ศิริธัช โรจนพฤกษ์ ผู้บริหาร “โพสต์ พับลิชชิง” เดินหน้าต่อ แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่ สน. ลุมพินี ให้ดำเนินคดีอาญาต่อ สุทธิชัย หยุ่น และพวกรวม 9 ราย ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 89/7 และมาตรา 281/2 อันเป็นการกระทำผิดอาญา ทำให้ผู้ถือหุ้นรายได้รับความเสียหาย
นายศิริธัช โรจนพฤกษ์ กรรมการบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) หรือ POST ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นบริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) (EE) และเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท NMG ส่งตัวแทนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ลุมพินี วันนี้ 25 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.00 น. ให้ดำเนินคดีอาญาต่อ 1.นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น 2.นายพนา จันทรวิโรจน์ 3.นายเชวง จริยะพิสุทธิ์ 4.นายปกรณ์ บริมาสพร 5.น.ส.ดวงกมล โชตะนา 6.นายเสริมสิน สมะลาภา 7.นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ 8.น.ส.เขมกร วชิรวราการ 9.นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ในข้อหาหรือฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 89/7 “ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการ และผู้บริหาร ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น” มาตรา 281/2 “กรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา 89/7 จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทำให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว”
นายศิริธัช กล่าวว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ที่ขัดขวางไม่ให้ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของตน รวมถึงผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ เข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ทำให้บริษัท NMG ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงทางธุรกิจ เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เพราะไม่มั่นใจว่าสิทธิ และผลประโยชน์ของนักลงทุนจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ทั้งนี้ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนั้น การขัดขวางไม่ให้ผู้ถือหุ้นเข้าประชุม ยังเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ถือหุ้น ทำให้ NMG ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากการที่ไม่ได้ใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามกฎหมายได้อีกด้วย การกระทำครั้งนี้ทำให้ทางฝ่าย นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น และพวก ได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยปรากฏตามภาพข่าวสื่อมวลชนเฉพาะในเครือเนชั่น กรุ๊ป เช่น หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และภาพข่าวออนไลน์ในเครือเนชั่น กรุ๊ป เสนอข่าวด้านเดียวมาโดยตลอด ในทำนองที่ว่า นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ประกาศเจตนาว่า ไม่ยอมให้กลุ่มทุน หรือผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้ามาร่วมบริหารกิจการของ บริษัท NMG โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มทุนสีเทา ในประเด็นนี้ เห็นว่าการไม่ยอมให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเอง ทำให้นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 สามารถควบคุมอำนาจบริหารได้อย่างเต็มที่ อาศัยความถนัดจัดเจนในการทำธุรกิจสื่อ และวาทกรรม กองบรรณาธิการต้องเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากทุน แต่ในขณะเดียวกัน มันคือการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกิจการของบริษัท NMG ที่มีผู้ถือหุ้นหลายราย ไม่มีโอกาสตรวจสอบการทำงาน ในทางปฏิบัติกลับเป็นบริษัทของนายสุทธิชัย แซ่หยุ่น หรือผู้บริหารเพียงไม่กี่คน และตามหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ในวาระที่ 9 คือ
วาระอื่นๆ นั้น ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการคัดเลือก หรือถอดถอนกรรมการโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 เกรงว่า กรรมการกลุ่มพวกของตนจะถูกถอดถอน และไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการใหม่ การที่หน่วงเหนี่ยวขัดขวางไม่ยอมให้ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของนายศิริธัช และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้าประชุม เพราะเกรงว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 คนใดคนหนึ่งอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการใหม่ได้ ดังนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 หน่วงเหนี่ยวขัดขวาง ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของ นายศิริธัช และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้าประชุม จึงทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คือ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น 2.นายพนา จันทรวิโรจน์ 4.นายปกรณ์ บริมาสพร 6.นายเสริมสิน สมะลาภา 9.นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารอยู่ และได้รับประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งกรรมการไปจนกว่ามติของที่ประชุมจะถูกเพิกถอนโดยศาล จึงเป็นการกระทำโดยทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สำหรับกลุ่มพวกตัวเองที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทต่อไป อันเป็นการร่วมกันบริหารแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปราศจากผู้ถือหุ้น ตัวแทนผู้ถือหุ้นในการตรวจสอบการบริหาร
สำหรับนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 ที่ทำหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากชี้แจงว่า ประธานได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (รวมที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 104 และ 105 และข้อบังคับของบริษัท ข้อ 34 และ 35 ในฐานะประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้กลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งเข้าร่วมประชุมในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นฯ เนื่องจากตามกฎหมายที่อ้างถึงดังกล่าวไม่ปรากฏถ้อยคำที่ระบุให้ประธานในที่ประชุมมีอำนาจในการไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมสามัญได้ และข้ออ้างที่ว่า มีกลุ่มบุคคลร่วมกันถือหุ้นโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดๆ เลยว่า มีการกระทำเช่นนั้นจริง อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงาน หรือมีคำวินิจฉัยของศาลอันเป็นที่สุด ว่า มีการกระทำอันเป็นการผิดต่อกฎหมาย ประการที่สำคัญ นายศิริธัช เป็นผู้ถือหุ้นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อกลุ่มบุคคลที่ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้าง โดยไม่มีรายชื่อร่วมอยู่ใน 50 รายชื่อ ตามหนังสือชี้แจงแต่อย่างใด ทั้งยังปรากฏด้วยว่า นอกจาก นายศิริธัช หรือตัวแทนจะถูกห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมแล้ว ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า มีการห้ามผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกหลายรายเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น กรณีจึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า มิใช่เป็นการห้ามผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง แต่ยังเป็นการห้ามผู้ถือหุ้นอื่นๆ อีกหลายคนที่ไม่ใช่พวกพ้องของตนเข้าประชุม เพราะเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจในการบริหาร
แม้ นายณิทธิมณ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 จะอ้างว่า ตนมีคำสั่งห้ามในฐานะประธาน แต่การจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหาร คือ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดได้เข้าร่วมประชุมทุกคน โดยผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นกรรมการ และผู้บริหารแต่ละคน มีหน้าที่ท้วงติงห้ามปรามมิให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กระทำการโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้เชิดให้ นายณิทธิมณ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 ให้ทำหน้าที่ประธาน โดยผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคนมิได้ทักท้วง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด จึงเป็นพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการผิดต่อกฎหมาย โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งในฐานะกรรมการและผู้บริหารบริษัทควรปฏิบัติหน้าที่อย่างมีมาตรฐานทางจริยธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายโดยเท่าเทียมกัน แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และกระทำการโดยทุจริต เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และไม่ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การกระทำดังกล่าวถือเป็นการร่วมกันกระทำผิดอาญา ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และกระทำการโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย และทำให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังทำให้ นายศิริธัช โรจนพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ อีกมากได้รับความเสียหายไปด้วย
นายศิริธัช โรจนพฤกษ์ กรรมการบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) หรือ POST ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นบริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) (EE) และเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท NMG ส่งตัวแทนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ลุมพินี วันนี้ 25 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.00 น. ให้ดำเนินคดีอาญาต่อ 1.นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น 2.นายพนา จันทรวิโรจน์ 3.นายเชวง จริยะพิสุทธิ์ 4.นายปกรณ์ บริมาสพร 5.น.ส.ดวงกมล โชตะนา 6.นายเสริมสิน สมะลาภา 7.นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ 8.น.ส.เขมกร วชิรวราการ 9.นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ในข้อหาหรือฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 89/7 “ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการ และผู้บริหาร ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น” มาตรา 281/2 “กรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา 89/7 จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทำให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว”
นายศิริธัช กล่าวว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ที่ขัดขวางไม่ให้ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของตน รวมถึงผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ เข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ทำให้บริษัท NMG ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงทางธุรกิจ เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เพราะไม่มั่นใจว่าสิทธิ และผลประโยชน์ของนักลงทุนจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ทั้งนี้ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนั้น การขัดขวางไม่ให้ผู้ถือหุ้นเข้าประชุม ยังเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ถือหุ้น ทำให้ NMG ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากการที่ไม่ได้ใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามกฎหมายได้อีกด้วย การกระทำครั้งนี้ทำให้ทางฝ่าย นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น และพวก ได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยปรากฏตามภาพข่าวสื่อมวลชนเฉพาะในเครือเนชั่น กรุ๊ป เช่น หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และภาพข่าวออนไลน์ในเครือเนชั่น กรุ๊ป เสนอข่าวด้านเดียวมาโดยตลอด ในทำนองที่ว่า นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ประกาศเจตนาว่า ไม่ยอมให้กลุ่มทุน หรือผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้ามาร่วมบริหารกิจการของ บริษัท NMG โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มทุนสีเทา ในประเด็นนี้ เห็นว่าการไม่ยอมให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเอง ทำให้นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 สามารถควบคุมอำนาจบริหารได้อย่างเต็มที่ อาศัยความถนัดจัดเจนในการทำธุรกิจสื่อ และวาทกรรม กองบรรณาธิการต้องเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากทุน แต่ในขณะเดียวกัน มันคือการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกิจการของบริษัท NMG ที่มีผู้ถือหุ้นหลายราย ไม่มีโอกาสตรวจสอบการทำงาน ในทางปฏิบัติกลับเป็นบริษัทของนายสุทธิชัย แซ่หยุ่น หรือผู้บริหารเพียงไม่กี่คน และตามหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ในวาระที่ 9 คือ
วาระอื่นๆ นั้น ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการคัดเลือก หรือถอดถอนกรรมการโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 เกรงว่า กรรมการกลุ่มพวกของตนจะถูกถอดถอน และไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการใหม่ การที่หน่วงเหนี่ยวขัดขวางไม่ยอมให้ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของนายศิริธัช และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้าประชุม เพราะเกรงว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 คนใดคนหนึ่งอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการใหม่ได้ ดังนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 หน่วงเหนี่ยวขัดขวาง ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะของ นายศิริธัช และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เข้าประชุม จึงทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คือ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น 2.นายพนา จันทรวิโรจน์ 4.นายปกรณ์ บริมาสพร 6.นายเสริมสิน สมะลาภา 9.นายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารอยู่ และได้รับประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งกรรมการไปจนกว่ามติของที่ประชุมจะถูกเพิกถอนโดยศาล จึงเป็นการกระทำโดยทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สำหรับกลุ่มพวกตัวเองที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทต่อไป อันเป็นการร่วมกันบริหารแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปราศจากผู้ถือหุ้น ตัวแทนผู้ถือหุ้นในการตรวจสอบการบริหาร
สำหรับนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 ที่ทำหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากชี้แจงว่า ประธานได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (รวมที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 104 และ 105 และข้อบังคับของบริษัท ข้อ 34 และ 35 ในฐานะประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้กลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งเข้าร่วมประชุมในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นฯ เนื่องจากตามกฎหมายที่อ้างถึงดังกล่าวไม่ปรากฏถ้อยคำที่ระบุให้ประธานในที่ประชุมมีอำนาจในการไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมสามัญได้ และข้ออ้างที่ว่า มีกลุ่มบุคคลร่วมกันถือหุ้นโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดๆ เลยว่า มีการกระทำเช่นนั้นจริง อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงาน หรือมีคำวินิจฉัยของศาลอันเป็นที่สุด ว่า มีการกระทำอันเป็นการผิดต่อกฎหมาย ประการที่สำคัญ นายศิริธัช เป็นผู้ถือหุ้นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อกลุ่มบุคคลที่ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้าง โดยไม่มีรายชื่อร่วมอยู่ใน 50 รายชื่อ ตามหนังสือชี้แจงแต่อย่างใด ทั้งยังปรากฏด้วยว่า นอกจาก นายศิริธัช หรือตัวแทนจะถูกห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมแล้ว ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า มีการห้ามผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกหลายรายเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น กรณีจึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า มิใช่เป็นการห้ามผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง แต่ยังเป็นการห้ามผู้ถือหุ้นอื่นๆ อีกหลายคนที่ไม่ใช่พวกพ้องของตนเข้าประชุม เพราะเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจในการบริหาร
แม้ นายณิทธิมณ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 จะอ้างว่า ตนมีคำสั่งห้ามในฐานะประธาน แต่การจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหาร คือ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดได้เข้าร่วมประชุมทุกคน โดยผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นกรรมการ และผู้บริหารแต่ละคน มีหน้าที่ท้วงติงห้ามปรามมิให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กระทำการโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้เชิดให้ นายณิทธิมณ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 ให้ทำหน้าที่ประธาน โดยผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคนมิได้ทักท้วง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด จึงเป็นพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-9 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการผิดต่อกฎหมาย โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งในฐานะกรรมการและผู้บริหารบริษัทควรปฏิบัติหน้าที่อย่างมีมาตรฐานทางจริยธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายโดยเท่าเทียมกัน แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และกระทำการโดยทุจริต เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และไม่ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การกระทำดังกล่าวถือเป็นการร่วมกันกระทำผิดอาญา ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และกระทำการโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย และทำให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังทำให้ นายศิริธัช โรจนพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ อีกมากได้รับความเสียหายไปด้วย