสหัส กล่าวถึงการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในไทยว่า การดำเนินงานของบริษัทจะเป็นไปในรูปแบบการเข้าร่วมทุนกับรายอื่น เพราะไม่มีวัตถุดิบเป็นของตัวเอง ขณะที่มองการลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นนั้น เห็นว่ามีความเสี่ยงเกินไปที่จะลงทุนแม้จะได้มีอัตราค่าไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูงก็ตาม ประกอบกับมีผลตอบแทนต่ำ และไม่มีสิทธิบริหารจัดการเอง
“เราอาจจะมองผิดก็ได้ ก็เห็นคนไปกันเยอะ แต่มี sense อย่างหนึ่งว่า ทำไมญี่ปุ่นไม่ทำเอง เพราะต้นทุนเงินกู้ถูกกว่าเรากู้ ทำไมเขาไม่ทำ ผมคิดแค่นั้นจบ และพอให้ศึกษาก็ติดปัญหาเทคนิคเยอะพอสมควร แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราคิดถูก”
นายสหัส กล่าวอีกว่า การลงทุนของบริษัทที่เน้นขยายงานไปต่างประเทศนั้น เนื่องจากโอกาสการลงทุนใหม่ในประเทศค่อนข้างน้อยลง ขณะที่ต่างประเทศยังมีโอกาสอีกมาก ปัจจุบัน พอร์ตสินทรัพย์การลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับ 30% แต่เมื่อพิจารณาจากกำไรที่กลับเข้ามา พบว่า มีสัดส่วนกำไรจากการขายไฟฟ้าในต่างประเทศอยู่ระดับ 23% แต่คงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสัญญาการขายไฟฟ้าในประเทศจะค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศจะไม่เกินระดับ 50%
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO กล่าวว่า คาดกำไรสุทธิปีนี้น้อยกว่าปีก่อน แม้จะบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ราว 600-700 ล้านบาท ในไตรมาส 3/58 ขณะที่หวังกำไรกลับมาดีขึ้นปีหน้าหลังโรงไฟฟ้าขนอมจ่ายไฟฟ้าช่วงกลางปี พร้อมวางแผนขยายกิจการไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว
ทั้งนี้ บริษัทยังคงยืนยันที่จะถือหุ้นใน บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (EASTW) ในสัดส่วน 18.72% ต่อไป แม้จะขายหุ้นทั้งหมด 74.19% ในเอ็กคอมธารา ซึ่งทำธุรกิจน้ำประปาให้แก่บริษัทย่อยของ EASTW มูลค่า 1.6 พันล้านบาท และจะรับรู้กำไรได้ราว 600-700 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3/58
ทั้งนี้ ในปี 57 ที่ผ่านมา EGCO มีกำไรสุทธิ 7,666.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ส่วนไตรมาส 1/58 ทำกำไรสุทธิได้ 1,532.62 ล้านบาท ลดลงราว 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงเดือน ธ.ค.57 บริษัทหยุดการผลิตไฟฟ้า 1,232 เมกะวัตต์ ของโรงไฟฟ้าระยอง เนื่องจากหมดสัญญาการซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ปัจจุบัน EGCO มีโรงไฟฟ้าทั้งใน และต่างประเทศที่เดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 23 แห่ง กำลังการผลิตรวมตามสัดส่วนร่วมทุน 3,746 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนา 6 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนร่วมทุน 1,498 เมกะวัตต์
นายสหัส คาดว่า กำไรของบริษัทจะดีขึ้นตั้งแต่ปีหน้า หลังจากโรงไฟฟ้าใหม่ทยอยจ่ายไฟเข้าระบบ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนอม 900 เมกะวัตต์ ที่จะจ่ายไฟกลางปี 59 และหลังจากนั้นมีโรงไฟฟ้าใหม่อีก 4-5 โครงการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะทยอยเข้าระบบต่อเนื่องจนถึงปี 62 รวมกำลังการผลิตกว่า 1,500 เมกะวัตต์ เชื่อว่าจะสามารถทดแทนกำไรที่จะลดลงจากโรงไฟฟ้าเก่าได้ เพราะโรงไฟฟ้าใหม่จะทำกำไรระดับสูงในช่วงปีแรกๆ
นอกจากนี้ บริษัทยังคงมองหาการลงทุนเพิ่มเติมในอาเซียน โดยเห็นว่าประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และลาว โดยล่าสุด ได้รับอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินซานบัวนาเวนทูรา (SBPL) ในเมืองเคซอน ของฟิลิปปินส์ ขนาด 455 เมกะวัตต์ ซึ่ง EGCO ถือหุ้น 49% คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนของบริษัทราว 4 พันล้านบาท เริ่มจ่ายไฟฟ้าไตรมาส 1/62
ขณะที่โครงการส่วนขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินมาซินลอค อยู่ระหว่างการหาลูกค้าเพิ่มจากปัจจุบันที่ได้แล้ว 100 เมกะวัตต์ ซึ่งหากได้ครบตามจำนวนก็จะสามารถขยายโรงไฟฟ้าอีก 300 เมกะวัตต์ได้ทันที คาดว่าจะรู้ผลภายในปีนี้ และยังอยู่ระหว่างเจรจากับกองทุนที่ถือหุ้นในโครงการนี้เพื่อขอซื้อหุ้นเพิ่มเป็นไม่เกิน 50% จากปัจจุบันถืออยู่ 40.95%
ส่วนโครงการในอินโดนีเซีย มีโอกาสสูงที่จะขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ “สตาร์” ในยูนิตที่ 3 หลังจากเจรจาค่าไฟฟ้ากับภาครัฐได้สูงพอที่จะดำเนินการแล้ว โดยยูนิต 3 จะมีกำลังการผลิตราว 100 เมกะวัตต์ คงจะสรุปแผนได้ในปีนี้ สำหรับโครงการยังมีโอกาสขยายกำลังการผลิตได้ถึง 400 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีแล้ว 2 ยูนิต รวมกำลังการผลิต 227 เมกะวัตต์ ขณะที่ EGCO ถือหุ้นอยู่ 20%
นอกจากนี้ ในอินโดนีเซีย ยังได้เข้าไปศึกษาเพื่อเข้าร่วมเสนอขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หลังจากอินโดนีเซียเปิดการรับซื้อมากกว่า 30,000 เมกะวัตต์ ในช่วง 5 ปีนี้ แต่ก็มองว่าโอกาสความสำเร็จค่อนข้างยาก เพราะไม่มีการค้ำประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ทำให้เป็นข้อจำกัดในการหาเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการ
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังได้ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย เข้าไปศึกษาการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายตรงให้แก่ลูกค้านิคมอุตสาหกรรม ลักษณะคล้ายกับโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ในไทย โดยการดำเนินการจะต้องไปขอสัมปทานไฟฟ้าจากอินโดนีเซียเช่นกัน แต่มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะเป็นโครงการขนาดเล็กกว่า และเป็นการขายลูกค้าตรงให้แก่ลูกค้าในนิคมฯ
นายสหัส กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการในลาวนั้น บริษัทได้มีการเจรจากับผู้ที่ได้รับสัมปทานโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 1 ขนาดกว่า 600 เมกะวัตต์ เพื่อเข้าซื้อหุ้นซึ่งตามปกติ บริษัทจะเข้าลงทุนราว 20-30% โดยโครงการอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเสนอขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ.หากสำเร็จก็จะมีการดำเนินก่อสร้างโครงการต่อไป คาดว่าจะสรุปการซื้อหุ้นได้ในราวปีหน้า แต่การก่อสร้างโครงการพลังน้ำต้องใช้ระยะเวลายาวอย่างน้อย 7-8 ปีกว่าจะรับรู้กำไร
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้บริษัทยังมองโอกาสที่จะเข้าไปซื้อโรงไฟฟ้าในเกาะปาปัวนิวกินี ผลิตไฟฟ้าป้อนให้แก่โรงถลุงทอง ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกัน โดยจะเป็นการซื้อเพื่อนำมาปรับปรุงและขายไฟฟ้าให้โรงถลุงต่อไป และในอนาคตเหมืองดังกล่าวมีแผนที่จะขยายลงทุนเพิ่มเติม ก็เป็นโอกาสที่จะมีการขยายโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะสรุปได้ไม่เกิน 3 เดือนจากนี้
สำหรับโอกาสการลงทุนในเวียดนามนั้น คาดว่าจะเป็นการลงทุนร่วมกับ กฟผ.ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกวางจิ แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องค่าเงิน และวิธีการนำเงินที่เป็นกำไรกลับเข้ามา หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ก็คงจะมีการลงทุนต่อไป
นายสหัส ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของการผลิตไฟฟ้าโครงการทวาย ในพม่า ที่ดำเนินการร่วมกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) โดยระบุว่า คงเกิดขึ้นค่อนข้างยากหลังพบว่า มีความเสี่ยงจากปริมาณลูกค้าไม่ชัดเจน ทำให้มีข้อจำกัดในการกู้เงินโครงการ (project finance) ประกอบกับ MOU ที่ได้ลงนามร่วมกันใกล้จะหมดอายุในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ แต่ EGCO ก็ยังมองหาโครงการลงทุนอื่นๆ ในพม่าอยู่ต่อไป
“โอกาสที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้คงไม่มี และก็มีโอกาสที่จะ fail ที่ ITD ไปจับกับคนอื่นเป็นไปได้ เพราะถ้า MOU หมด เขาก็ไปจับกับคนอื่น คนอื่นอยากจะจับก็เยอะแยะไป เพราะโครงการใกล้จะเกิด MOU จะหมดอายุประมาณเดือนตุลา ถึงพฤศจิกายนนี้ ส่วนจะต่อหรือไม่ก็ขึ้นกับทั้งคู่ ทางเราก็ต้องการความมั่นใจสูง เขาก็อาจไม่ทำ อาจไปทำกับคนที่รับความเสี่ยงได้มาก เราเห็นว่า demand ไม่แน่นอน ถ้าเรายอมรับความเสี่ยงได้สูง เอาโรงไฟฟ้าใหม่ไปตั้งก็ต้องไปเสี่ยงกับ demand เอาเอง”
นายสหัส กล่าวว่า เดิมทีบริษัทวางแผนจะนำชุดกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าระยองที่หมดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไปตั้งที่โครงการทวาย แต่เมื่อต้องใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากจนผู้ใช้รับไม่ไหว ทำให้มีแนวคิดที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณลูกค้าที่อาจทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยเงินกู้ให้โครงการ ส่งผลให้ผู้ดำเนินการโครงการต้องใช้เงินลงทุนจากบริษัท (corporate finance) ซึ่งตามปกติการลงทุนของบริษัทจะไม่ใช้รูปแบบดังกล่าว
สำหรับชุดกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าระยอง ก็จะมีการประกาศขายออกไป โดยคาดว่าจะออกประกาศเชิญชวน (TOR) ในเดือน ก.ค. และปลายปีนี้น่าจะรู้ผลการประมูลขายดังกล่าวได้ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่ามูลค่าของโรงไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่กว่าพันล้านบาท
นายสหัส กล่าวถึงการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในไทยว่า การดำเนินงานของบริษัทจะเป็นไปในรูปแบบการเข้าร่วมทุนกับรายอื่น เพราะไม่มีวัตถุดิบเป็นของตัวเอง ขณะที่มองการลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นนั้น เห็นว่ามีความเสี่ยงเกินไปที่จะลงทุนแม้จะได้มีอัตราค่าไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูงก็ตาม ประกอบกับมีผลตอบแทนต่ำ และไม่มีสิทธิบริหารจัดการเอง
“เราอาจจะมองผิดก็ได้ ก็เห็นคนไปกันเยอะ แต่มี sense อย่างหนึ่งว่า ทำไมญี่ปุ่นไม่ทำเอง เพราะต้นทุนเงินกู้ถูกกว่าเรากู้ ทำไมเขาไม่ทำ ผมคิดแค่นั้นจบ และพอให้ศึกษาก็ติดปัญหาเทคนิคเยอะพอสมควร แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราคิดถูก”
นายสหัส กล่าวอีกว่า การลงทุนของบริษัทที่เน้นขยายงานไปต่างประเทศนั้น เนื่องจากโอกาสการลงทุนใหม่ในประเทศค่อนข้างน้อยลง ขณะที่ต่างประเทศยังมีโอกาสอีกมาก ปัจจุบัน พอร์ตสินทรัพย์การลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับ 30% แต่เมื่อพิจารณาจากกำไรที่กลับเข้ามา พบว่า มีสัดส่วนกำไรจากการขายไฟฟ้าในต่างประเทศอยู่ระดับ 23% แต่คงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสัญญาการขายไฟฟ้าในประเทศจะค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศจะไม่เกินระดับ 50%