หุ้นใหญ่ไม่วิ่ง ขณะที่หุ้นเล็กพุ่งแรง แม้ระยะยาวดัชนีตลาดหุ้นไทยยังเป็น “ขาขึ้น” แต่นักวิเคราะห์เตือนนักลงทุนราย่อยเพิ่มความระวังโดน “ทุบตลาด” แนะจับตาความไม่แน่นอนของทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปี 2558 ด้านสภาพตลาดทุนเตรียมเข้าพบ รมว.คลัง ชี้แจงความจำเป็นต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุน LTF
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ และรักษาการประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ทางสภาตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง คนใหม่ เพื่อชี้แจงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ด้วยการคงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่จะหมดอายุในปี 2559 เนื่องจากมองว่ากองทุนนี้เป็นส่วนช่วยให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพ
“การลงทุนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 ปี จากเดิมมี LTF มีสัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพียง 5-6% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 9-10% รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีกองทุนดังกล่าวต่อไป เนื่องจากมีส่วนช่วยคนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ระดับกลาง ที่ต้องการลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก” นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลพิจารณาที่จะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทางสภาตลาดทุนไทยจะเสนอกองทุนในรูปแบบใหม่ที่จะมีรูปแบบผสมระหว่างสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หุ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาล เพื่อที่จะให้มีความหลากหลายในกองทุนมากขึ้น จากเดิม LTF จะลงทุนในหุ้นทั้งหมด ขณะที่ระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้ถือครองยาวขึ้นเป็น 6-8 ปี จากเดิมระยะ 5 ปี
นายไพบูลย์ กล่าวถึงภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน ว่า แบ่งเป็น 2 ตลาดคือ ตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยหากพิจารณาความเคลื่อนไหวในหุ้น SET 50 จะเห็นว่า ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไม่ได้มาก และมีแนวโน้มที่จะยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าพิจารณาหุ้นขนาดกลางและเล็ก หรือหุ้นที่อยู่ใน SET 100 และตลาดเอ็มเอไอ ก็ต้องยอมรับว่ามีภาพการเก็งกำไรสูง
“ต้องยอมรับว่าการซื้อขายหุ้นขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นไอพีโอ มีการเก็งกำไรสูง เนื่องจากสภาพตลาดทุนไทยคึกคัก และภาพการปรับตัวขึ้นได้แรงถึง 100% ก็น่าจะเกิดจากการเก็งกำไรมากกว่าปัจจัยของมูลค่าพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ดังนั้น นักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น” นายไพบูลย์ กล่าว
สอดคล้องกับ นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาด mai เพิ่มขึ้นถึง 70.43% แม้จะแสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพในการลงทุนมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายทุ่มตลาดเพื่อปรับฐานดัชนีก่อนจะปรับตัวกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านจิตวิทยาที่ 1,600 จุดอีกครั้ง
“การที่ดัชนี mai ปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องแม้จะแสดงว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพที่จะเพิ่มเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายปรับฐานดัชนีขนิด “ขายภายในวันเดียว” มากขึ้น ซึ่งหากเกิดภาพดังกล่าวดัชนีหุ้นไทยก็คงปั่นป่วนระยะหนึ่งทีเดียว แม้โดยสรุปจะสามารถทดสอบ 1,600 จุดได้ก็ตาม” นายประกิต กล่าว
พร้อมกันนี้ ได้สรุปภาพรวมการถือครองหุ้นของกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบันยังมีฐานกำไรที่สูงสามารถขายออกมาได้อีก เนื่องจากยังคงเฉลี่ยต้นทุนที่ระดับดัชนีเพียง 1,300 จุด ขณะที่ดัชนี ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,580 จุดแล้ว ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ
“เม็ดเงินที่เข้ามาหนุนดัชนีระยะนี้ยังคงเป็นนักลงทุนสถาบัน และกองทุน เนื่องจากต่างชาติยังซื้อกลับในสัดส่วนที่น้อยมาก ก็ต้องรอดูว่าหากมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางพื้นที่จะสามารถกระตุ้นจิตวิทยาการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะโดยภาพรวมเศรฐกิจไทยก็น่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่า ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกลุ่มกองทุนในระยะ 1-2 ปีนี้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดในปี 2559 โดยอาจเห็นภาพนักลงทุนเข้าซื้ออย่างหนาแน่นช่วงใกล้สิ้นสุด หากรัฐบาลพิจารณาต่ออายุออกไปอีก 2 ปี จาก 5 ปี เป็น 7 ปีเพื่อใช้สิทธิทางภาษีอย่างเต็มที่
ขณะที่ดัชนีปิดตลาดวันที่ 15 กันยายน 2557 ไปที่ 1,579.12 จุด ลดลง 2.24 จุด เปลี่ยนแปลง -0.14% มูลค่าการซื้อขาย 37,350.18 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ 1,583.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,575.30 จุด สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 1,302.15 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 378.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 737.38 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 186.61 ล้านบาท
ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวดัชนีถูกกดดันด้วยหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Energy นำโดย PTT ขณะที่กลุ่ม Property และ Food ช่วยพยุงการปรับถอยของตลาด พร้อมคาดการณ์วันนี้ดัชนีมีโอกาสเผชิญการแกว่งผันผวนในกรอบ 1,570-1,585 จุด โดยเตือนให้เพิ่มความระวังดัชนีจะปรับตัวลงมาปิดต่ำ 1,570 จุด เพราะอาจทำให้หุ้นเหวี่ยงตัวลดลงแรง อย่างไรก็ตาม ให้น้ำหนักว่าความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนอาจช่วยผลักดันดัชนีปรับขึ้นทดสอบ 1,590-1,600 จุด ในที่สุด
พร้อมแนะนำ เก็งกำไรรายตัวแบบตั้งจุดตัดขาดทุน โดยนักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดดัชนียืนเหนือ 1,570 จุด ได้ จะยังรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบ 1,600 จุด แนะนำให้ “ถือส่วนทุนต่ำเพื่อลุ้นขึ้นต่อ และเสี่ยงซื้อเก็งกำไรเพิ่ม” แต่แนะนำให้ “ชะลอการลงทุนเพื่อประเมินจุดซื้อ หากดัชนีหลุด 1,560 จุด ลงมา” โดยการลงทุนจากนี้ควรกำหนด stop loss เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงประกอบทุกครั้ง ส่วนพอร์ตกลางถึงยาว แนะนำ “ใช้จังหวะอ่อนตัวของดัชนีเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นนำตลาด เช่น ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์” ส่วน laggard อย่าง สื่อสาร น่าสนใจในเชิงความเสี่ยงในการปรับลงจำกัด
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ และรักษาการประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ทางสภาตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง คนใหม่ เพื่อชี้แจงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ด้วยการคงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่จะหมดอายุในปี 2559 เนื่องจากมองว่ากองทุนนี้เป็นส่วนช่วยให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพ
“การลงทุนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 ปี จากเดิมมี LTF มีสัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพียง 5-6% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 9-10% รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีกองทุนดังกล่าวต่อไป เนื่องจากมีส่วนช่วยคนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ระดับกลาง ที่ต้องการลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก” นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลพิจารณาที่จะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทางสภาตลาดทุนไทยจะเสนอกองทุนในรูปแบบใหม่ที่จะมีรูปแบบผสมระหว่างสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หุ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาล เพื่อที่จะให้มีความหลากหลายในกองทุนมากขึ้น จากเดิม LTF จะลงทุนในหุ้นทั้งหมด ขณะที่ระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้ถือครองยาวขึ้นเป็น 6-8 ปี จากเดิมระยะ 5 ปี
นายไพบูลย์ กล่าวถึงภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน ว่า แบ่งเป็น 2 ตลาดคือ ตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยหากพิจารณาความเคลื่อนไหวในหุ้น SET 50 จะเห็นว่า ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไม่ได้มาก และมีแนวโน้มที่จะยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าพิจารณาหุ้นขนาดกลางและเล็ก หรือหุ้นที่อยู่ใน SET 100 และตลาดเอ็มเอไอ ก็ต้องยอมรับว่ามีภาพการเก็งกำไรสูง
“ต้องยอมรับว่าการซื้อขายหุ้นขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นไอพีโอ มีการเก็งกำไรสูง เนื่องจากสภาพตลาดทุนไทยคึกคัก และภาพการปรับตัวขึ้นได้แรงถึง 100% ก็น่าจะเกิดจากการเก็งกำไรมากกว่าปัจจัยของมูลค่าพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ดังนั้น นักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น” นายไพบูลย์ กล่าว
สอดคล้องกับ นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาด mai เพิ่มขึ้นถึง 70.43% แม้จะแสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพในการลงทุนมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายทุ่มตลาดเพื่อปรับฐานดัชนีก่อนจะปรับตัวกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านจิตวิทยาที่ 1,600 จุดอีกครั้ง
“การที่ดัชนี mai ปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องแม้จะแสดงว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพที่จะเพิ่มเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายปรับฐานดัชนีขนิด “ขายภายในวันเดียว” มากขึ้น ซึ่งหากเกิดภาพดังกล่าวดัชนีหุ้นไทยก็คงปั่นป่วนระยะหนึ่งทีเดียว แม้โดยสรุปจะสามารถทดสอบ 1,600 จุดได้ก็ตาม” นายประกิต กล่าว
พร้อมกันนี้ ได้สรุปภาพรวมการถือครองหุ้นของกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบันยังมีฐานกำไรที่สูงสามารถขายออกมาได้อีก เนื่องจากยังคงเฉลี่ยต้นทุนที่ระดับดัชนีเพียง 1,300 จุด ขณะที่ดัชนี ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,580 จุดแล้ว ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ
“เม็ดเงินที่เข้ามาหนุนดัชนีระยะนี้ยังคงเป็นนักลงทุนสถาบัน และกองทุน เนื่องจากต่างชาติยังซื้อกลับในสัดส่วนที่น้อยมาก ก็ต้องรอดูว่าหากมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางพื้นที่จะสามารถกระตุ้นจิตวิทยาการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะโดยภาพรวมเศรฐกิจไทยก็น่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่า ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกลุ่มกองทุนในระยะ 1-2 ปีนี้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดในปี 2559 โดยอาจเห็นภาพนักลงทุนเข้าซื้ออย่างหนาแน่นช่วงใกล้สิ้นสุด หากรัฐบาลพิจารณาต่ออายุออกไปอีก 2 ปี จาก 5 ปี เป็น 7 ปีเพื่อใช้สิทธิทางภาษีอย่างเต็มที่
ขณะที่ดัชนีปิดตลาดวันที่ 15 กันยายน 2557 ไปที่ 1,579.12 จุด ลดลง 2.24 จุด เปลี่ยนแปลง -0.14% มูลค่าการซื้อขาย 37,350.18 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ 1,583.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,575.30 จุด สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 1,302.15 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 378.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 737.38 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 186.61 ล้านบาท
ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวดัชนีถูกกดดันด้วยหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Energy นำโดย PTT ขณะที่กลุ่ม Property และ Food ช่วยพยุงการปรับถอยของตลาด พร้อมคาดการณ์วันนี้ดัชนีมีโอกาสเผชิญการแกว่งผันผวนในกรอบ 1,570-1,585 จุด โดยเตือนให้เพิ่มความระวังดัชนีจะปรับตัวลงมาปิดต่ำ 1,570 จุด เพราะอาจทำให้หุ้นเหวี่ยงตัวลดลงแรง อย่างไรก็ตาม ให้น้ำหนักว่าความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนอาจช่วยผลักดันดัชนีปรับขึ้นทดสอบ 1,590-1,600 จุด ในที่สุด
พร้อมแนะนำ เก็งกำไรรายตัวแบบตั้งจุดตัดขาดทุน โดยนักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดดัชนียืนเหนือ 1,570 จุด ได้ จะยังรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบ 1,600 จุด แนะนำให้ “ถือส่วนทุนต่ำเพื่อลุ้นขึ้นต่อ และเสี่ยงซื้อเก็งกำไรเพิ่ม” แต่แนะนำให้ “ชะลอการลงทุนเพื่อประเมินจุดซื้อ หากดัชนีหลุด 1,560 จุด ลงมา” โดยการลงทุนจากนี้ควรกำหนด stop loss เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงประกอบทุกครั้ง ส่วนพอร์ตกลางถึงยาว แนะนำ “ใช้จังหวะอ่อนตัวของดัชนีเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นนำตลาด เช่น ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์” ส่วน laggard อย่าง สื่อสาร น่าสนใจในเชิงความเสี่ยงในการปรับลงจำกัด