‘บมจ.น้ำตาลและอ้อยตะวันออก’ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายจากอ้อยและธุรกิจพลังงาน ยื่นแบบคำขอและไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อขอเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 600 ล้านหุ้น ก่อนเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นายสุทธิพัฒน์ เสรีรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานวาณิชธนกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า บมจ. น้ำตาลและอ้อยตะวันออก ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 600 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.09 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียนจำนวน 2,300 ล้านบาท โดยทุนที่ออกและชำระแล้วมีจำนวน 1,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1,700 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ทั้งนี้ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายจากอ้อย และนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไปต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงาน เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจผลิตเอทานอล ธุรกิจก๊าซชีวภาพ และธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เคมี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากจากการดำเนินธุรกิจ รวมถึงยังมีบริษัทวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตให้แก่ชาวไร่อ้อย
ด้าน นายกิตติศักดิ์ วัธนเวคิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลมายาวมากกว่า 56 ปี ที่ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักแนวคิด Fully Integrated System ด้วยการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายทุกส่วนกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร ได้แก่ ธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอทานอล ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และให้มีส่วนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ หรือ Zero-waste Discharge Systems โดยนำชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยและก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการผลิตเอทานอลมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้นำกากน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการหีบอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งนำน้ำกากส่าที่มาจากการขั้นตอนการผลิตเอทานอลมาปรับสภาพเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งนำน้ำที่ออกจากการผลิตก๊าซชีวภาพและกากหม้อกรองที่มาจากการผลิตน้ำตาลมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี และวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ทำให้ บมจ.อ้อยและน้ำตาลตะวันออก สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการกระบวนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย
สำหรับธุรกิจผลิตน้ำตาลทรายนั้น บริษัทฯ ถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก โดยฤดูกาลหีบอ้อยปี 56/57 โรงงานสามารถรองรับปริมาณอ้อยเข้าหีบได้ 32,000 ตันต่อวัน เพื่อผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายดิบไฮโพล น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และส่งจำหน่ายให้ลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ ขณะที่ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 59.8 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นผลิตจากชานอ้อย 55 เมกะวัตต์ และผลิตจากก๊าซชีวภาพอีก 4.8 เมกะวัตต์ โดยทำสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แก่ กฟภ.และ กฟผ. รวม 31 เมกะวัตต์ ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 150,000 ลิตรต่อวัน และมีกำลังการผลิตก๊าซซีวภาพเพื่อนำมาใช้แทนเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอีก 123,000 ลบ.ม.ต่อวัน นอกจากนี้ แต่ละปียังสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีได้ 20,000 ตัน
นายสุทธิพัฒน์ เสรีรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานวาณิชธนกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า บมจ. น้ำตาลและอ้อยตะวันออก ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 600 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.09 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียนจำนวน 2,300 ล้านบาท โดยทุนที่ออกและชำระแล้วมีจำนวน 1,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1,700 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ทั้งนี้ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายจากอ้อย และนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไปต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงาน เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจผลิตเอทานอล ธุรกิจก๊าซชีวภาพ และธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เคมี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากจากการดำเนินธุรกิจ รวมถึงยังมีบริษัทวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตให้แก่ชาวไร่อ้อย
ด้าน นายกิตติศักดิ์ วัธนเวคิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลมายาวมากกว่า 56 ปี ที่ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักแนวคิด Fully Integrated System ด้วยการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายทุกส่วนกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร ได้แก่ ธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอทานอล ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และให้มีส่วนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ หรือ Zero-waste Discharge Systems โดยนำชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยและก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการผลิตเอทานอลมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้นำกากน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการหีบอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งนำน้ำกากส่าที่มาจากการขั้นตอนการผลิตเอทานอลมาปรับสภาพเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งนำน้ำที่ออกจากการผลิตก๊าซชีวภาพและกากหม้อกรองที่มาจากการผลิตน้ำตาลมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี และวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ทำให้ บมจ.อ้อยและน้ำตาลตะวันออก สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการกระบวนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย
สำหรับธุรกิจผลิตน้ำตาลทรายนั้น บริษัทฯ ถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก โดยฤดูกาลหีบอ้อยปี 56/57 โรงงานสามารถรองรับปริมาณอ้อยเข้าหีบได้ 32,000 ตันต่อวัน เพื่อผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายดิบไฮโพล น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และส่งจำหน่ายให้ลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ ขณะที่ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 59.8 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นผลิตจากชานอ้อย 55 เมกะวัตต์ และผลิตจากก๊าซชีวภาพอีก 4.8 เมกะวัตต์ โดยทำสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แก่ กฟภ.และ กฟผ. รวม 31 เมกะวัตต์ ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 150,000 ลิตรต่อวัน และมีกำลังการผลิตก๊าซซีวภาพเพื่อนำมาใช้แทนเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอีก 123,000 ลบ.ม.ต่อวัน นอกจากนี้ แต่ละปียังสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีได้ 20,000 ตัน