เงินบาทแตะ 31.78 แข็งค่าสุด รอบ 8 เดือน เหตุเงินไหลเข้า-เทขายหลังหลุด 31.90 คาดผันผวนต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า รอความชัดเจนนโยบายดอกเบี้ยสหรัฐฯ
นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ระบุ ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ 31.87-31.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าที่ปิดตลาดระดับ 31.94-31.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยสาเหตุที่ค่าเงินกลับมาปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักลงทุนบางกลุ่มมีการเทขายขาดทุนหลังจากค่าเงินมีการปรับแข็งค่าหลุดที่ระดับ 32.00 บาท ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นไทย และตลาดตราสารหนี้ด้วย
โดยค่าเงินบาทปิดตลาดช่วงเย็นนี้ที่ระดับ 31.78-31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ 31.87-31.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 โดยยังเป็นผลจากเงินยังไหลเข้าในภูมิภาค ประกอบกับการที่ค่าเงินบาทหลุดที่ระดับ 31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงมีแรงเทขายออกมาอีก
คาดบาทป่วนถึงต้นปีหน้า
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า เงินบาทที่มีแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้นั้น เป็นผลมาจากมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯยังไม่มีความชัดเจนถึงระยะในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้มีเงินไหลเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูง แต่ก็น่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะคาดการณ์ว่ากรณีดังกล่าวจะมีความชัดเจนในต้นปีหน้า แต่เท่าที่เราประเมินไว้ ค่าเงินบาทในระดับที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในระดับ 3.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ และยังมีทิศทางที่อ่อนค่าในปีหน้า
ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัวในระดับ 2.00% ไปจนถึงสิ้นปี แต่แนวโน้มในปีหน้าอาจจะปรับขึ้นได้ หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจน ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อค่อยๆขยับขึ้นและทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่จะปรับขึ้น โดยคาดว่ายังมีช่องที่จะปรับขึ้นได้อีก 0.50-0.75%
นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ระบุ ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ 31.87-31.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าที่ปิดตลาดระดับ 31.94-31.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยสาเหตุที่ค่าเงินกลับมาปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักลงทุนบางกลุ่มมีการเทขายขาดทุนหลังจากค่าเงินมีการปรับแข็งค่าหลุดที่ระดับ 32.00 บาท ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นไทย และตลาดตราสารหนี้ด้วย
โดยค่าเงินบาทปิดตลาดช่วงเย็นนี้ที่ระดับ 31.78-31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ 31.87-31.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 โดยยังเป็นผลจากเงินยังไหลเข้าในภูมิภาค ประกอบกับการที่ค่าเงินบาทหลุดที่ระดับ 31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงมีแรงเทขายออกมาอีก
คาดบาทป่วนถึงต้นปีหน้า
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า เงินบาทที่มีแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้นั้น เป็นผลมาจากมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯยังไม่มีความชัดเจนถึงระยะในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้มีเงินไหลเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูง แต่ก็น่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะคาดการณ์ว่ากรณีดังกล่าวจะมีความชัดเจนในต้นปีหน้า แต่เท่าที่เราประเมินไว้ ค่าเงินบาทในระดับที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในระดับ 3.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ และยังมีทิศทางที่อ่อนค่าในปีหน้า
ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัวในระดับ 2.00% ไปจนถึงสิ้นปี แต่แนวโน้มในปีหน้าอาจจะปรับขึ้นได้ หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจน ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อค่อยๆขยับขึ้นและทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่จะปรับขึ้น โดยคาดว่ายังมีช่องที่จะปรับขึ้นได้อีก 0.50-0.75%