ปัจจัยภายนอกกดดันดัชนีหุ้นเดือนกันยายน ขณะที่ปัจจัยในประเทศเป็นเครื่องสนับสนุน นักวิเคราะห์เน้นกลยุทธ์ตั้งรับ เน้นสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่ต่างชาติชอบ ขณะเดียวกัน ผู้บริหาร บมจ.ไพลอนฟุ้ง อานิสงส์รัฐบาลใหม่หนุนจ่อยื่นประมูลงานใหม่กว่า 1.7 พันล้าน
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ระบุหุ้นไทยเดือนกันยายน น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,530-1,580 จุด โดยมีจุดพิจารณาตัดขาดทุนที่ 1,550 จุด โดยปัจจัยกดดันดัชนีส่วนใหญ่เป็นภาพรวมเหตุการณ์ต่างๆ ในต่างประเทศ ทั้งความตึงเครียดในอิรัก และยูเคร ที่ปะทุเป็นระยะ ประกอบกับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ซึ่งเริ่มมีท่าทีเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่ากำหนดที่ชัดเจนขึ้น โดยจะพิจารณาจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจหลายตัวประกอบกันอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป ประกอบกับเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ยังไม่มีท่าทีฟื้นตัว แม้ว่าท้ายที่สุด ธนาคารกลางยุโรป จะพิจารณาใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ แต่กว่าที่เม็ดเงินดังกล่าวจะเข้ามาเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจต้องใช้เวลา 2-5 เดือน
“ผมมองว่าที่ผ่านมา ประธานเฟดไม่เคยกล่าวถึงการรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาก่อน แต่ในแถลงการณ์ครั้งนี้กล่าวอย่างชัดเจนว่า แม้ตัวเลขการจ้างงานยังไม่ดีขึ้นดังที่คาดหวัง แต่จะมีการจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อประกอบการพิจารณา และจากการวิเคราะห์ของฝ่ายวิเคราะห์ บล.กรุงศรี เราคาดว่า นางเยเลน กำลังสร้างกระแสการรับรู้แต่เนิ่นๆ เพื่อให้ตลาดโลกเกิดการปรับตัว เมื่อถึงเวลาปรับขึ้นดอกเบี้ยจริงก็จะไม่สร้างผลกระทบมากมาย เพราะมีการปรับตัวไประดับหนึ่งแล้ว เช่นเมื่อครั้งปรับลด QE เริ่มจริงมกราคม 2557 แต่นางพูดตั้งแต่ธันวามคม 2556 ทำให้ถึงเวลาไม่มีผลกระทบอะไรเลย” นายธนเดช กล่าว
ดังนั้น แรงสนับสนุนทั้งเดือนกันยายนจึงน่าจะมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยนักลงทุนต่างคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาหุ้นกลุ่มที่นักลงทุนกลุ่มนี้สนใจลงทุนอย่างต่อเนื่องก็คือ กลุ่มธนาคาร สื่อสาร สำหรับตลาดทุนคาดหวังให้ยกเลิกกฏอัยการศึก เพราะจะเป็นการปลดล็อกทั้งด้านเม็ดเงินลงทุนในตลาดทุน และเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามาหมุนเวียนในประเทศผ่านธุรกิจท่องเที่ยว
ในส่วนของการลงทุนภาครัฐ นายธนเดช ยอมรับว่า กว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจริงก็ต้องรอไปกว่า 3 เดือน เพราะการพิจารณาลงทุน น่าจะเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เดิมที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟทางคู่ ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้ว ดังนั้น แม้ว่าหุ้นในกลุ่มรับเหมา กลุ่มวัสดุก่อสร้างจะปรับตัวขึ้นรับข่าวดังกล่าว แต่ก็ขึ้นได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
“อย่างแรกเลยที่รัฐบาลน่าจะเร่งดำเนินการคือ การยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะจะถือเป็นการปลดล็อกให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดทุนไทยได้คล่องตัวขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าหลายประเทศเขามีกฎเกณฑ์ แม้ว่ากองทุนอยากจะเข้ามาลงทุนก็ตาม นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวเองก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเป็นอะไรที่สามารถเสริมภาพคล่องในตลาดอุปโภคบริโภคได้อย่างรวดเร็ว เพราะก็ต้องยอมรับว่า เม็ดเงินลงทุนจากรัฐบาลกว่าจะอนุมัติ และปล่อยเงินเข้าระบบก็ต้องอาศัยเวลา และถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงรัฐบาลมีงบลงทุนอยู่ 2.6 ล้านล้านบาท การอนุมัติก็คงทำได้เพียงประมาณ 10% เท่านั้น ดังนั้น ก็คงเลือกเดินหน้าเฉพาะโครงการที่จำเป็นจริงๆ” นายธนเดช กล่าว
สอดคล้องกับ นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายน ว่า การมีรัฐบาลเข้ามาบริหาร น่าจะทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมองภาพรวม GDP Growth ปี 2558 จะกลับมาเติบโตในกรอบ 3.5-4% ด้วยแรงหนุนจากทั้งการบริโภค และการลงทุนของรัฐ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศ บนการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวชัดเจนในปี 2558
นายเทิดศักดิ์ แนะนำให้เก็งกำไรหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งน่าจะทำให้มีกระแสการเก็งกำไรเข้ามาต่อเนื่องในกลุ่มรับเหมาฯ ทั้งนี้ ตัวเลือกการลงทุนส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เช่น PYLON และ SEAFCO
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้อำนวยการ บล.กสิกรไทย ระบุทิศทาตลาดหุ้นช่วงนี้ เคลื่อนไหวตามปัจจัยเศรษฐกิจต่งประเทศ ทั้งฝั่งยุโรปซึ่งเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ จนธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB มีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้าย QE สหรัฐฯ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน (asset allocation) มาตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่ภาวะเศรษฐกิจดีกว่าโดยเฉพาะจีน รวมถึงไทยด้วย แม้ว่าความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ระยะสั้น
หันมาดูปัจจัยในประเทศ คือ การลุ้นนโยบายเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ทำให้หุ้นกลุ่มรับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง อสังหาฯ ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมีออกมา รวมถึงโครงการที่จะมีการประมูลในอนาคต ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังลุ้นให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลกลับมาไทยอีกครั้งหนึ่ง และเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว
“ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า SET index อาจแกว่งขึ้นไป 1,580 จุด หรือสูงกว่าที่ 1,600 จุด ในช่วงเดือน ส.ค-ก.ย.ได้ แต่ถึงจุดนั้นก็ต้องระมัดระวังอีกครั้ง เพราะ Trigger fund หลายกองรอขายอยู่ ขณะที่ Valuation หุ้นไทยจะเริ่มตึง รวมถึงข่าวดีเรื่องภายในประเทศก็น่าจะรับรู้ไปพอสมควรแล้ว” นายกวี กล่าว
หุ้นแนะนำช่วงนี้ผมขอแนะนำหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงการพื้นฐานในประเทศ รวมถึงพลังงานทดแทน เช่น STEC CK SCB KTB HMRPO HEMRAJ PS SPALI SPCG CENTEL AAV TICON เป็นต้นครับ
ขณะที่ น.ส.ธีรดา บล.ฟิลลิป คาดการณ์ว่า ในช่วงต้นเดือนกันยายน ดัชนีน่าจะยังอยู่ในช่วงของการพักฐาน เนื่องจากหุ้นขึ้นรับข่าวจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไปแล้ว จากนี้ไปต้องรอประเมินผลการดำเนินงานของรัฐบาล โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งก็น่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงไตรมาส 4/57 เป็นต้นไป ส่วนการประกาศผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็น่าจะเริ่มส่งผลกระตุ้นตลาดฯ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายน ประกอบกับปัจจัยกระทบจากต่างชาติก็ยังทรงตัว พร้อมมองกรอบแนวรับที่ 1,530 จุด และแนวต้าน 1,585-1,590 จุด
“แม้ระยะยาวดัชนีจะปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน แต่ระยะสั้นคงปรับฐานเพื่อที่จะขึ้นต่อได้อย่างมั่นคง ดัชนั้น ช่วงครึ่งเดือนแรกน่าจะยังปรับฐาน เพราะไม่มีภาพที่ชัดเจนทั้งด้านบวก และด้านลบ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นรูปธรรมก็คงไตรมาส 4/57 ต่อเนื่องไป 2558 มากกว่า ประกอบกับ ณ P/E ระดับนี้ถือว่าสูงเกินไป”
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ระบุหุ้นไทยเดือนกันยายน น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,530-1,580 จุด โดยมีจุดพิจารณาตัดขาดทุนที่ 1,550 จุด โดยปัจจัยกดดันดัชนีส่วนใหญ่เป็นภาพรวมเหตุการณ์ต่างๆ ในต่างประเทศ ทั้งความตึงเครียดในอิรัก และยูเคร ที่ปะทุเป็นระยะ ประกอบกับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ซึ่งเริ่มมีท่าทีเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่ากำหนดที่ชัดเจนขึ้น โดยจะพิจารณาจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจหลายตัวประกอบกันอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป ประกอบกับเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ยังไม่มีท่าทีฟื้นตัว แม้ว่าท้ายที่สุด ธนาคารกลางยุโรป จะพิจารณาใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ แต่กว่าที่เม็ดเงินดังกล่าวจะเข้ามาเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจต้องใช้เวลา 2-5 เดือน
“ผมมองว่าที่ผ่านมา ประธานเฟดไม่เคยกล่าวถึงการรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาก่อน แต่ในแถลงการณ์ครั้งนี้กล่าวอย่างชัดเจนว่า แม้ตัวเลขการจ้างงานยังไม่ดีขึ้นดังที่คาดหวัง แต่จะมีการจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อประกอบการพิจารณา และจากการวิเคราะห์ของฝ่ายวิเคราะห์ บล.กรุงศรี เราคาดว่า นางเยเลน กำลังสร้างกระแสการรับรู้แต่เนิ่นๆ เพื่อให้ตลาดโลกเกิดการปรับตัว เมื่อถึงเวลาปรับขึ้นดอกเบี้ยจริงก็จะไม่สร้างผลกระทบมากมาย เพราะมีการปรับตัวไประดับหนึ่งแล้ว เช่นเมื่อครั้งปรับลด QE เริ่มจริงมกราคม 2557 แต่นางพูดตั้งแต่ธันวามคม 2556 ทำให้ถึงเวลาไม่มีผลกระทบอะไรเลย” นายธนเดช กล่าว
ดังนั้น แรงสนับสนุนทั้งเดือนกันยายนจึงน่าจะมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยนักลงทุนต่างคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาหุ้นกลุ่มที่นักลงทุนกลุ่มนี้สนใจลงทุนอย่างต่อเนื่องก็คือ กลุ่มธนาคาร สื่อสาร สำหรับตลาดทุนคาดหวังให้ยกเลิกกฏอัยการศึก เพราะจะเป็นการปลดล็อกทั้งด้านเม็ดเงินลงทุนในตลาดทุน และเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามาหมุนเวียนในประเทศผ่านธุรกิจท่องเที่ยว
ในส่วนของการลงทุนภาครัฐ นายธนเดช ยอมรับว่า กว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจริงก็ต้องรอไปกว่า 3 เดือน เพราะการพิจารณาลงทุน น่าจะเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เดิมที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟทางคู่ ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้ว ดังนั้น แม้ว่าหุ้นในกลุ่มรับเหมา กลุ่มวัสดุก่อสร้างจะปรับตัวขึ้นรับข่าวดังกล่าว แต่ก็ขึ้นได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
“อย่างแรกเลยที่รัฐบาลน่าจะเร่งดำเนินการคือ การยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะจะถือเป็นการปลดล็อกให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดทุนไทยได้คล่องตัวขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าหลายประเทศเขามีกฎเกณฑ์ แม้ว่ากองทุนอยากจะเข้ามาลงทุนก็ตาม นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวเองก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเป็นอะไรที่สามารถเสริมภาพคล่องในตลาดอุปโภคบริโภคได้อย่างรวดเร็ว เพราะก็ต้องยอมรับว่า เม็ดเงินลงทุนจากรัฐบาลกว่าจะอนุมัติ และปล่อยเงินเข้าระบบก็ต้องอาศัยเวลา และถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงรัฐบาลมีงบลงทุนอยู่ 2.6 ล้านล้านบาท การอนุมัติก็คงทำได้เพียงประมาณ 10% เท่านั้น ดังนั้น ก็คงเลือกเดินหน้าเฉพาะโครงการที่จำเป็นจริงๆ” นายธนเดช กล่าว
สอดคล้องกับ นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายน ว่า การมีรัฐบาลเข้ามาบริหาร น่าจะทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมองภาพรวม GDP Growth ปี 2558 จะกลับมาเติบโตในกรอบ 3.5-4% ด้วยแรงหนุนจากทั้งการบริโภค และการลงทุนของรัฐ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศ บนการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวชัดเจนในปี 2558
นายเทิดศักดิ์ แนะนำให้เก็งกำไรหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งน่าจะทำให้มีกระแสการเก็งกำไรเข้ามาต่อเนื่องในกลุ่มรับเหมาฯ ทั้งนี้ ตัวเลือกการลงทุนส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เช่น PYLON และ SEAFCO
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้อำนวยการ บล.กสิกรไทย ระบุทิศทาตลาดหุ้นช่วงนี้ เคลื่อนไหวตามปัจจัยเศรษฐกิจต่งประเทศ ทั้งฝั่งยุโรปซึ่งเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ จนธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB มีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้าย QE สหรัฐฯ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน (asset allocation) มาตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่ภาวะเศรษฐกิจดีกว่าโดยเฉพาะจีน รวมถึงไทยด้วย แม้ว่าความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ระยะสั้น
หันมาดูปัจจัยในประเทศ คือ การลุ้นนโยบายเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ทำให้หุ้นกลุ่มรับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง อสังหาฯ ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมีออกมา รวมถึงโครงการที่จะมีการประมูลในอนาคต ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังลุ้นให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลกลับมาไทยอีกครั้งหนึ่ง และเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว
“ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า SET index อาจแกว่งขึ้นไป 1,580 จุด หรือสูงกว่าที่ 1,600 จุด ในช่วงเดือน ส.ค-ก.ย.ได้ แต่ถึงจุดนั้นก็ต้องระมัดระวังอีกครั้ง เพราะ Trigger fund หลายกองรอขายอยู่ ขณะที่ Valuation หุ้นไทยจะเริ่มตึง รวมถึงข่าวดีเรื่องภายในประเทศก็น่าจะรับรู้ไปพอสมควรแล้ว” นายกวี กล่าว
หุ้นแนะนำช่วงนี้ผมขอแนะนำหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงการพื้นฐานในประเทศ รวมถึงพลังงานทดแทน เช่น STEC CK SCB KTB HMRPO HEMRAJ PS SPALI SPCG CENTEL AAV TICON เป็นต้นครับ
ขณะที่ น.ส.ธีรดา บล.ฟิลลิป คาดการณ์ว่า ในช่วงต้นเดือนกันยายน ดัชนีน่าจะยังอยู่ในช่วงของการพักฐาน เนื่องจากหุ้นขึ้นรับข่าวจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไปแล้ว จากนี้ไปต้องรอประเมินผลการดำเนินงานของรัฐบาล โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งก็น่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงไตรมาส 4/57 เป็นต้นไป ส่วนการประกาศผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็น่าจะเริ่มส่งผลกระตุ้นตลาดฯ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายน ประกอบกับปัจจัยกระทบจากต่างชาติก็ยังทรงตัว พร้อมมองกรอบแนวรับที่ 1,530 จุด และแนวต้าน 1,585-1,590 จุด
“แม้ระยะยาวดัชนีจะปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน แต่ระยะสั้นคงปรับฐานเพื่อที่จะขึ้นต่อได้อย่างมั่นคง ดัชนั้น ช่วงครึ่งเดือนแรกน่าจะยังปรับฐาน เพราะไม่มีภาพที่ชัดเจนทั้งด้านบวก และด้านลบ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นรูปธรรมก็คงไตรมาส 4/57 ต่อเนื่องไป 2558 มากกว่า ประกอบกับ ณ P/E ระดับนี้ถือว่าสูงเกินไป”