ฝ่ายวิจัย บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส จำกัด (AFC Research) ยังคงมองราคาทองคำสปอตด้วยภาพของราคาทองคำที่ยังคงมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวผันผวนได้ตามปัจจัยในภัยคุกคาม และความตึงเครียดทางการเมืองที่มีต่อรัสเซียที่ต้องเกาะติดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
สัปดาห์ก่อน ตัวเลขจีนได้ประกาศดัชนีผู้จัดการผู้จัดซื้อภาคการผลิตที่ได้แสดงภาพชะลอตัวลงบ้าง โดยภาพรวมจะตัวเลขฯ ของ China Federation of Logistics and Purchasing (CFLP) ที่ 50.3 จาก 50.2 และของ HSBC ที่ 48 จาก 48.5 ได้ส่งผลให้เกิดแรงซื้อกลับทั้งสินทรัพย์เสี่ยง และสินทรัพย์ปลอดภัยจากภาพที่ออกมาไม่ได้แย่มากอย่างที่ได้เคยคาดการณ์ไว้
ตัวเลขดัชนีผู้จัดการผู้จัดซื้อภาคการผลิตในอังกฤษ และสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศ 55.3 จาก 56.2 53.7 จาก 53.2 ตามลำดับได้ส่งผลต่อราคาทองคำให้เคลื่อนไหวในกรอบขาลง
ตัวเลขดัชนีผู้จัดการผู้จัดซื้อภาคการก่อสร้าง และภาคการบริการในอังกฤษที่ได้ประกาศ 62.5 จาก 62.6 และ 57.6 จาก 58.2 ตามลำดับ ได้ส่งผลต่อราคาทองคำให้เคลื่อนไหวในกรอบขาลงเช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการผู้จัดซื้อภาคการบริการในยูโรโซนโดยรวมที่หดตัวลง
ผลการประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายในยุโรปโดยได้คงที่ 0.25%ไม่ได้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในราคาทองคำ และดัชนีตลาดทุนโดยรวมมากนักในช่วงเวลาดังกล่าว
ตัวเลขดุลการค้า จำนวนคนว่างงานที่ขอสวัสดิการ ดัชนีผู้จัดการผู้จัดซื้อนอกภาคการผลิต (ISM) ในสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศ -4.23 หมื่นล้านจาก -3.93 หมื่นล้าน 3.26 แสนตำแหน่งจาก 3.1 แสนตำแหน่ง และ 53.1 จาก 51.6 ตามลำดับ ได้ส่งผลให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวลงมายังแนวรับ
ทั้งนี้ ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศ 1.92 แสนตำแหน่ง จาก 1.97 แสนตำแหน่ง และ 6.7% คงเดิม ตามลำดับ ได้ส่งผลให้ราคาทองคำกลับเคลื่อนไหวขึ้นมาทดสอบแนวต้านอีกครั้งหนึ่ง
สัปดาห์นี้เรายังคงให้น้ำหนักต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ท่าทีทางการเมืองในยูเครน ที่ได้เห็นแนวโน้มความตึงเครียดอีกครั้ง โดยสถานการณ์ในเกาหลี เหตุการณ์ความผันผวนทางการเงินของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เป็นปัจจัยที่ยังสร้างความกลัวได้บ้าง และยังคงเป็นปัจจัยที่เราให้น้ำหนักมากที่สุด
ช่วงคืนวันพุธ จับตาดูถ้อยแถลงของเฟดโดยมีแนวโน้มที่จะกล่าวถึงความน่าจะเป็นในการลดเม็ดเงินอัดฉีดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาทองคำ และดัชนีตลาดทุนโดยรวมยังสามารถที่จะลดลงได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
ช่วงเย็นวันพฤหัสฯ จับตาดูการประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอังกฤษโดยน่าจะคงที่ 0.5% โดยน่าจะไม่ได้ส่งผลต่อการเตลื่อนไหวในราคาทองคำ และดัชนีตลาดทุนโดยรวมมากนักในช่วงเวลาดังกล่าว
ช่วงปลายสัปดาห์ จับตาดูเหตุการณ์ G20 Meetings และ IMF ถึงแนวทางมาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจระหว่างรัสเซีย ยูเครน ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนในการลดความรุนแรง ความกลัวได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ แต่บวกต่อดัชนีตลาดทุนโดยรวม
นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ที่น่าจับตาดู ได้แก่ ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค ผู้ผลิตในจีน การผลิตรายเดือนในอังกฤษ จำนวนคนว่างงานที่ขอสวัสดิการ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต ในสหรัฐฯ เป็นต้น [Reuters, Bloomberg, Kitco, Forexfactory, Aspen, SPDR, Ausiris]
กล่าวโดยสรุปแล้ว AFC Research มีความเห็นว่า สัปดาห์นี้ราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวผันผวนขึ้นได้ตามปัจจัยต่างๆ ที่ต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะปัจจัยความตึงเครียดทางการเมือง และผลประโยชน์ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญต่างๆ โดยในเบื้องต้น เราคาดการณ์ว่า ราคาทองคำน่าจะแกว่งตัวอยู่ในช่วงของราคา $1,280-$1,335/oz เป็นกรอบโดยรวมทั้งสัปดาห์นี้