ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุสินเชื่อเดือน เม.ย.มียอดคงค้าง 9.56 ล้านล้านบาท เติบโต 8.48% ชะลอลงจาก 8.70% ในเดือน มี.ค. จากวันทำการที่น้อยกว่า เศรษฐกิจชะลอ คาดไตรมาส 2 ต่ำกว่า 7% จับตาสถานการณ์การเมือง ลุ้นรายใหญ่กระเตื้อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวน 9.56 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.02 หมื่นล้านบาท จากยอดคงค้างที่ 9.54 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งเป็นปริมาณการเพิ่มขึ้นที่น้อยกว่าที่เคยทำได้ที่ 4.49 หมื่นล้านบาทในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในลักษณะเดือนต่อเดือนที่ชะลอลงดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะสามารถอธิบายได้จากปัจจัยด้านฤดูกาลที่เดือนเมษายน มีจำนวนวันทำการน้อยกว่าเดือนมีนาคม ตามวันหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย
แต่เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) นั้น พบว่า ยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิดังกล่าวเติบโตชะลอลงจากร้อยละ 8.70 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 มาที่ร้อยละ 8.48 ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความต้องการสินเชื่อในภาพรวมที่อ่อนแรงลง ท่ามกลางปัญหาทางการเมืองในประเทศ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยที่ยังไม่สามารถหนุนการฟื้นตัวของการส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้านยอดเงินฝากกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืมมีจำนวนทั้งสิ้น 11.03 ล้านล้านบาท ลดลงเพียง 1.6 หมื่นล้านบาท จากระดับ 11.05 ล้านล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินฝากที่รวมกับตราสารหนี้ที่ออก และเงินให้กู้ยืมดังกล่าวยังคงเติบโตชะลอลงจากร้อยละ 7.54 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 มาที่ร้อยละ 7.16 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของเงินให้สินเชื่อที่ชะลอลงเช่นกัน
สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในเดือนเมษายน 2557 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากทั้งสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินฝากรวมกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินให้กู้ยืม ปรับตัวลดลง ดังสะท้อนให้เห็นผ่านอัตราส่วนสินเชื่อรวมต่อเงินฝากรวมกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม (Gross Loans to Deposits and Borrowings) เพิ่มขึ้นแตะระดับร้อยละ 90.07 เทียบกับร้อยละ 89.75 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557
ส่วนแนวโน้มการระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านั้น แม้ว่าภาวะการแข่งขันในภาพรวมตลาดเงินฝากจากผู้ออมรายย่อยคงจะบรรเทาความรุนแรงลง โดยเฉพาะในมิติของการแข่งขันด้านราคา ซึ่งสะท้อนการบริหารต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ในจังหวะที่การปล่อยสินเชื่อใหม่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่คาดว่ามีโอกาสเห็นโครงการเงินฝากระยะค่อนข้างยาวและโครงการเงินฝากพิเศษสำหรับลูกค้ารายย่อยเฉพาะกลุ่ม ตลอดจนการเสนอขาย Commercial Papers ให้แก่นักลงทุนสถาบันเป็นระยะๆ ตามกลยุทธ์ทางธุรกิจ และนโยบายการบริหารเงินของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง
โดยประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ความคืบหน้าในการผลักดันการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงเครื่องชี้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพราะจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน และการพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม อันจะมีนัยตามมาต่อการเติบโตของสินเชื่อ และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในระยะถัดไป
ทั้งนี้ สินเชื่อในเดือนแรกของไตรมาส 2/2557 ที่ยังส่งสัญญาณอ่อนแรงลงต่อเนื่อง ผ่านอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ชะลอลง กอปรกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม ยังน่าจะเผชิญแรงกดดันจากปัญหาความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย และลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง และการฟื้นตัวของการส่งออกที่เชื่องช้า ดังนั้นแล้วจึงมีโอกาสที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ณ สิ้นไตรมาส 2/2557 จะเติบโตชะลอลงต่ำกว่าร้อยละ 7.0 โดยประเด็นจับตาอยู่ที่การเติบโตของสินเชื่อภาคธุรกิจว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้หรือไม่ หลังจากที่ในไตรมาสแรกของปี 2557 รายงานตัวเลขที่ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ที่มียอดคงค้างสินเชื่อลดลงจากสิ้นไตรมาสก่อนหน้า ทำให้แรงขับเคลื่อนสินเชื่อในภาพรวมยังคงมาจากสินเชื่อรายย่อย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวน 9.56 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.02 หมื่นล้านบาท จากยอดคงค้างที่ 9.54 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งเป็นปริมาณการเพิ่มขึ้นที่น้อยกว่าที่เคยทำได้ที่ 4.49 หมื่นล้านบาทในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในลักษณะเดือนต่อเดือนที่ชะลอลงดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะสามารถอธิบายได้จากปัจจัยด้านฤดูกาลที่เดือนเมษายน มีจำนวนวันทำการน้อยกว่าเดือนมีนาคม ตามวันหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย
แต่เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) นั้น พบว่า ยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิดังกล่าวเติบโตชะลอลงจากร้อยละ 8.70 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 มาที่ร้อยละ 8.48 ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความต้องการสินเชื่อในภาพรวมที่อ่อนแรงลง ท่ามกลางปัญหาทางการเมืองในประเทศ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยที่ยังไม่สามารถหนุนการฟื้นตัวของการส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้านยอดเงินฝากกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืมมีจำนวนทั้งสิ้น 11.03 ล้านล้านบาท ลดลงเพียง 1.6 หมื่นล้านบาท จากระดับ 11.05 ล้านล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินฝากที่รวมกับตราสารหนี้ที่ออก และเงินให้กู้ยืมดังกล่าวยังคงเติบโตชะลอลงจากร้อยละ 7.54 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 มาที่ร้อยละ 7.16 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของเงินให้สินเชื่อที่ชะลอลงเช่นกัน
สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในเดือนเมษายน 2557 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากทั้งสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินฝากรวมกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินให้กู้ยืม ปรับตัวลดลง ดังสะท้อนให้เห็นผ่านอัตราส่วนสินเชื่อรวมต่อเงินฝากรวมกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม (Gross Loans to Deposits and Borrowings) เพิ่มขึ้นแตะระดับร้อยละ 90.07 เทียบกับร้อยละ 89.75 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557
ส่วนแนวโน้มการระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านั้น แม้ว่าภาวะการแข่งขันในภาพรวมตลาดเงินฝากจากผู้ออมรายย่อยคงจะบรรเทาความรุนแรงลง โดยเฉพาะในมิติของการแข่งขันด้านราคา ซึ่งสะท้อนการบริหารต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ในจังหวะที่การปล่อยสินเชื่อใหม่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่คาดว่ามีโอกาสเห็นโครงการเงินฝากระยะค่อนข้างยาวและโครงการเงินฝากพิเศษสำหรับลูกค้ารายย่อยเฉพาะกลุ่ม ตลอดจนการเสนอขาย Commercial Papers ให้แก่นักลงทุนสถาบันเป็นระยะๆ ตามกลยุทธ์ทางธุรกิจ และนโยบายการบริหารเงินของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง
โดยประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ความคืบหน้าในการผลักดันการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงเครื่องชี้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพราะจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน และการพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม อันจะมีนัยตามมาต่อการเติบโตของสินเชื่อ และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในระยะถัดไป
ทั้งนี้ สินเชื่อในเดือนแรกของไตรมาส 2/2557 ที่ยังส่งสัญญาณอ่อนแรงลงต่อเนื่อง ผ่านอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ชะลอลง กอปรกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม ยังน่าจะเผชิญแรงกดดันจากปัญหาความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย และลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง และการฟื้นตัวของการส่งออกที่เชื่องช้า ดังนั้นแล้วจึงมีโอกาสที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ณ สิ้นไตรมาส 2/2557 จะเติบโตชะลอลงต่ำกว่าร้อยละ 7.0 โดยประเด็นจับตาอยู่ที่การเติบโตของสินเชื่อภาคธุรกิจว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้หรือไม่ หลังจากที่ในไตรมาสแรกของปี 2557 รายงานตัวเลขที่ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ที่มียอดคงค้างสินเชื่อลดลงจากสิ้นไตรมาสก่อนหน้า ทำให้แรงขับเคลื่อนสินเชื่อในภาพรวมยังคงมาจากสินเชื่อรายย่อย