SCB EIC ระบุกรณีสหรัฐฯ ลดไทยสู่ระดับ Tier 3 กระทบอุตสาหกรรมกุ้ง และอาหารทะเลแช่แข็งมากสุด เหตุมีสัดส่วนส่งออกไปสหรัฐฯ มากสุด
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินกรณีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ หรือ TIP Report ประจำปี 2014 ซึ่งในปีนี้ไทยถูกปรับลดอันดับจากกลุ่ม Tier 2 Watch List ลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่ม Tier 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด หลังจากติดอยู่ในกลุ่ม Tier 2 Watch List มานานถึง 4 ปีติดต่อกัน
สำหรับผลกระทบที่น่าจับตามองคือ ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประมง เช่น กุ้ง และทูน่า การถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Tier 3 เป็นการเปิดทางไปสู่การใช้มาตรการการคว่ำบาตรทางการค้าจากรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไป โดยทำเนียบขาวจะทำการพิจารณาเกี่ยวกับการคว่ำบาตรไทยภายใน 90 วัน นับจากวันที่ถูกปรับลดอันดับ
โดยหากไทยถูกคว่ำบาตรจริงก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง และอุตสาหกรรมกุ้งค่อนข้างมาก เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้ากุ้ง และทูน่าจากไทย (share 40% และ 20% ตามลำดับ) รวมทั้งยังอาจมีผลในเชิงจิตวิทยาที่ประเทศคู่แข่งทางการค้าจะนำไปขยายผลเพื่อโจมตีอุตสาหกรรมการค้าของไทยว่ามีการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับต่อไป
ขณะเดียวกัน ยังเป็นสิ่งที่ทำลายภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก และอาจมีผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุน และการระงับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันสหรัฐฯ จะยังไม่มีมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่อกลุ่มประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต่ำสุดก็ตาม แต่นัยสำคัญของข่าวสารที่ได้ถูกกระจายออกไปแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก และอาจทำให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งทบทวนนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมประมง นอกจากนี้ ไทยยังอาจสูญเสียความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า และไม่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม รวมทั้งอาจถูกสหรัฐฯ คัดค้านไม่ให้ได้รับการให้ความช่วยเหลือจากสถาบันระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก เป็นต้น
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินกรณีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ หรือ TIP Report ประจำปี 2014 ซึ่งในปีนี้ไทยถูกปรับลดอันดับจากกลุ่ม Tier 2 Watch List ลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่ม Tier 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด หลังจากติดอยู่ในกลุ่ม Tier 2 Watch List มานานถึง 4 ปีติดต่อกัน
สำหรับผลกระทบที่น่าจับตามองคือ ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประมง เช่น กุ้ง และทูน่า การถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Tier 3 เป็นการเปิดทางไปสู่การใช้มาตรการการคว่ำบาตรทางการค้าจากรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไป โดยทำเนียบขาวจะทำการพิจารณาเกี่ยวกับการคว่ำบาตรไทยภายใน 90 วัน นับจากวันที่ถูกปรับลดอันดับ
โดยหากไทยถูกคว่ำบาตรจริงก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง และอุตสาหกรรมกุ้งค่อนข้างมาก เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้ากุ้ง และทูน่าจากไทย (share 40% และ 20% ตามลำดับ) รวมทั้งยังอาจมีผลในเชิงจิตวิทยาที่ประเทศคู่แข่งทางการค้าจะนำไปขยายผลเพื่อโจมตีอุตสาหกรรมการค้าของไทยว่ามีการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับต่อไป
ขณะเดียวกัน ยังเป็นสิ่งที่ทำลายภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก และอาจมีผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุน และการระงับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันสหรัฐฯ จะยังไม่มีมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่อกลุ่มประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต่ำสุดก็ตาม แต่นัยสำคัญของข่าวสารที่ได้ถูกกระจายออกไปแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก และอาจทำให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งทบทวนนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมประมง นอกจากนี้ ไทยยังอาจสูญเสียความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า และไม่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม รวมทั้งอาจถูกสหรัฐฯ คัดค้านไม่ให้ได้รับการให้ความช่วยเหลือจากสถาบันระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก เป็นต้น