นายกฯ ส.นักวางแผนทางการเงิน ชี้เศรษฐีไทยแห่โอน “ทรัพย์สิน-เงินสด” ตั้งทรัสต์ในต่างประเทศ หวังเลี่ยงภาษีมรดก เผยน่าเสียดายที่คนเหล่านี้หันไปลงทุนในต่างประเทศ แนะคลังควรออก กม.ทรัสต์ ควบคู่ไปด้วย
นายธีระ ภู่ตระกูล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงกรณีที่รัฐบาลจะมีการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะอาจได้ไม่คุ้มเสีย เนื่องจากปัจจุบันมีเศรษฐีไทยจำนวนมากโอนทรัพย์สิน ทั้งที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม และหุ้น ให้แก่บุตรหลานเพื่อไม่ต้องเสียภาษีมรดก และมีอีกจำนวนมากที่โอนเงินออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และฮ่องกงที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีมรดก โดยเงินที่ออกไปจะนำไปลงทุนในรูปของทรัสต์ ซึ่งเป็นการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่มีผู้ดูแล หรือทรัสตี ซึ่งในต่างประเทศมีการลงทุนในลักษณะนี้จำนวนมาก ดังนั้น จึงน่าเสียดายที่ไทยจะสูญเสียเงินจากกลุ่มเศรษฐีกลุ่มนี้ที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศแทน
ฉะนั้น จึงเสนอให้กระทรวงการคลัง ออกกฎหมายทรัสต์ ควบคู่กับการจัดเก็บภาษีมรดก เพื่อให้เศรษฐีนำเงินมาลงทุนในประเทศมากกว่า เพื่อให้สินทรัพย์ดังกล่าวยังอยู่ในไทย และจากประสบการณ์พบว่า ในหลายประเทศมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีมรดกไปแล้ว ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้ภาษีควรจัดเก็บจากส่วนอื่นจะคุ้มกว่า เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับการพัฒนานักวางแผนทางการเงินของไทยในปัจจุบันมีเพียง 133 ราย ที่ได้รับในอนุญาตการเป็นนักวางแผนทางการเงิน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนที่มีจำนวนกว่า 1,000 ราย ทำให้สมาคมต้องเร่งพัฒนานักวางแผนทางการเงินให้มีออกมากขึ้น คาดเพิ่มเป็น 170 คนในปีนี้ และ 500 คนในอนาคต เพื่อรองรับการเปิดเออีซีที่สามารถให้คนในอาเซียนทำงานข้ามประเทศได้ โดยในปัจจุบัน ทั่วโลกมีนักวาวแผนทางการเงินอยู่ที่ 157,000 ราย ใน 26 ประเทศ ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มนักวางแผนทางการเงินให้ได้เป็น 250,000 ราย ใน 40 ประเทศ
ทั้งนี้ นักวางแผนทางการเงินในปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่นักลงทุน และบุคคลทั่วไปแบบส่วนบุคคลในการวางแผนทางการเงินเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินที่มีอยู่ ซึ่งทุกวันนี้รูปแบบการบริการทางการเงินมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอายุ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ตลาดทุนในประเทศไทยเกิดการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วย
นายธีระ ภู่ตระกูล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงกรณีที่รัฐบาลจะมีการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะอาจได้ไม่คุ้มเสีย เนื่องจากปัจจุบันมีเศรษฐีไทยจำนวนมากโอนทรัพย์สิน ทั้งที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม และหุ้น ให้แก่บุตรหลานเพื่อไม่ต้องเสียภาษีมรดก และมีอีกจำนวนมากที่โอนเงินออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และฮ่องกงที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีมรดก โดยเงินที่ออกไปจะนำไปลงทุนในรูปของทรัสต์ ซึ่งเป็นการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่มีผู้ดูแล หรือทรัสตี ซึ่งในต่างประเทศมีการลงทุนในลักษณะนี้จำนวนมาก ดังนั้น จึงน่าเสียดายที่ไทยจะสูญเสียเงินจากกลุ่มเศรษฐีกลุ่มนี้ที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศแทน
ฉะนั้น จึงเสนอให้กระทรวงการคลัง ออกกฎหมายทรัสต์ ควบคู่กับการจัดเก็บภาษีมรดก เพื่อให้เศรษฐีนำเงินมาลงทุนในประเทศมากกว่า เพื่อให้สินทรัพย์ดังกล่าวยังอยู่ในไทย และจากประสบการณ์พบว่า ในหลายประเทศมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีมรดกไปแล้ว ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้ภาษีควรจัดเก็บจากส่วนอื่นจะคุ้มกว่า เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับการพัฒนานักวางแผนทางการเงินของไทยในปัจจุบันมีเพียง 133 ราย ที่ได้รับในอนุญาตการเป็นนักวางแผนทางการเงิน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนที่มีจำนวนกว่า 1,000 ราย ทำให้สมาคมต้องเร่งพัฒนานักวางแผนทางการเงินให้มีออกมากขึ้น คาดเพิ่มเป็น 170 คนในปีนี้ และ 500 คนในอนาคต เพื่อรองรับการเปิดเออีซีที่สามารถให้คนในอาเซียนทำงานข้ามประเทศได้ โดยในปัจจุบัน ทั่วโลกมีนักวาวแผนทางการเงินอยู่ที่ 157,000 ราย ใน 26 ประเทศ ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มนักวางแผนทางการเงินให้ได้เป็น 250,000 ราย ใน 40 ประเทศ
ทั้งนี้ นักวางแผนทางการเงินในปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่นักลงทุน และบุคคลทั่วไปแบบส่วนบุคคลในการวางแผนทางการเงินเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินที่มีอยู่ ซึ่งทุกวันนี้รูปแบบการบริการทางการเงินมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอายุ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ตลาดทุนในประเทศไทยเกิดการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วย