ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะเผยแพร่รายงานประจำปีเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report – TIP Report) ประจำปี ๒๕๕๗ ในสัปดาห์หน้า ประเทศไทยได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในการให้ข้อมูลต่อประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของสำนักงาน TIP เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง และสถิติที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวน การตรวจจับ การดำเนินคดี และการพิจารณาบทลงโทษในปี ๒๕๕๖ ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ชี้แจงถึงความพยายามและความคืบหน้าในประเด็นต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดประโยชน์แก่ทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ไว้ในรายงานประเทศ (Country Report) ที่ไทยส่งให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าที่สำคัญในการปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เพื่อดำเนินมาตรการป้องกัน คุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ และที่สำคัญที่สุดคือการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ทั้งนี้ การค้ามนุษย์ถือเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดรูปแบบหนึ่ง ประเทศไทยจึงมีความมุ่งมั่นที่จะกำจัดการแสวงประโยชน์โดยไร้มนุษยธรรมดังกล่าว
สถิติจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายฝ่ายไทย แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวน ดำเนินคดี และพิจารณาโทษผู้กระทำผิด โดยในปี ๒๕๕๖ มีทั้งสิ้น ๖๗๔ กรณี ซึ่งสูงกว่าปี ๒๕๕๕ ซึ่งมี ๓๐๖ กรณีกว่าสองเท่า และในปี ๒๕๕๖ มีการดำเนินคดีผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ในกระบวนการยุติธรรมของไทยรวม ๔๘๓ ราย เพิ่มขึ้นกว่า ๕ เท่าจากปี ๒๕๕๕ ซึ่งมีอยู่ ๙๓ ราย นอกจากนี้ มีผู้ต้องหาได้รับโทษเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๒๒๕ ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า ๔ เท่าจากจำนวน ๔๙ รายในปี ๒๕๕๕ อนึ่ง การสอบสวนดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในปี ๒๕๕๖ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีข้าราชการตำรวจ ๓๓ นายและข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีก ๕ นาย ถูกลงโทษหรือกำลังถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี
การบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มจำนวนขึ้นในปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นผลโดยตรงของการยกระดับความร่วมมือระหว่างส่วนราชการของไทย โดยเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น และการใช้หลักวิธีติดตามและรายงานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยได้ระดมกำลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพเรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมประมง กองบังคับการตำรวจน้ำ รวมทั้ง กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้กำหนดไว้เพื่อปรับลดสถานะของประเทศต่างๆ ในรายงาน TIP ประจำปี ๒๕๕๗ แล้ว จะเห็นได้ว่า การดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาของไทยสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม มีผลการดำเนินงานซึ่งคืบหน้าไปกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 P’s ซึ่งประกอบไปด้วย Prosecution and Law Enforcementมาตรการด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) ) Protection and Recovery (มาตรการด้านการคุ้มครองและฟื้นฟูเยียวยา) Prevention (มาตรการด้านการป้องกัน) Policy and Mechanisms to drive the policy (การกำหนดนโยบายและกลไกในการผลักดันนโยบาย) และ Partnership (มาตรการในการสร้างหุ้นส่วน) นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติในลักษณะที่เป็นองค์กรและพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสตรีและเด็ก เมื่อปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาด้วย
นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังของไทย ทั้งในเชิงป้องกันและปราบปราม ทำให้สถานการณ์โดยรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของไทยในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างถูกทาง และทุกภาคส่วนจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อไป เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากประเทศไทย
ทั้งนี้ นอกจากการดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมาของไทยจะเห็นผลเป็นรูปธรรมกว่าการดำเนินการที่ผ่านมาในอดีต ดังที่ได้ปรากฎจากสถิติการจับกุมดำเนินคดีที่สูงขึ้นและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานแล้ว ยังจะเห็นได้ว่า เป็นการดำเนินงานที่ความคืบหน้ามากกว่าการดำเนินการของหลายประเทศที่ได้รับการพิจารณาปรับลดสถานะตามรายงาน TIP ในปีที่ผ่านมาอีกด้วย
นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าที่สำคัญในการปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เพื่อดำเนินมาตรการป้องกัน คุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ และที่สำคัญที่สุดคือการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ทั้งนี้ การค้ามนุษย์ถือเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดรูปแบบหนึ่ง ประเทศไทยจึงมีความมุ่งมั่นที่จะกำจัดการแสวงประโยชน์โดยไร้มนุษยธรรมดังกล่าว
สถิติจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายฝ่ายไทย แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวน ดำเนินคดี และพิจารณาโทษผู้กระทำผิด โดยในปี ๒๕๕๖ มีทั้งสิ้น ๖๗๔ กรณี ซึ่งสูงกว่าปี ๒๕๕๕ ซึ่งมี ๓๐๖ กรณีกว่าสองเท่า และในปี ๒๕๕๖ มีการดำเนินคดีผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ในกระบวนการยุติธรรมของไทยรวม ๔๘๓ ราย เพิ่มขึ้นกว่า ๕ เท่าจากปี ๒๕๕๕ ซึ่งมีอยู่ ๙๓ ราย นอกจากนี้ มีผู้ต้องหาได้รับโทษเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๒๒๕ ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า ๔ เท่าจากจำนวน ๔๙ รายในปี ๒๕๕๕ อนึ่ง การสอบสวนดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในปี ๒๕๕๖ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีข้าราชการตำรวจ ๓๓ นายและข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีก ๕ นาย ถูกลงโทษหรือกำลังถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี
การบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มจำนวนขึ้นในปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นผลโดยตรงของการยกระดับความร่วมมือระหว่างส่วนราชการของไทย โดยเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น และการใช้หลักวิธีติดตามและรายงานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยได้ระดมกำลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพเรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมประมง กองบังคับการตำรวจน้ำ รวมทั้ง กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้กำหนดไว้เพื่อปรับลดสถานะของประเทศต่างๆ ในรายงาน TIP ประจำปี ๒๕๕๗ แล้ว จะเห็นได้ว่า การดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาของไทยสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม มีผลการดำเนินงานซึ่งคืบหน้าไปกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 P’s ซึ่งประกอบไปด้วย Prosecution and Law Enforcementมาตรการด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) ) Protection and Recovery (มาตรการด้านการคุ้มครองและฟื้นฟูเยียวยา) Prevention (มาตรการด้านการป้องกัน) Policy and Mechanisms to drive the policy (การกำหนดนโยบายและกลไกในการผลักดันนโยบาย) และ Partnership (มาตรการในการสร้างหุ้นส่วน) นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติในลักษณะที่เป็นองค์กรและพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสตรีและเด็ก เมื่อปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาด้วย
นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังของไทย ทั้งในเชิงป้องกันและปราบปราม ทำให้สถานการณ์โดยรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของไทยในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างถูกทาง และทุกภาคส่วนจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อไป เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากประเทศไทย
ทั้งนี้ นอกจากการดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมาของไทยจะเห็นผลเป็นรูปธรรมกว่าการดำเนินการที่ผ่านมาในอดีต ดังที่ได้ปรากฎจากสถิติการจับกุมดำเนินคดีที่สูงขึ้นและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานแล้ว ยังจะเห็นได้ว่า เป็นการดำเนินงานที่ความคืบหน้ามากกว่าการดำเนินการของหลายประเทศที่ได้รับการพิจารณาปรับลดสถานะตามรายงาน TIP ในปีที่ผ่านมาอีกด้วย