“บ้านปู” เฮ ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาไม่ต้องชำระค่าเสียหายมูลค่า 4 พันล้าน โครงการโรงไฟฟ้า หงสา สปป.ลาว ด้าน “ชนินท์” เล็งขอเงินค้ำประกันคืนจากศาลแพ่ง 4 พันล้านบาท ขณะที่ “ศิวะ งานทวี” จ่อฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ใน 30 วัน มั่นใจมีข้อมูลเพิ่มเติมชั้นฎีกา โบรกฯ แนะ “หลีกเลี่ยง” หลังปัจจุบันราคาสูงกว่าหุ้นกลุ่มพลังงานด้วยกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ว่า บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ได้ร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย “H” เพื่อระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการชั่วคราวสำหรับการซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 9 กันยายน 2557 เพื่อรอฟังคำพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในเวลาประมาณ 10.30 น. กรณีนายศิวะ งานทวี และกลุ่มบริษัทของนายศิวะ ที่ได้ยื่นฟ้องค่าเสียหายจาก BANPU เป็นมูลค่า 6.3 หมื่นล้านบาท ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ที่เมือง หงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (โครงการหงสา)
ทั้งนี้ ช่วงบ่ายทนายความของ บมจ.บ้านปูเปิดเผยว่า ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 ที่พิพากษาให้ บมจ.บ้านปูและบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ชดใช้ค่าเสียหายแก่กลุ่มงานทวีเป็นค่าข้อมูลจำนวน 4 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์เป็นเงินรายปี ปี 2558-2570 ปีละ 860 ล้านบาท และ ปี 2571-2582 ปีละ 1.38 พันล้านบาท
โดย บมจ.บ้านปู หรือ BANPU แจ้งผลการตัดสินต่อ ตลท.ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำตัดสินของศาลแพ่ง โดยให้เหตุผลว่า บมจ.บ้านปู กระทำการโดยสุจริตทั้งก่อนและหลังการเข้าทำสัญญาร่วมพัฒนาโครงการ และ บมจ.บ้านปูไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่ง ดังนั้น บริษัทฯ จะพิจารณาที่จะขอรับเงินค้ำประกันคืนจากศาลแพ่งงจำนวน 4 พันล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลแพ่งมีคำสั่งให้บริษัทวางหลังประกันไว้หลังศาลแพ่งมีคำสั่งให้บ้านปูแพ้คดี
อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทคดีความดังกล่าวนี้น่าจะสิ้นสุดในอีก 2-3 ปีข้างหน้า หลังศาลฎีกามีคำสั่งในคดีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม โครงการโรงไฟฟ้าหงสาที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงขนาด 1.8 พันเมกะวัต ที่ สปป.ลาว ก็ยังเดินหน้าไป เบื้องต้นคืบหน้าไปแล้ว 90% คาดว่า จะจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ยูนิตแรกในกลางปี 2558
ด้าน นายศิวะ งานทวี กล่าวว่า เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวข้างต้น ทางนายศิวะและพวกก็จะดำเนินการยื่นฎีกาคำพิพากษาภายใน 30 วัน และหากไม่ทันก็จะยื่นขอขยายเวลา โดยยอมรับว่าไม่สามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมในชั้นศาลได้ ดังนั้น จะศึกษารายละเอียดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
**แนะเลี่ยงราคาสูงเกิน**
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น BANPU อ่อนลง 0.74% ทันทีที่ ตลท.ปลดเครื่องหมาย H ในการซื้อขายรอบบ่าย โดยมาอยู่ที่ 33.75 บาท ลดลง 0.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 361.60 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.29 น. และปิดตลาดไปที่ 32.25 บาท ลดลง 1.75 บาท เปลี่ยนแปลง 5.15% มูลค่าการซื้อขาย 1,655,241 ล้านบาท โดยราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 34 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 33.50 บาท
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเชียพลัส คาดการณ์ว่า กรณีดังกล่าวกลุ่มงานทวีน่าจะใช้สิทธิในการยื่นอุทรณ์ ดังนั้น ในเชิงคดีจึงยังไม่ถืงว่าสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บมจ.บ้านปู ก็ไม่มีการตั้งสำรองวงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท ที่อาจต้องชำระให้กับกลุ่มงานทวีไว้แต่อย่างใด ประกอบกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบันก็ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 15% ตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อรับข่าวดังกล่าวไปแล้ว
“บ้านปูเคยเทรดที่ประมาณกว่า 40 บาท ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ระดับกว่า 30 บาท จากหลายปัจจัย ผลกระทบของลักษณะธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา กระแสข่าวดังกล่าวก็ถือว่าส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน และแม้ว่าขณะนี้บ้านปูจะยังไม่ต้องจ่ายเงินให้คู่กรณี แต่ในทางคดีก็ถือว่ายังไม่สิ้นสุด และการดำเนินงานในชั้นศาลก็คงอาศัยระยะเวลา ดังนั้น ราคาคงไม่เคลื่อนไหวไปอีกระยะหนึ่ง” นายประกิต กล่าว
สอดคล้องกับนายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ธนชาต ระบุหุ้น บมจ.บ้านปู ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ระดับ PE 20 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วยกันที่เทรดอยู่ที่ระดับ PE 10-11 เท่า ถือว่านักลงทุนเก็งกำไรข่าวดังกล่าวขึ้นมาที่ราคาสูงมากแล้ว ดังนั้น ราคาจึงเริ่มอ่อนตัวลงเมื่อผลการตัดสินออกมาเป็นไปตามคาดการณ์ แต่ก็ยังไม่ถือว่าคดีสิ้นสุดเนื่องจากกลุ่มงานทวียังสามารถยื่นอุทธณ์ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ว่า บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ได้ร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย “H” เพื่อระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการชั่วคราวสำหรับการซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 9 กันยายน 2557 เพื่อรอฟังคำพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในเวลาประมาณ 10.30 น. กรณีนายศิวะ งานทวี และกลุ่มบริษัทของนายศิวะ ที่ได้ยื่นฟ้องค่าเสียหายจาก BANPU เป็นมูลค่า 6.3 หมื่นล้านบาท ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ที่เมือง หงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (โครงการหงสา)
ทั้งนี้ ช่วงบ่ายทนายความของ บมจ.บ้านปูเปิดเผยว่า ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 ที่พิพากษาให้ บมจ.บ้านปูและบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ชดใช้ค่าเสียหายแก่กลุ่มงานทวีเป็นค่าข้อมูลจำนวน 4 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์เป็นเงินรายปี ปี 2558-2570 ปีละ 860 ล้านบาท และ ปี 2571-2582 ปีละ 1.38 พันล้านบาท
โดย บมจ.บ้านปู หรือ BANPU แจ้งผลการตัดสินต่อ ตลท.ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำตัดสินของศาลแพ่ง โดยให้เหตุผลว่า บมจ.บ้านปู กระทำการโดยสุจริตทั้งก่อนและหลังการเข้าทำสัญญาร่วมพัฒนาโครงการ และ บมจ.บ้านปูไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่ง ดังนั้น บริษัทฯ จะพิจารณาที่จะขอรับเงินค้ำประกันคืนจากศาลแพ่งงจำนวน 4 พันล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลแพ่งมีคำสั่งให้บริษัทวางหลังประกันไว้หลังศาลแพ่งมีคำสั่งให้บ้านปูแพ้คดี
อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทคดีความดังกล่าวนี้น่าจะสิ้นสุดในอีก 2-3 ปีข้างหน้า หลังศาลฎีกามีคำสั่งในคดีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม โครงการโรงไฟฟ้าหงสาที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงขนาด 1.8 พันเมกะวัต ที่ สปป.ลาว ก็ยังเดินหน้าไป เบื้องต้นคืบหน้าไปแล้ว 90% คาดว่า จะจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ยูนิตแรกในกลางปี 2558
ด้าน นายศิวะ งานทวี กล่าวว่า เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวข้างต้น ทางนายศิวะและพวกก็จะดำเนินการยื่นฎีกาคำพิพากษาภายใน 30 วัน และหากไม่ทันก็จะยื่นขอขยายเวลา โดยยอมรับว่าไม่สามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมในชั้นศาลได้ ดังนั้น จะศึกษารายละเอียดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
**แนะเลี่ยงราคาสูงเกิน**
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น BANPU อ่อนลง 0.74% ทันทีที่ ตลท.ปลดเครื่องหมาย H ในการซื้อขายรอบบ่าย โดยมาอยู่ที่ 33.75 บาท ลดลง 0.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 361.60 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.29 น. และปิดตลาดไปที่ 32.25 บาท ลดลง 1.75 บาท เปลี่ยนแปลง 5.15% มูลค่าการซื้อขาย 1,655,241 ล้านบาท โดยราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 34 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 33.50 บาท
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเชียพลัส คาดการณ์ว่า กรณีดังกล่าวกลุ่มงานทวีน่าจะใช้สิทธิในการยื่นอุทรณ์ ดังนั้น ในเชิงคดีจึงยังไม่ถืงว่าสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บมจ.บ้านปู ก็ไม่มีการตั้งสำรองวงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท ที่อาจต้องชำระให้กับกลุ่มงานทวีไว้แต่อย่างใด ประกอบกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบันก็ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 15% ตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อรับข่าวดังกล่าวไปแล้ว
“บ้านปูเคยเทรดที่ประมาณกว่า 40 บาท ณ ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ระดับกว่า 30 บาท จากหลายปัจจัย ผลกระทบของลักษณะธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา กระแสข่าวดังกล่าวก็ถือว่าส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน และแม้ว่าขณะนี้บ้านปูจะยังไม่ต้องจ่ายเงินให้คู่กรณี แต่ในทางคดีก็ถือว่ายังไม่สิ้นสุด และการดำเนินงานในชั้นศาลก็คงอาศัยระยะเวลา ดังนั้น ราคาคงไม่เคลื่อนไหวไปอีกระยะหนึ่ง” นายประกิต กล่าว
สอดคล้องกับนายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ธนชาต ระบุหุ้น บมจ.บ้านปู ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ระดับ PE 20 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วยกันที่เทรดอยู่ที่ระดับ PE 10-11 เท่า ถือว่านักลงทุนเก็งกำไรข่าวดังกล่าวขึ้นมาที่ราคาสูงมากแล้ว ดังนั้น ราคาจึงเริ่มอ่อนตัวลงเมื่อผลการตัดสินออกมาเป็นไปตามคาดการณ์ แต่ก็ยังไม่ถือว่าคดีสิ้นสุดเนื่องจากกลุ่มงานทวียังสามารถยื่นอุทธณ์ได้