ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีเผยผลการจัดทำ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบผู้ประกอบการ SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่ม
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยถึงผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2557 ว่า จากความเห็นของผู้ประกอบการ SMEกว่า 900 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง
นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออก และการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 1 พบว่า "การเมือง" เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง" นายเบญจรงค์กล่าว
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยถึงผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2557 ว่า จากความเห็นของผู้ประกอบการ SMEกว่า 900 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง
นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออก และการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 1 พบว่า "การเมือง" เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง" นายเบญจรงค์กล่าว