“ทิสโก้” แจ้งผลประกอบการไตรมา 2 กำไร 991.78 ล้าน ลดลง 14.4% ระบุตั้งสำรองเพิ่ม-ขาดทุนการขายรถที่ยึดมาได้ ขณะที่สินเชื่อหดตัวจากเช่าซื้อที่ลดลงตามยอดขายรถ และเอ็นพีแอลเพิ่ม 999 ล้านบาท จาก 1.89% เป็น 2.27% จากสินเชื่อเช่าซื้อเป็นหลัก
บริษัท ทิสโก้ไ ฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TICSO) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 57 มีกำไรสุทธิ 991.78 ล้านบาท ลดลง 167.35 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 57 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6.1% มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ที่ 3.2%จาก 3.0% ขณะที่ผลประกอบการงวด 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 1.9 พันล้านบาท ลดลง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ทิสโก้ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 8.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1.9% แต่ก็มีค่าใช้จ่ายหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า จำนวน 1,225 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 810 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดในตลาดรถมือสองเป็นหลัก
ส่วนเงินให้สินเชื่อรวม ณ วันที่ 30 มิ.ย.57 มีจำนวน 280,276 ล้านบาท ลดลง 4,379 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนตัว และปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงต้น โดยมีสัดส่วนสินเชื่อแบ่งเป็น สินเชื่อรายย่อย 69.9% สินเชื่อธุรกิจ 19.5% สินเชื่อเอสเอ็มอี 9.7% และสินเชื่ออื่นๆ 0.9%
สินเชื่อรายย่อยมีจำนวน 195,954 ล้านบาท ลดลง 1.8% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็นส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อ 179,947 ล้านบาท ลดลง 3,905.45 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.1% เป็นผลจากตลาดยานยนต์ที่ชะลอตัวลง โดยยอดขายรถยนต์ใหม่ภายในประเทศงวด (5 เดือนแรกของปี) อยู่ที่ 367,112 คัน ลดลง 42.2% จากช่วงเดียวกันของปี ตามภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคที่อ่อนตัว
สินเชื่อธุรกิจมียอดคงค้าง 54,601.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,795 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.4% จากไตรมาส 1 จากการขยายตัวของสินเืชื่อในกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสาธารณูปโภคและการบริการ แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนในประเทศค่อนข้างชะลอตัว ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (Car Inventory Financing) ตามความจำเป็นของการสต๊อกสินค้าของผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง เนื่องจากตลาดปรับเข้าสู่ภาวะที่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานมากขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และสินเชื่ออื่นๆ มียอดคงค้าง 2,496 ล้านบาท ลดลง จำนวน 67.77 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.6% จากไตรมาสแรก
ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไตรมาส 2 อยู่ที่ 2.27% เพิ่มขึ้นจาก 1.89% ในไตรมาสแรก จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ และการหดตัวของพอร์ตสินเชื่อรวม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ เอ็นพีแอลของรายย่อยในอัตรา 2.89% สินเชิ่อธุรกิจ 0.66% เอสเอ็มอี 1% โดยเอ็นพีแอลทั้งหมดมีจำนวน 6,366 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 999.89 ล้านบาท หรือเท่ากับ 18.6%
อย่างไรก็ตาม ทิสโก้ ตั้งค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและรายการขาดทุนจากการด้อยค่ารวม 1,225 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ เทียบกับ 810 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปีก่อน คิดเป็น 1.73%ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดในตลาดรถมือสองเป็นหลัก
บริษัท ทิสโก้ไ ฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TICSO) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 57 มีกำไรสุทธิ 991.78 ล้านบาท ลดลง 167.35 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 57 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6.1% มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ที่ 3.2%จาก 3.0% ขณะที่ผลประกอบการงวด 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 1.9 พันล้านบาท ลดลง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ทิสโก้ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 8.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1.9% แต่ก็มีค่าใช้จ่ายหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า จำนวน 1,225 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 810 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดในตลาดรถมือสองเป็นหลัก
ส่วนเงินให้สินเชื่อรวม ณ วันที่ 30 มิ.ย.57 มีจำนวน 280,276 ล้านบาท ลดลง 4,379 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนตัว และปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงต้น โดยมีสัดส่วนสินเชื่อแบ่งเป็น สินเชื่อรายย่อย 69.9% สินเชื่อธุรกิจ 19.5% สินเชื่อเอสเอ็มอี 9.7% และสินเชื่ออื่นๆ 0.9%
สินเชื่อรายย่อยมีจำนวน 195,954 ล้านบาท ลดลง 1.8% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็นส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อ 179,947 ล้านบาท ลดลง 3,905.45 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.1% เป็นผลจากตลาดยานยนต์ที่ชะลอตัวลง โดยยอดขายรถยนต์ใหม่ภายในประเทศงวด (5 เดือนแรกของปี) อยู่ที่ 367,112 คัน ลดลง 42.2% จากช่วงเดียวกันของปี ตามภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคที่อ่อนตัว
สินเชื่อธุรกิจมียอดคงค้าง 54,601.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,795 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.4% จากไตรมาส 1 จากการขยายตัวของสินเืชื่อในกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสาธารณูปโภคและการบริการ แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนในประเทศค่อนข้างชะลอตัว ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (Car Inventory Financing) ตามความจำเป็นของการสต๊อกสินค้าของผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง เนื่องจากตลาดปรับเข้าสู่ภาวะที่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานมากขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และสินเชื่ออื่นๆ มียอดคงค้าง 2,496 ล้านบาท ลดลง จำนวน 67.77 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.6% จากไตรมาสแรก
ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไตรมาส 2 อยู่ที่ 2.27% เพิ่มขึ้นจาก 1.89% ในไตรมาสแรก จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ และการหดตัวของพอร์ตสินเชื่อรวม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ เอ็นพีแอลของรายย่อยในอัตรา 2.89% สินเชิ่อธุรกิจ 0.66% เอสเอ็มอี 1% โดยเอ็นพีแอลทั้งหมดมีจำนวน 6,366 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 999.89 ล้านบาท หรือเท่ากับ 18.6%
อย่างไรก็ตาม ทิสโก้ ตั้งค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและรายการขาดทุนจากการด้อยค่ารวม 1,225 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ เทียบกับ 810 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปีก่อน คิดเป็น 1.73%ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดในตลาดรถมือสองเป็นหลัก