แผนกระทรวงการคลังโละหุ้นใช้หนี้จำนำข้าว หลายฝ่ายเชื่อมั่น PTT AOT KTB เข้ากรุ ไม่ถูกหั่นส่วนทิ้ง ขณะที่ TMB BCP มีโอกาสได้ผู้ถือหุ้นใหม่ ส่วนตัวอื่นเชื่อไร้ผลกระทบ วงการจับตาวิธีการขายจะสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้น หรือไม่เกิดปัญหา
เรียกว่าสร้างความผันผวนไม่น้อยให้แก่ตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาออกกฎหมายพิเศษเพื่อล้างหนี้วงเงินกว่า 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้เป็นหนี้จากโครงการรับจำนำข้าวกว่า 5.2 แสนล้านบาท และที่เหลือเป็นหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หนี้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหนี้กองทุนประกันสังคม โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
โดยหนึ่งในแนวทาง คือ การเตรียมพิจารณาขายหุ้นในกิจการของเอกชนที่รัฐถือหุ้นอยู่ และมองว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือบริหารจัดการยาก โดยจะขายหุ้นออกไป เพราะมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องถือหุ้นไว้ ซึ่งคาดว่าจะได้เงินในส่วนนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อมาใช้ในการบริหารจัดการหนี้ในระยะต่อไป
“การขายหุ้นต้องระบุไว้ในกฎหมายชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส รัฐบาลนี้ถึงแม้ว่าไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาให้โปร่งใส เพื่อในอนาคตที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง หากไม่ระบุไว้ในกฎหมายไว้อย่างชัดเจนก็จะมีปัญหาว่าทำถูกต้องหรือไม่” นายสมหมาย กล่าว
สำหรับหุ้นบริษัทเอกชนที่เข้าข่ายว่าคลังอาจจะขายออกมา มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในบริษัทเหล่านั้นไม่ถึง 50% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ออกมายอมรับว่า กระทรวงการคลังสั่งการให้ศึกษาว่าจะขายหุ้นในบริษัทเอกชนที่คลังถืออยู่ทั้งที่จดทะเบียน และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหากเป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะต้องจ้างที่ปรึกษามาทำการสำรวจคุณภาพสินทรัพย์ (ดิวดิลิเจนต์) และยืนยันว่าจะไม่มีการขายหุ้น หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดๆ ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม หลังมีข่าวดังกล่าวออกมาก็มีความคิดเห็นทั้งแง่บวกและแง่ลบต่อการตัดสินใจขายหุ้นในครั้งนี้ของกระทรวงการคลัง เริ่มตั้งแต่ความกังวลต่อความเสี่ยงต่อการถูกตัดขายหุ้นบางส่วนในบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) และธนาคารกรุงไทย (KTB) จนราคาหุ้นบนกระดานปรับตัวลดลงมา แม้จะมีการยืนยันจากกระทรวงการคลังว่าจะไม่มีการตัดขายหุ้นรัฐวิสาหกิจออกก็ตาม
ขณะเดียวกัน ในแง่ของนักลงทุนฝ่ายที่เห็นด้วยเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่รัฐบาล หากตัดขายหุ้นที่ไม่อำนาจในการบริหารออกไป ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าดัชนีหลักทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังอยู่ในช่วงขาลงมานาน การประกาศขายหุ้นของกระทรวงการคลังในรอบนี้สร้างความผันผวนให้แก่บรรยากาศการลงทุนเช่นกัน แม้จะไม่ระบุชี้ชัดว่าหุ้นตัวใดที่อยู่ในแผนโละออกจากพอร์ตของกระทรวงการคลังก็ตาม
ต่อมา หลังตลาดหุ้นรับรู้ถึงแผนเตรียมขายหุ้นของกระทรวงการคลัง ได้มีการคาดการณ์กันว่านี่คือ 10 หุ้นที่มีโอกาสถูกกระทรวงการคลังตัดขายเพื่อนำไปชำระหนี้จากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดก่อน ด้วยเม็ดเงินรวมจากส่วนนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ได้แก่ บมจ.ผาแดงอินดัสทรี (PDI) สัดส่วน 13.81% บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) สัดส่วน 16.67% ธนาคารทหารไทย (TMB) สัดส่วน 25.98%
บมจ.เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม (NEP) สัดส่วน 20.45% บมจ.อสมท (MCOT) 65.80% บมจ.การบินไทย (THAI) 51.03% บมจ.ปตท. (PTT) 51.11% บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) 9.98% บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) 70.00% และ บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL) สัดส่วน 1.98%
ด้านนักวิเคราะห์ประเมินกันว่า การขายหุ้นที่ถืออยู่โดยกระทรวงการคลังในครั้งนี้มีทั้งผลดี และผลเสีย เพราะหุ้นที่ถูกขายออกไปบางตัวอาจมีทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น เปรียบเสมือนการถูกปลดล็อก และทำให้ทิศทางการดำเนินธุรกิจมีความชัดเจน หรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นแล้วอาจติดขัดหลักเกณฑ์บางประการในการดำเนินธุรกิจ หรือจำเป็นต้องสนองนโยบายรัฐบาล ซึ่งหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์หากกระทรวงการคลังตัดขายหุ้นจริง เชื่อว่าคือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB)
เช่นเดียวกับ บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ซึ่งที่ผ่านมา บมจ.ปตท. (PTT) ได้ตัดขายหุ้นที่ถืออยู่ใน BCP ออกมาหมดแล้ว หากกระทรวงการคลังขายหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทออกมาอีก เชื่อว่าน่าจะทำให้ทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมา อยู่ในส่วนของ PTT มาโดยตลอด และ BCP ถือเป็นอีกหนึ่งหลักทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วไป และสถาบันให้ความสนใจจากแผนธุรกิจที่ทิศทางการเติบโตที่ดี
“กระแสข่าวการตัดขายหุ้นเพื่อนำไปจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้น TMB คึกคัก เชื่อว่านี่คือหนึ่งในธุรกิจที่คลังจะตัดขาย แต่หากมองที่การเติบโตถือว่าธนาคารมีการเติบโตที่น่าสนใจ และนับเป็นหุ้นที่นักลงทุนสนใจสะสมเข้าพอร์ตลงทุน ที่ผ่านมา ก็มีข่าวคลังสนใจตัดขายหุ้นอยู่แล้ว รวมไปถึงบางจากฯ ที่มีถึงแนวคิดตัดขายให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หลังจาก ปตท.ขายหุ้น BCP ออกไปหมดแล้วก่อนหน้านี้” นักวิเคราะห์รายหนึ่งให้ความเห็น
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์เชื่อมั่นว่า PTT AOT และ KTB จะเป็น 3 บริษัทที่ไม่ถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อนำเงินจากการขายไปใช้หนี้โครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากทั้ง 3 บริษัทมีลักษณะผูกตลาด กล่าวคือ นอกเหนือจากความเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องทำงานสนองนโยบายรัฐบาลแล้ว ส่วนแบ่งการตลาดทางธุรกิจของบริษัทเหล่านี้อยู่ในระดับสูง หรือครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ดังนั้น การตัดขายหุ้นอาจมีความเสี่ยงต่ออำนาจในการบริหาร
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากกระทรวงการคลังตัดขายหุ้นเหล่านี้ออกไปจริง ผู้ที่รับซื้อหุ้นน่าจะเป็นกองทุนวายุภักษ์ ที่มักจะมีข่าวเสมอเวลากระทรวงการคลังต้องการที่จะตัดขายหุ้นที่ถืออยู่ในบางบริษัทออกไป เพราะหากถ่ายเทให้กองทุนวายุภักษ์รับไป อำนาจในการบริหารถือว่ายังไม่ปรับลดลงไปแต่ประการใด
ส่วนหุ้นอื่นๆ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยังให้ความสนใจใน MCOT และ THAI โดย MCOT ถือว่าคลังถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่สูง สามารถปรับลดลงมาได้ แต่เชื่อว่าอย่างต่ำยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่น้อยกว่า 51% เพราะถือเป็นอีกหนึ่งสื่อหลักของรัฐบาลในการเป็นกระบอกเสียง ขณะที่ THAI ด้วยผลดำเนินงานที่ขาดทุนสะสม แม้กระทรวงการคลังตัดขายหุ้นยังจำเป็นต้องดูผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนแทน เพราะหากเป็นกองทุนวายุภักษ์มองว่าจะเป็นผลเสียต่อกองทุนมากกว่า เนื่องจากยังไม่เห็นทิศทางการกลับมาเติบโต หรือพลิกกลับมาเป็นกำไรของธุรกิจ
ขณะที่หุ้นที่เหลืออื่นๆ หลายฝ่ายเชื่อว่า การขายหุ้นออกไปจะไม่มีผลกระทบต่อบริษัทเหล่านั้น รวมถึงกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อย และกระทรวงไม่มีอำนาจในการบริหาร เพียงแต่การขายเหล่านี้กระทรวงจะใช้วิธีใดเพื่อลดทอนความผันผวนที่จะเกิดขึ้น
“ต่อจากนี้สิ่งนักลงทุนเฝ้าติดตาม คือ วิธีการขายหุ้นของกระทรวงการคลังว่าจะเลือกใช้วิธีใด จะกระทบต่อราคาหุ้นเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน เรายังต้องรอดูเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้หุ้นที่ข้องเกี่ยวต่อเรื่องดังกล่าวจะมีการเคลื่อนไหวสอดรับต่อความคืบหน้าในเรื่องนี้ของคลังไปแบบรายตัว ส่วน PTT AOT และ KTB เชื่อว่าคลังไม่ขายแน่ มันจะมีผลกระทบทั้งในด้านตลาดหุ้น เรื่องนโยบาย และเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง”
เรียกว่าสร้างความผันผวนไม่น้อยให้แก่ตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาออกกฎหมายพิเศษเพื่อล้างหนี้วงเงินกว่า 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้เป็นหนี้จากโครงการรับจำนำข้าวกว่า 5.2 แสนล้านบาท และที่เหลือเป็นหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หนี้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหนี้กองทุนประกันสังคม โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
โดยหนึ่งในแนวทาง คือ การเตรียมพิจารณาขายหุ้นในกิจการของเอกชนที่รัฐถือหุ้นอยู่ และมองว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือบริหารจัดการยาก โดยจะขายหุ้นออกไป เพราะมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องถือหุ้นไว้ ซึ่งคาดว่าจะได้เงินในส่วนนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อมาใช้ในการบริหารจัดการหนี้ในระยะต่อไป
“การขายหุ้นต้องระบุไว้ในกฎหมายชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส รัฐบาลนี้ถึงแม้ว่าไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาให้โปร่งใส เพื่อในอนาคตที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง หากไม่ระบุไว้ในกฎหมายไว้อย่างชัดเจนก็จะมีปัญหาว่าทำถูกต้องหรือไม่” นายสมหมาย กล่าว
สำหรับหุ้นบริษัทเอกชนที่เข้าข่ายว่าคลังอาจจะขายออกมา มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในบริษัทเหล่านั้นไม่ถึง 50% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ออกมายอมรับว่า กระทรวงการคลังสั่งการให้ศึกษาว่าจะขายหุ้นในบริษัทเอกชนที่คลังถืออยู่ทั้งที่จดทะเบียน และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหากเป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะต้องจ้างที่ปรึกษามาทำการสำรวจคุณภาพสินทรัพย์ (ดิวดิลิเจนต์) และยืนยันว่าจะไม่มีการขายหุ้น หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดๆ ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม หลังมีข่าวดังกล่าวออกมาก็มีความคิดเห็นทั้งแง่บวกและแง่ลบต่อการตัดสินใจขายหุ้นในครั้งนี้ของกระทรวงการคลัง เริ่มตั้งแต่ความกังวลต่อความเสี่ยงต่อการถูกตัดขายหุ้นบางส่วนในบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) และธนาคารกรุงไทย (KTB) จนราคาหุ้นบนกระดานปรับตัวลดลงมา แม้จะมีการยืนยันจากกระทรวงการคลังว่าจะไม่มีการตัดขายหุ้นรัฐวิสาหกิจออกก็ตาม
ขณะเดียวกัน ในแง่ของนักลงทุนฝ่ายที่เห็นด้วยเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่รัฐบาล หากตัดขายหุ้นที่ไม่อำนาจในการบริหารออกไป ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าดัชนีหลักทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังอยู่ในช่วงขาลงมานาน การประกาศขายหุ้นของกระทรวงการคลังในรอบนี้สร้างความผันผวนให้แก่บรรยากาศการลงทุนเช่นกัน แม้จะไม่ระบุชี้ชัดว่าหุ้นตัวใดที่อยู่ในแผนโละออกจากพอร์ตของกระทรวงการคลังก็ตาม
ต่อมา หลังตลาดหุ้นรับรู้ถึงแผนเตรียมขายหุ้นของกระทรวงการคลัง ได้มีการคาดการณ์กันว่านี่คือ 10 หุ้นที่มีโอกาสถูกกระทรวงการคลังตัดขายเพื่อนำไปชำระหนี้จากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดก่อน ด้วยเม็ดเงินรวมจากส่วนนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ได้แก่ บมจ.ผาแดงอินดัสทรี (PDI) สัดส่วน 13.81% บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) สัดส่วน 16.67% ธนาคารทหารไทย (TMB) สัดส่วน 25.98%
บมจ.เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม (NEP) สัดส่วน 20.45% บมจ.อสมท (MCOT) 65.80% บมจ.การบินไทย (THAI) 51.03% บมจ.ปตท. (PTT) 51.11% บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) 9.98% บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) 70.00% และ บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL) สัดส่วน 1.98%
ด้านนักวิเคราะห์ประเมินกันว่า การขายหุ้นที่ถืออยู่โดยกระทรวงการคลังในครั้งนี้มีทั้งผลดี และผลเสีย เพราะหุ้นที่ถูกขายออกไปบางตัวอาจมีทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น เปรียบเสมือนการถูกปลดล็อก และทำให้ทิศทางการดำเนินธุรกิจมีความชัดเจน หรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นแล้วอาจติดขัดหลักเกณฑ์บางประการในการดำเนินธุรกิจ หรือจำเป็นต้องสนองนโยบายรัฐบาล ซึ่งหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์หากกระทรวงการคลังตัดขายหุ้นจริง เชื่อว่าคือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB)
เช่นเดียวกับ บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ซึ่งที่ผ่านมา บมจ.ปตท. (PTT) ได้ตัดขายหุ้นที่ถืออยู่ใน BCP ออกมาหมดแล้ว หากกระทรวงการคลังขายหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทออกมาอีก เชื่อว่าน่าจะทำให้ทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมา อยู่ในส่วนของ PTT มาโดยตลอด และ BCP ถือเป็นอีกหนึ่งหลักทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วไป และสถาบันให้ความสนใจจากแผนธุรกิจที่ทิศทางการเติบโตที่ดี
“กระแสข่าวการตัดขายหุ้นเพื่อนำไปจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้น TMB คึกคัก เชื่อว่านี่คือหนึ่งในธุรกิจที่คลังจะตัดขาย แต่หากมองที่การเติบโตถือว่าธนาคารมีการเติบโตที่น่าสนใจ และนับเป็นหุ้นที่นักลงทุนสนใจสะสมเข้าพอร์ตลงทุน ที่ผ่านมา ก็มีข่าวคลังสนใจตัดขายหุ้นอยู่แล้ว รวมไปถึงบางจากฯ ที่มีถึงแนวคิดตัดขายให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หลังจาก ปตท.ขายหุ้น BCP ออกไปหมดแล้วก่อนหน้านี้” นักวิเคราะห์รายหนึ่งให้ความเห็น
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์เชื่อมั่นว่า PTT AOT และ KTB จะเป็น 3 บริษัทที่ไม่ถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อนำเงินจากการขายไปใช้หนี้โครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากทั้ง 3 บริษัทมีลักษณะผูกตลาด กล่าวคือ นอกเหนือจากความเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องทำงานสนองนโยบายรัฐบาลแล้ว ส่วนแบ่งการตลาดทางธุรกิจของบริษัทเหล่านี้อยู่ในระดับสูง หรือครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ดังนั้น การตัดขายหุ้นอาจมีความเสี่ยงต่ออำนาจในการบริหาร
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากกระทรวงการคลังตัดขายหุ้นเหล่านี้ออกไปจริง ผู้ที่รับซื้อหุ้นน่าจะเป็นกองทุนวายุภักษ์ ที่มักจะมีข่าวเสมอเวลากระทรวงการคลังต้องการที่จะตัดขายหุ้นที่ถืออยู่ในบางบริษัทออกไป เพราะหากถ่ายเทให้กองทุนวายุภักษ์รับไป อำนาจในการบริหารถือว่ายังไม่ปรับลดลงไปแต่ประการใด
ส่วนหุ้นอื่นๆ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยังให้ความสนใจใน MCOT และ THAI โดย MCOT ถือว่าคลังถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่สูง สามารถปรับลดลงมาได้ แต่เชื่อว่าอย่างต่ำยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่น้อยกว่า 51% เพราะถือเป็นอีกหนึ่งสื่อหลักของรัฐบาลในการเป็นกระบอกเสียง ขณะที่ THAI ด้วยผลดำเนินงานที่ขาดทุนสะสม แม้กระทรวงการคลังตัดขายหุ้นยังจำเป็นต้องดูผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนแทน เพราะหากเป็นกองทุนวายุภักษ์มองว่าจะเป็นผลเสียต่อกองทุนมากกว่า เนื่องจากยังไม่เห็นทิศทางการกลับมาเติบโต หรือพลิกกลับมาเป็นกำไรของธุรกิจ
ขณะที่หุ้นที่เหลืออื่นๆ หลายฝ่ายเชื่อว่า การขายหุ้นออกไปจะไม่มีผลกระทบต่อบริษัทเหล่านั้น รวมถึงกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อย และกระทรวงไม่มีอำนาจในการบริหาร เพียงแต่การขายเหล่านี้กระทรวงจะใช้วิธีใดเพื่อลดทอนความผันผวนที่จะเกิดขึ้น
“ต่อจากนี้สิ่งนักลงทุนเฝ้าติดตาม คือ วิธีการขายหุ้นของกระทรวงการคลังว่าจะเลือกใช้วิธีใด จะกระทบต่อราคาหุ้นเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน เรายังต้องรอดูเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้หุ้นที่ข้องเกี่ยวต่อเรื่องดังกล่าวจะมีการเคลื่อนไหวสอดรับต่อความคืบหน้าในเรื่องนี้ของคลังไปแบบรายตัว ส่วน PTT AOT และ KTB เชื่อว่าคลังไม่ขายแน่ มันจะมีผลกระทบทั้งในด้านตลาดหุ้น เรื่องนโยบาย และเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง”