xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ ยังเติบโต ชี้ทำเลรอบนอกคึกคักรับอสังหาฯ กำลังซื้อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุรเชษฐ กองชีพ
ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ ในไตรมาส 1 ปี 57 อาจได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์ประเทศ แต่ดีมานด์ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ระบุพื้นที่ค้าปลีกใจกลางเมืองกว่า 40,000 ตร.ม. ต้องเลื่อนไปเปิดไตรมาสถัดไป ระบุพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ สัดส่วนมากสุดรวม 3.4 ล้านตร.ม. รองรับโครงการบ้านจัดสร จำนวนประชากรที่มากขึ้น ขณะที่โครงการค้าปลีกในใจกลางเมือง และเมืองท่องเที่ยว ชูสินค้าระดับพรีเมียม ดึงลูกค้าไฮเอนด์มาใช้บริการ

สถานการณ์การเมืองในช่วงปลายปี และต่อเนื่องมายังไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2557 ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งธุรกิจหลากหลายประเภทในประเทศไทย รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก แม้ว่าความต้องการของคนในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อ้างอิงจากจากรายตลาดพื้นที่ค้าปลีกฉบับล่าสุดของฝ่ายวิจัย จากคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

พื้นที่ค้าปลีกประมาณ 6,500 ตารางเมตรที่สร้างเสร็จ และเปิดใบริการในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2557 ในขณะที่อีกมากกว่า 40,000 ตารางเมตร เลื่อนกำหนดเปิดให้บริการออกไปอีกหนึ่งไตรมาส ซึ่งในเรื่องของอุปทานใหม่นั้น นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ค้าปลีกบางโครงการไม่สามารถสร้างเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ.2557 ตามแผนที่วางไว้ได้ โดยเฉพาะโครงการพื้นที่ค้าปลีกในพื้นที่ใจกลางเมือง อุปทานพื้นที่ค้าปลีกในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกมีสัดส่วนมากที่สุดด้วยพื้นที่รวมประมาณ 3,499,420 ตารางเมตร หรือประมาณ 53% ของอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ เนื่องจากว่ามีโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ดังนั้น จึงเป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาก และเป็นกำลังซื้อสำคัญของโครงการพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทฯ และพื้นที่โดยรอบ ดังนั้น จึงมีคอมมูนิตีมอลล์ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกเพื่อรองรับความต้องการของคนในพื้นที่

“พื้นที่ค้าปลีกประมาณ 866,530 ตารางเมตร ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2557 โดยที่ประมาณ 559,140 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ของศูนย์การค้า และอีกประมาณ 269,4000 ตารางเมตร เป็นคอมมูนิตีมอลล์ คอมมูนิตีมอลล์ส่วนใหญ่ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2557 ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก แม้ว่าคอมมูนิตีมอลล์ในกรุงเทพมหานครบางโครงการจะไม่ประสบความสำเร็จ และไม่สามารถรักษาความนิยมไว้ได้เมื่อเวลาผ่านไป”  

อัตราการเช่าของโครงการพื้นที่ค้าปลีกทุกประเภทมากกว่า 95% ยกเว้นพื้นที่ค้าปลีกสนับสนุนที่อยู่ที่ประมาณต่ำกว่า 90% นายสุรเชษฐ กองชีพ ยังได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โครงการพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ มีอัตราการเช่าที่สูง โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง นอกจากนี้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แบรนด์สินค้าต่างประเทศยังคงต้องการเปิดร้านในประเทศไทย โดยเฉพาะศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ อีกทั้งแบรนด์สินค้าของไทยเองก็ขยายสาขาอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย อัตราการเช่าในทุกทำเลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทย ร้านค้า แบรนด์สินค้าทั้งของต่างประเทศ และของไทยต่างก็มองหาพื้นที่ในการขยายสาขาทั้งในศูนย์การค้าปัจจุบัน รวมทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่จะเปิดให้ผู้เช่าสามารถจับจองพื้นที่เช่าได้ล่วงหน้า และส่วนใหญ่จะมีผู้เช่าจับจองพื้นที่เช่าจนเต็มก่อนที่โครงการจะสร้างเสร็จ ในส่วนของผู้ประกอบการ และผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีกก็มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เช่าภายในโครงการ และเพิ่มแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของโครงการ

“ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกรายใหญ่พยายามที่จะเพิ่มช่องทางการขายสินค้าโดยตรงต่อลูกค้าด้วยการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน โดยผู้ประกอบการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ ในสมาร์ทโฟน และเว็บไซต์เพื่อรองรับการซื้อสินค้าออนไลน์ นอกจากนี้ ยังสามารถส่งโปรโมชัน และส่วนลดต่างๆ ไปทางสมาร์ทโฟนได้โดยตรง”

นอกจากนี้ ศูนย์การค้าหลายแห่งในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และบางจังหวัดท่องเที่ยวพยายามที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ และลักชัวรี โดยการเพิ่มร้านแบรนด์ลักชัวรี หรือเพิ่มพื้นที่เพื่อสินค้าแบรนด์ลักชัวรีโดยเฉพาะเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น