xs
xsm
sm
md
lg

บทวิจัยกรุงศรี เรื่อง เศรษฐกิจโลกปี 2557 และแนวโน้มปี 2558

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปี 2557: เศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราต่ำและอ่อนแรงเกินคาด
- ช่วงครึ่งปีแรก ภาวะตีบตันทางการเมือง ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่ไร้พลังขับเคลื่อน
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแกนหลักยังคงเปราะบาง และไม่ถ้วนทั่ว
- กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EMs) อยู่ในช่วงชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ โดยกลุ่ม BRICS ชะลอตัวแรงเกินคาด
- การผ่อนคลายนโยบายการเงิน และความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจช่วยพยุงการเติบโตในยามที่ปัจจัยลบรุมเร้า
- ช่วงครึ่งปีหลัง เริ่มเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัว
-เหตุการณ์ผิดคาดช่วงท้ายปี 2557 ทั้งการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทรุด และการใช้จ่ายภาครัฐต่ำกว่าเป้า อาจส่งผลต่อเนื่องทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2558 ไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์
 

ประเด็นหลักที่มีนัยต่อทิศทางเศรษฐกิจและการเงินโลกปี 2558 ผลจากระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน และการใช้นโยบายการเงินที่ไม่สอดคล้องกันของประเทศมหาอำนาจ ย่อมก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกมากขึ้น
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจปี 2558 ยังอยู่บนเส้นทางการฟื้นตัวที่ไม่ราบเรียบ
- พลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้อง การลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโต
- ความต่างของนโยบายการเงินของประเทศแกนหลัก และการร่วงลงของราคาน้ำมันโลก ส่งผลต่อตลาดการเงิน และทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทย
-ประเด็นหลักที่มีนัยต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2558 ได้แก่
1) ความต่างของภาวะเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายการเงินในประเทศแกนหลักของโลก
2) ผลเชิงบวกจากการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก
3) ทิศทางการเมืองในประเทศ
- ทิศทางการฟื้นตัวที่ต่างกันในหลายระดับนำไปสู่การดำเนินนโยบายที่อาจต่างกันมากขึ้น
- กลุ่มประเทศเกิดใหม่มีแนวโน้มเติบโตใกล้เคียงปีก่อนหน้า เนื่องจากยังมีช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ราคาน้ำมันดิบโลก ปัจจัยที่อาจหนุนการเติบโต และเพิ่มความคล่องตัวในการใช้นโยบายเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจโลกปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
ปี 2557 : เศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราต่ำและอ่อนแรงเกินคาด
เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า และเผชิญต่อความเสี่ยงสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันชั้นนำของโลกหลายแห่งทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ต่างปรับลดมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกลงมาอย่างพร้อมเพรียงกัน จุดสนใจของปีนี้อยู่ที่ระดับการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศแกนหลักที่มีความแตกต่างกันมากขึ้น และนโยบายการเงินที่ไม่สอดคล้องกันเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

ประเด็นสำคัญในปี 2558 ที่จะมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน รวมทั้งทิศทางนโยบายการเงินของไทย ได้แก่

1) ความต่างของภาวะเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายการเงินในประเทศแกนหลักของโลก (Divergence of economic conditions and monetary policy) ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทยเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อทิศทางนโยบายการเงินในแต่ละประเทศ ตลอดจนกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะมีส่วนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลก
 
2) ผลจากการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก นับเป็นปัจจัยด้านบวกที่จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านประเทศผู้บริโภค และนำเข้าน้ำมัน เช่น ไทย
 
3) ทิศทางการเมืองในประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม แม้การเปลี่ยนแปลงกฎกติกา (Regulatory changes) ที่รออยู่เบื้องหน้าอาจสร้างความกังวลต่อบางภาคธุรกิจ แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในปี 2558 นับเป็นความหวังที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อขจัดอุปสรรค และเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น