ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นใหญ่ไม่วิ่ง ขณะที่หุ้นเล็กพุ่งแรง แม้ระยะยาวดัชนีตลาดหุ้นไทยยังเป็น “ขาขึ้น” แต่นักวิเคราะห์เตือนนักลงทุนราย่อยเพิ่มความระวังโดน “ทุบตลาด” แนะจับตาความไม่แน่นอนของทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ในปี 2558 ด้านสภาพตลาดทุนเตรียมเข้าพบ รมว.คลัง ชี้แจงความจำเป็นต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีกอลทุน LTF
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ และรักษาการประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ทางสภาตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบนายสมหมาย ภาษี รมว.คลังคนใหม่ เพื่อชี้แจงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTFด้วยการคงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่จะหมดอายุในปี 2559 เนื่องจากมองว่ากองทุนนี้เป็นส่วนช่วยให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพ
“การลงทุนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 จากเดิมมี LTF มีสัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพียง 5-6% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 9-10% รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีกองทุนดังกล่าวต่อไป เนื่องจากมีส่วนช่วยคนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ระดับกลาง ที่ต้องการลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก” นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลพิจารณาที่จะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทางสภาตลาดทุนไทยจะเสนอกองทุนในรูปแบบใหม่ที่จะมีรูปแบบผสมระหว่างสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หุ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลเพื่อที่จะให้มีความหลากหลายในกองทุนมากขึ้น จากเดิม LTF จะลงทุนในหุ้นทั้งหมด ขณะที่ระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้ถือครองยาวขึ้นเป็น 6-8 ปี จากเดิมระยะ 5 ปี
นายไพบูลย์ กล่าวถึงภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน ว่า แบ่งเป็น 2 ตลาดคือ ตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยหากพิจารณาความเคลื่อนไหวในหุ้น SET 50 จะเห็นว่าราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไม่ได้มาก และมีแนวโน้มที่จะยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าพิจารณาหุ้นขนาดกลางและเล็ก หรือหุ้นที่อยู่ใน SET 100 และตลาดเอ็มเอไอ ก็ต้องยอมรับว่ามีภาพการเก็งกำไรสูง
"ต้องยอมรับว่าการซื้อขายหุ้นขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นไอพีโอ มีการเก็งกำไรสูง เนื่องจากสภาพตลาดทุนไทยคึกคัก และภาพการปรับตัวขึ้นได้แรงถึง 100% ก็น่าจะเกิดจากการเก็งกำไรมากกว่าปัจจัยของมูลค่าพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ดังนั้นนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น " นายไพบูลย์ กล่าว
สอดคล้องกับนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเชียพลัส ระบุ ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาด mai เพิ่มขึ้นถึง 70.43% แม้จะแสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพในการลงทุนมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายทุ่มตลาดเพื่อปรับฐานดัชนีก่อนจะปรับตัวกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านจิตวิทยาที่ 1,600 จุดอีกครั้ง
“การที่ดัชนี mai ปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องแม้จะแสดงว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพที่จะเพิ่มเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายปรับฐานดัชนีขนิด “ขายภายในวันเดียว” มากขึ้น ซึ่งหากเกิดภาพดังกล่าวดัชนีหุ้นไทยก็คงปั่นป่วนระยะหนึ่งทีเดียว แม้โดยสรุปจะสามารถทดสอบ 1600 จุดได้ก็ตาม” นายประกิต กล่าว
พร้อมกันนี้ได้สรุปภาพรวมการถือครองหุ้นของกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบันยังมีฐานกำไรที่สูงสามารถขายออกมาได้อีกเนื่องจากยังคงเฉลี่ยต้นทุนที่ระดับดัชนีเพียง 1,300 จุด ขณะที่ดัชนี ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,580 จุดแล้ว ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ
“เม็ดเงินที่เข้ามาหนุนดัชนีระยะนี้ยังคงเป็นนักลงทุนสถาบัน และกองทุน เนื่องจากต่างชาติยังซื้อกลับในสัดส่วนที่น้อยมาก ก็ต้องรอดูว่าหากมีการยกเลิกกฏอัยการศึกในบางพื้นที่จะสามารถกระตุ้นจิตวิทยาการลงทุนได้มาก น้อยแค่ไหนเพราะโดยภาพรวมเศรฐกิจไทยก็น่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกลุ่มกองทุนในระยะ 1 - 2 ปีนี้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดในปี 2559 โดยอาจเห็นภาพนักลงทุนเข้าซื้ออย่างหนาแน่นช่วงใกล้สิ้นสุด หากรัฐบาลพิจารณาต่ออายุออกไปอีก 2 ปีจาก 5 ปี เป็น 7 ปีเพื่อใช้สิทธิทางภาษีอย่างเต็มที่
ขณะที่ดัชนีปิดตลาดวันที่ 15 กันยายน 2557 ไปที่ 1,579.12 จุด ลดลง 2.24 จุด เปลี่ยนแปลง -0.14% มูลค่าการซื้อขาย 37,350.18 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ 1,583.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,575.30 จุด สถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,302.15 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 378.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 737.38 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 186.61 ล้านบาท
ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กสิกรไทยเสรุปความเคลื่อนไหวดัชนีถูกกดดันด้วยหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Energy นำโดย PTT ขณะที่กลุ่ม Property และ Food ช่วยพยุงการปรับถอยของตลาด พร้อมคาดการณ์วันนี้ดัชนีมีโอกาสเผชิญการแกว่งผันผวนในกรอบ 1,570-1,585 จุด โดยเตือนให้เพิ่มความระวังดัชนีจะปรับตัวลงมาปิดต่ำ 1,570 จุด เพราะอาจทำให้หุ้นเหวี่ยงตัวลดลงแรง อย่างไรก็ตาม ให้น้ำหนักว่าความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนอาจช่วยผลักดันดัชนีปรับขึ้นทดสอบ 1,590-1,600 จุด ในที่สุด
พร้อมแนะนำ เก็งกำไรรายตัวแบบตั้งจุดตัดขาดทุน โดยนักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดดัชนียืนเหนือ 1,570 จุด ได้ จะยังรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบ 1,600 จุด แนะนำให้ "ถือส่วนทุนต่ำเพื่อลุ้นขึ้นต่อ และ เสี่ยงซื้อเก็งกำไรเพิ่ม" แต่แนะนำให้ "ชะลอการลงทุนเพื่อประเมินจุดซื้อ หากดัชนีหลุด 1,560 จุด ลงมา" โดยการลงทุนจากนี้ควรกำหนด stop loss เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงประกอบทุกครั้ง ส่วนพอร์ตกลางถึงยาว แนะนำ "ใช้จังหวะอ่อนตัวของดัชนีเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นนำตลาด อาทิ ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์" ส่วน laggard อย่าง สื่อสาร น่าสนใจในเชิงความเสี่ยงในการปรับลงจำกัด
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ และรักษาการประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ทางสภาตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบนายสมหมาย ภาษี รมว.คลังคนใหม่ เพื่อชี้แจงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTFด้วยการคงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่จะหมดอายุในปี 2559 เนื่องจากมองว่ากองทุนนี้เป็นส่วนช่วยให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพ
“การลงทุนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 จากเดิมมี LTF มีสัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพียง 5-6% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 9-10% รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีกองทุนดังกล่าวต่อไป เนื่องจากมีส่วนช่วยคนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ระดับกลาง ที่ต้องการลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก” นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลพิจารณาที่จะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทางสภาตลาดทุนไทยจะเสนอกองทุนในรูปแบบใหม่ที่จะมีรูปแบบผสมระหว่างสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หุ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลเพื่อที่จะให้มีความหลากหลายในกองทุนมากขึ้น จากเดิม LTF จะลงทุนในหุ้นทั้งหมด ขณะที่ระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้ถือครองยาวขึ้นเป็น 6-8 ปี จากเดิมระยะ 5 ปี
นายไพบูลย์ กล่าวถึงภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน ว่า แบ่งเป็น 2 ตลาดคือ ตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยหากพิจารณาความเคลื่อนไหวในหุ้น SET 50 จะเห็นว่าราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไม่ได้มาก และมีแนวโน้มที่จะยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าพิจารณาหุ้นขนาดกลางและเล็ก หรือหุ้นที่อยู่ใน SET 100 และตลาดเอ็มเอไอ ก็ต้องยอมรับว่ามีภาพการเก็งกำไรสูง
"ต้องยอมรับว่าการซื้อขายหุ้นขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นไอพีโอ มีการเก็งกำไรสูง เนื่องจากสภาพตลาดทุนไทยคึกคัก และภาพการปรับตัวขึ้นได้แรงถึง 100% ก็น่าจะเกิดจากการเก็งกำไรมากกว่าปัจจัยของมูลค่าพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ดังนั้นนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น " นายไพบูลย์ กล่าว
สอดคล้องกับนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเชียพลัส ระบุ ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาด mai เพิ่มขึ้นถึง 70.43% แม้จะแสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพในการลงทุนมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายทุ่มตลาดเพื่อปรับฐานดัชนีก่อนจะปรับตัวกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านจิตวิทยาที่ 1,600 จุดอีกครั้ง
“การที่ดัชนี mai ปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องแม้จะแสดงว่านักลงทุนรายย่อยมีศัยภาพที่จะเพิ่มเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกขายปรับฐานดัชนีขนิด “ขายภายในวันเดียว” มากขึ้น ซึ่งหากเกิดภาพดังกล่าวดัชนีหุ้นไทยก็คงปั่นป่วนระยะหนึ่งทีเดียว แม้โดยสรุปจะสามารถทดสอบ 1600 จุดได้ก็ตาม” นายประกิต กล่าว
พร้อมกันนี้ได้สรุปภาพรวมการถือครองหุ้นของกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบันยังมีฐานกำไรที่สูงสามารถขายออกมาได้อีกเนื่องจากยังคงเฉลี่ยต้นทุนที่ระดับดัชนีเพียง 1,300 จุด ขณะที่ดัชนี ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,580 จุดแล้ว ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ
“เม็ดเงินที่เข้ามาหนุนดัชนีระยะนี้ยังคงเป็นนักลงทุนสถาบัน และกองทุน เนื่องจากต่างชาติยังซื้อกลับในสัดส่วนที่น้อยมาก ก็ต้องรอดูว่าหากมีการยกเลิกกฏอัยการศึกในบางพื้นที่จะสามารถกระตุ้นจิตวิทยาการลงทุนได้มาก น้อยแค่ไหนเพราะโดยภาพรวมเศรฐกิจไทยก็น่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกลุ่มกองทุนในระยะ 1 - 2 ปีนี้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดในปี 2559 โดยอาจเห็นภาพนักลงทุนเข้าซื้ออย่างหนาแน่นช่วงใกล้สิ้นสุด หากรัฐบาลพิจารณาต่ออายุออกไปอีก 2 ปีจาก 5 ปี เป็น 7 ปีเพื่อใช้สิทธิทางภาษีอย่างเต็มที่
ขณะที่ดัชนีปิดตลาดวันที่ 15 กันยายน 2557 ไปที่ 1,579.12 จุด ลดลง 2.24 จุด เปลี่ยนแปลง -0.14% มูลค่าการซื้อขาย 37,350.18 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ 1,583.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,575.30 จุด สถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,302.15 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 378.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 737.38 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 186.61 ล้านบาท
ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กสิกรไทยเสรุปความเคลื่อนไหวดัชนีถูกกดดันด้วยหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Energy นำโดย PTT ขณะที่กลุ่ม Property และ Food ช่วยพยุงการปรับถอยของตลาด พร้อมคาดการณ์วันนี้ดัชนีมีโอกาสเผชิญการแกว่งผันผวนในกรอบ 1,570-1,585 จุด โดยเตือนให้เพิ่มความระวังดัชนีจะปรับตัวลงมาปิดต่ำ 1,570 จุด เพราะอาจทำให้หุ้นเหวี่ยงตัวลดลงแรง อย่างไรก็ตาม ให้น้ำหนักว่าความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนอาจช่วยผลักดันดัชนีปรับขึ้นทดสอบ 1,590-1,600 จุด ในที่สุด
พร้อมแนะนำ เก็งกำไรรายตัวแบบตั้งจุดตัดขาดทุน โดยนักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดดัชนียืนเหนือ 1,570 จุด ได้ จะยังรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบ 1,600 จุด แนะนำให้ "ถือส่วนทุนต่ำเพื่อลุ้นขึ้นต่อ และ เสี่ยงซื้อเก็งกำไรเพิ่ม" แต่แนะนำให้ "ชะลอการลงทุนเพื่อประเมินจุดซื้อ หากดัชนีหลุด 1,560 จุด ลงมา" โดยการลงทุนจากนี้ควรกำหนด stop loss เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงประกอบทุกครั้ง ส่วนพอร์ตกลางถึงยาว แนะนำ "ใช้จังหวะอ่อนตัวของดัชนีเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นนำตลาด อาทิ ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์" ส่วน laggard อย่าง สื่อสาร น่าสนใจในเชิงความเสี่ยงในการปรับลงจำกัด