xs
xsm
sm
md
lg

มุมมองเศรษฐกิจโลกและกลยุทธ์การลงทุนสำหรับครึ่งปีหลัง 2014

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดยทีมจัดการการลงทุน
บลจ.ทิสโก้ จำกัด

ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรก อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะไม่สู้ดีนัก อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากสภาพอากาศที่หนาวจัด, ญี่ปุ่นที่การจับจ่ายใช้สอยมีความผันผวนจากการปรับขึ้นภาษี, และจีนที่ภาคการส่งออกและการบริโภคชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด ทำให้ทั้งปี 2014 นี้ เมื่อปรับผลกระทบอัตราการเติบโตที่ชะลอลงในไตรมาสที่ 1 ประมาณการ Global GDP (g) จะถูกปรับลดลงจาก 3.5% สู่ 3.2% (Bloomberg Consensus) โดยการขยายตัวหลักๆ จะยังคงมาจากกลุ่ม  Developed Markets
    
ในขณะที่ การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging Markets ค่อนข้างจะทรงตัวและมองว่าได้ทำจุดต่ำสุดไปแล้วใน 1H14 ผลบวกของการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของภาคการส่งออกที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจของหลายๆประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้อย่างกว้างขวาง
    
เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเป็นแบบเข้มงวดขึ้นแม้เราจะคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดีใน 2H14 ก็ตาม แต่โดยรวมๆแล้ว นโยบายการเงินของโลกยังคงอยู่ในโหมดผ่อนคลายอยู่ ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ยังคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
    
สหรัฐอเมริกา สภาพอากาศที่หนาวจัด รวมถึงตัวเลขสินค้าคงคลังที่สูงมากกว่าปกติในไตรมาสที่ 1 ทำให้ GDP (g) ออกมาน่าผิดหวัง อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าหลังจากสภาพอากาศกลับมาเป็นปกติ GDP (g) ก็จะปรับตัวดีขึ้น โดย GDP(g) สำหรับปี 2014 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.3% เทียบกับระดับ 1.9% ในปี 2013 เราเชื่อว่า ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจจะมาจากทุกภาคส่วน รวมไปถึงการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อไป
    
ยุโรป แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปจะออกมาดีกว่าเมื่อปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นผลมาจาก Fiscal drag ที่ลดลงต่อเนื่อง แต่ปัญหาเงินฝืดยังคงเป็นปัญหาหลักที่ฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนในช่วง 1H14 ซึ่งล่าสุด ECB ก็ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยเน้นไปที่การปรับต้นทุนทางการเงินให้ต่ำลง เพื่อเอื้อต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค เราเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะต้องให้เวลาธนาคารพาณิชย์ในการปรับตัวสักระยะ ซึ่งหากมาตรการข้างต้นไม่สามารถที่จะช่วยให้เศรษฐกิจปรับดีขึ้น แนวโน้มที่ ECB จะเริ่มนำมาตรการ QE ผ่านการเข้าซื้อ Asset-backed securities ก็จะมีความเป็นไปได้มากขึ้น
    
ญี่ปุ่น ผลกระทบจากการปรับขึ้น consumption tax ในเดือนเมษายน ทำให้ GDP (g) CY2Q14 มีแนวโน้มจะหดตัวลงจากการบริโภคภายในประเทศที่หดหายลงจากก่อนหน้านี้ที่มีการเร่งจับจ่ายใช้สอยทำให้ GDP(g) CY1Q14 ถูกผลักดันขึ้นไปสูงถึง 5.9% อย่างไรก็ตามอัตราการหดตัวลงที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะอยู่ที่ -3.3% ก่อนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งใน 2H14 โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.4% สอดคล้องกับ BoJ ที่ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ โดยมองว่า ผลกระทบจาก consumption tax จะเป็นผลกระทบเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น และในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้จะมีการประชุมเกี่ยวกับ 2nd growth strategies ที่จะทำต่อไปในอนาคต ซึ่งแผนนี้เป็นแผนที่ต่อมาจากการทำแผนในช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว โดยจะเน้นในเรื่องของการ reform สิ่งที่ตลาดคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้นี้ได้แก่การ reform ในส่วนของ corporate tax และการ reform ในเรื่องการการลงทุนของ Government Pension Investment Fund (GPIF) ตามที่สื่อในญี่ปุ่นได้รายงานไว้

จีน เศรษฐกิจจีนในปี 2014 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 7.2% โดยการดำเนินนโยบายต่างๆ จะยังคงเน้นในเรื่องของการ reform เศรษฐกิจจาก investment led มาเป็น consumption led จะทำให้ การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน จะถูกกดดันให้อยู่ในกรอบการเติบโตที่ policymakers ต้องการ ในส่วนของนโยบายการเงินเนื่องจาก รัฐบาลยังคงต้องการเห็นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ  ดังนั้นเราจึงไม่คิดว่านโยบายโดยรวม จะถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็น tightening มากขึ้น
    
ไทย หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองที่คลี่คลายลง และแนวทางของ คสช. มีความชัดเจนขึ้น ทำให้ นักวิเคราะห์ ต้องปรับประมาณการ GDP (g) และ EPS ของบริษัทจดทะเบียนฯ ขึ้น จากเดิมที่มองว่า การเมืองไทยจะวุ่นวายและลากยาวไปจนถึงสิ้นปี โดย consensus GDP(g) ในปีนี้ ถูกปรับขึ้นมา จาก 1.0% มาที่ 1.8-2.0% และปีหน้า คาดการณ์ไว้เฉลี่ยที่ 4.0-4.5% เป็นผลให้แนวโน้ม EPS ของตลาดในปีนี้จะถูกปรับขึ้นตามไปด้วย เราเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวเป็น sideway up เรายังคงให้ target  SET index ในปี 2014 ที่ประมาณ 1,450 จุด+/- 30 จุด คิดเป็นระดับ PER  ของ EPS1H15 ที่ 13.0-13.5x สำหรับ Upside risk  ในกรณีที่ไม่มีเหตุกังวลจากการ ปรับขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ เข้ามาช่วงปลายปี  อาจทำให้ SET Index ปิดสิ้นปี ที่ 1,485-1,540 จุด โดยการลงทุนต้องเน้นไปที่ stock selection ว่าบริษัทใดจะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากแผน roadmap ของ คสช. หรือบริษัทใดจะเป็นผู้เสียประโยชน์
    
 กลยุทธ์การลงทุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างสดใสใน 2H14 การขยายตัวหลักๆ จะยังคงมาจากกลุ่ม  Developed Market ในขณะที่ การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging Market ค่อนข้างจะทรงตัว ดังนั้นเรายังคงสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นต่อไปและ ขณะเดียวกันก็ เพิ่ม การลงทุนในหุ้นไทย สอดคล้องกับสภาวะการเมืองภายในประเทศที่สงบลงและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นในปีหน้า


กำลังโหลดความคิดเห็น